นักวิทยาศาสตร์พบหลักฐานการมีอยู่ของ “ดาวเคราะห์ดวงที่เก้า” โคจรอยู่นอกแถบวงโคจรชั้นนอกของระบบสุริยะของเรา
ScienceDaily และ BBC News รายงานผลการวิจัยของทีมนักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันจากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (Caltech : California Institute of Technology) มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือว่า มีดาวเคราะห์ดวงที่เก้าในระบบสุริยะของเรา ซึ่งโคจรอยู่ไกลออกไปกว่าดาวพลูโต อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการค้นพบโดยตรงเพื่อยืนยันการมีตัวตนของดาวเคราะหฺ์ดวงนี้ เพียงแค่เป็นการทำนายผ่านโปรแกรมคำนวณทางคณิตศาสตร์และการประมวณผลการจำลองข้อมูลในคอมพิวเตอร์
แต่เชื่อว่าหากมีการค้นพบดาวเคราะห์ดังกล่าว ดาวนี้จะมีมวลมากกว่าโลกประมาณ 10 เท่า (มากกว่าพลูโต 5,000 เท่า) ซึ่งเป็นมวลที่มากเพียงพอที่สามารถจะจัดจำแนกได้ว่าเป็นดาวเคราะห์ (Planet) ผลของการคำนวณยังชี้ให้เห็นว่า วงโคจรยังอยู่ไกลกว่าระยะทางเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ถึงดาวเนปจูน (ดาวเคราะห์ดวงที่ 8 ซึ่งอยู่วงนอกสุดของระบบสุริยะคือประมาณ 4.5 พันล้านกิโลเมตรจากดวงอาทิตย์) แต่แตกต่างจากเส้นทางโคจรของดาวเคราะห์ดวงอื่น เพราะมันมีวงโคจรเป็นวิถีวงรีมากๆ และแตกต่างจากดาวเคราะห์ทั้ง 8 ของเรา ซึ่งจะใช้เวลาระหว่าง 10,000 ถึง 20,000 ปี ในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ และแถบวงโคจรส่วนที่ไกลที่สุดจะอยู่นอกแถบ Kuiper Belt
ภาพจาก: http://www.bbc.com/news/science-environment-35365323
Link ที่เกี่ยวข้อง
http://www.sciencedaily.com/releases/2016/01/160120114539.htm
http://www.bbc.com/news/science-environment-35365323