E-Cashless Society อนาคตของการเงิน

E-Cashless Society อนาคตของการเงิน

17-12-2021
E-Cashless Society อนาคตของการเงิน

หลังจากได้อ่านเรื่อง Cryptocurrency จากมุมมองของผู้ใช้งานไปในตอนที่แล้ว บทความตอนนี้จะพาผู้อ่านไปสำรวจความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการเข้ามาของ Cryptocurrency รวมไปถึงเทคโนโลยีทางการเงินรูปแบบอื่นๆ ที่จะเข้ามาทำให้ชีวิตของเราไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปหลังจากได้อ่านเรื่อง Cryptocurrency จากมุมมองของผู้ใช้งานไปในตอนที่แล้ว บทความตอนนี้จะพาผู้อ่านไปสำรวจความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการเข้ามาของ Cryptocurrency รวมไปถึงเทคโนโลยีทางการเงินรูปแบบอื่นๆ ที่จะเข้ามาทำให้ชีวิตของเราไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

Digital Currency หรือ Cryptocurrency ?

ท่ามกลางกระแสความสนใจใน Bitcoin ผู้อ่านอาจได้ยินคำว่า Digital Currency บ่อยพอๆ กับคำว่า Cryptocurrency ทั้งสองกลุ่มนั้นเป็นสกุลเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความคล้ายกันในหลายบริบท แต่ก็มีจุดแตกต่างที่สำคัญเล็กน้อยที่เราจะใช้แบ่งแยกทั้งสองกลุ่มออกจากกัน ดังแผนภาพด้านล่าง

Digital Currency หรือ Electronic Currency เป็นชื่อเรียกอย่างกว้างๆ ของเงินทุกประเภทที่สามารถใช้แลกเปลี่ยนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ ซึ่งครอบคลุมไปถึงเงินที่อยู่ในบัตรเครดิต บัญชีธนาคารที่มีการเชื่อมต่อกับ Internet Banking และเงินในโลกเสมือน เช่นเงินในเกมออนไลน์ ซึ่งแน่นอนว่าสามารถนับรวมไปถึง Cryptocurrency (ซึ่งสามารถใช้แลกเปลี่ยนผ่านอินเทอร์เน็ตเพียงอย่างเดียว) อย่างเช่น Bitcoin หรือ Ethereum ด้วยเช่นกัน Digital Currency หรือ Electronic Currency เป็นชื่อเรียกอย่างกว้างๆ ของเงินทุกประเภทที่สามารถใช้แลกเปลี่ยนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ ซึ่งครอบคลุมไปถึงเงินที่อยู่ในบัตรเครดิต บัญชีธนาคารที่มีการเชื่อมต่อกับ Internet Banking และเงินในโลกเสมือน เช่นเงินในเกมออนไลน์ ซึ่งแน่นอนว่าสามารถนับรวมไปถึง Cryptocurrency (ซึ่งสามารถใช้แลกเปลี่ยนผ่านอินเทอร์เน็ตเพียงอย่างเดียว) อย่างเช่น Bitcoin หรือ Ethereum ด้วยเช่นกัน ถ้ามองในแง่ของวิธีการใช้เงินเพื่อแลกเปลี่ยนมูลค่าสินค้า โดยไม่สนใจกระบวนการทำงานเบื้องหลังแล้ว อาจสรุปได้ว่า Cryptocurrency นั้นจัดเป็น Digital Currency รูปแบบหนึ่ง แต่หากพิจารณาลึกลงไปในแนวคิดของ Cryptocurrency เราจะพบว่าโดยทั่วไป Cryptocurrency แตกต่างจาก Digital Currency อื่นๆ ตรงที่ไม่มีการควบคุมดูแลจากส่วนกลางและไม่ต้องการการรองรับโดยสถาบันการเงิน และจำเป็นต้องใช้วิทยาการรหัส (Cryptography) เพื่อรักษาความปลอดภัยผ่านการยืนยันตัวตนของเจ้าของเงิน

อย่างไรก็ตาม ในระยะหลังมานี้ Cryptocurrency ใหม่ๆ บางชนิดก็ถูกตั้งขึ้นมาโดยสถาบันการเงินเอง เช่นในกรณีของกลุ่มธนาคารในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งกำลังร่วมมือกันพัฒนา Cryptocurrency ชื่อว่า J-Coin ทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาส่วนแบ่งการตลาดจากผู้ก่อตั้งอิสระ และเพื่อดึงดูดกลุ่มผู้ใช้ที่เป็นลูกค้าเดิมให้ยังคงใช้ผลิตภัณฑ์ของตนเองอยู่ รวมทั้งเป็นการลองเชิงหรือศึกษาความเป็นไปได้ทางธุรกิจใหม่ๆ ที่อาจต่อยอดจนกลายเป็นนวัตกรรมให้เราใช้งานกันในอนาคต

อนาคตของ Cryptocurrency และ Digital Currency เป็นอย่างไร ?

จากสถานการณ์ในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงรายวันหรือรายชั่วโมง ส่งผลให้แม้แต่นักวิเคราะห์การเงินระดับโลกก็ไม่สามารถสรุปได้ว่าอนาคตระยะยาวของบรรดา Cryptocurrency จะออกมาในรูปแบบไหน แม้กระทั่งความคิดเห็นของเหล่าผู้มีอิทธิพลในกลุ่มเทคโนโลยีและวงการการเงินโลกก็แตกออกเป็นหลายฝ่าย ทั้งฝ่ายที่สนับสนุนหรือคัดค้านอย่างสุดตัว รวมไปถึงกลุ่มที่ยังสงวนท่าทีไม่แสดงความคิดเห็นอย่างชัดเจน 

ผู้ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์อย่างบิล เกตส์ เคยกล่าวถึง Cryptocurrency ไว้ว่า “Bitcoin มีข้อดีกว่าเงินปกติตรงที่คุณสามารถส่งเงินไปให้ใครที่ไหนก็ได้ เพราะการทำธุรกรรมแบบดั้งเดิมนั้นไม่ค่อยสะดวกเท่าไหร่นัก โดยเฉพาะกับเงินก้อนใหญ่ๆ” เอริก ชมิดต์ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทกูเกิ้ล กล่าวไปในทางเดียวกันว่า “การสร้างวัตถุในโลกดิจิทัลที่ไม่สามารถคัดลอกหรือเลียนแบบได้ อย่างเช่นเหรียญแต่ละเหรียญใน Bitcoin นั้นเป็นกรรมวิธีที่มีค่าอย่างยิ่ง นับเป็นย่างก้าวที่ควรจดจำของวงการ Cryptography”

ในทางตรงกันข้าม วอร์เรน บัฟเฟตต์ มหาเศรษฐีนักลงทุนกลับมองว่า “คนส่วนมากจะตื่นเต้นที่ราคาของ Bitcoin นั้นเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่ถึงอย่างไรคุณก็จะไม่สามารถประเมินราคาที่แท้จริงของ Bitcoin ได้หรอก เพราะมันไม่ใช่ทรัพย์สินที่สร้างมูลค่าได้ด้วยตัวเอง มันเป็นแค่ฟองสบู่เท่านั้นแหละ” เช่นเดียวกับนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล พอล ครุกแมน ที่เคยให้ความเห็นว่า “Bitcoin เป็นปีศาจร้าย ทุกคนมองเห็นและพูดถึงแค่ด้านบวกของมัน แต่มันจะเป็นแบบนั้นจริงๆ น่ะหรือ ? ผมต้องบอกว่าผมไม่ค่อยจะมั่นใจนัก”

ในช่วงเวลาที่ราคาต่อหน่วยของ Cryptocurrency หลายสกุลผันผวนอย่างรุนแรง เราอาจไม่สามารถกล่าวได้อย่างเต็มปากว่าอนาคตของ Cryptocurrency จะเป็นอย่างไร หรือสกุลเงินต่างๆ ในโลกจะถูกแทนที่ด้วย Cryptocurrency หรือไม่ แต่สิ่งที่ใกล้ตัวเรามากกว่านั้นก็คือ Digital Currency หรือเงินอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบอื่นๆ ที่เริ่มเข้ามาแทนที่เงินสด และจะเพิ่มความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในเร็ววันนี้ 

หากผู้อ่านลองมองดูรอบตัวก็อาจเริ่มสังเกตเห็นป้ายสัญลักษณ์ตามร้านค้าและร้านสะดวกซื้อที่รองรับการจ่ายเงินผ่านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์หลายรูปแบบ เช่น PromptPay ของธนาคารแห่งประเทศไทย AliPay ของ Alibaba บริษัทค้าปลีกรายใหญ่จากประเทศจีน หรือ Samsumg Pay ที่มาพร้อมกับโทรศัพท์ Smartphone ยี่ห้อ Samsung โดยทุกระบบที่กล่าวมานั้นจะผูกโยงอยู่กับบัญชีเงินเสมือน ซึ่งจะสามารถ “เติมมูลค่า” ได้จากหลายช่องทาง เพื่อความสะดวกสบายในการใช้งานและเพิ่มความสามารถในการจ่ายเงินหรือโอนเงิน ทั้งในโลกจริงหรือในโลกอินเทอร์เน็ตโดย ไม่ต้องพึ่งพา “เงินสด” ซึ่งเคยเป็นหัวใจหลักในการแลกเปลี่ยนมูลค่าอีกต่อไป

เมื่อสังคมไร้เงินสด หรือ Cashless Society คือก้าวถัดไปของรูปแบบการใช้เงิน ลองมาพิจารณากันว่าจะเกิดความเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้นรอบตัวเราบ้าง?

เมื่อสังคมไร้เงินสด หรือ Cashless Society คือก้าวถัดไปของรูปแบบการใช้เงิน ลองมาพิจารณากันว่าจะเกิดความเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้นรอบตัวเราบ้าง?ปัจจุบันนี้หากเราต้องการซื้อสินค้าชนิดหนึ่งจากร้านใกล้บ้าน ก็อาจต้องเริ่มจากการหาเงินสดมาไว้ในมือ ด้วยการเบิกเงินจากตู้เอทีเอ็มหรือถอนเงินจากบัญชีธนาคาร ถ้าไม่มีตู้เอทีเอ็มในบริเวณนั้นก็ต้องใช้เวลาเดินทาง ยิ่งกว่านั้นหากตู้เอทีเอ็มเสียหายหรือไม่มีเงินสดตามที่ต้องการก็จะเสียเวลามากขึ้นอีก หรือถ้าเลือกที่จะไม่ฝากเงินไว้กับธนาคารเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาข้างต้น เราก็ต้องเก็บเงินสดทั้งหมดไว้ที่ตัวเอง ซึ่งนับว่าเสี่ยงต่อความปลอดภัยเป็นอย่างมากหากต้องการใช้เงินสดในขณะที่อยู่ในต่างประเทศก็ต้องแลกเงินให้เรียบร้อยก่อนจะเดินทาง แล้วยังต้องรับปัญหาจากการขาดทุนเพราะอัตราแลกเปลี่ยนที่เปลี่ยนแปลงรายวันอีกด้วย การใช้เงินสดในการแลกเปลี่ยนมีข้อเสียมากมายดังที่ได้กล่าวไป แล้ว Digital Currency ในสังคมไร้เงินสดนั้นมีข้อดีอย่างไรบ้าง ?

การใช้ Digital Currency ในการแลกเปลี่ยนระหว่างกันนั้นมีข้อดีที่เห็นได้ชัด คือการลด “ตัวกลาง” ในการแลกเปลี่ยน ผู้จ่ายและผู้รับเงินสามารถใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์ Smartphone ที่มีติดตัวอยู่ตลอดเวลาในการแสกน QR Code เพื่อจ่ายและรับเงินผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ซึ่งจะช่วยบันทึกรายรับรายจ่ายได้อย่างแม่นยำไม่มีตกหล่น หากระบบเหล่านั้นเชื่อมต่อกับระบบของภาครัฐ การบันทึกภาษีก็จะสามารถทำได้อย่างง่ายดายและโปร่งใส

แต่เหรียญย่อมมีสองด้านเสมอ สังคมไร้เงินสดมาพร้อมกับความสะดวกสบายในการใช้เงินได้ทุกที่ทุกเวลา หากผู้ใช้ไม่ระมัดระวังก็อาจเผลอใช้เงินจนเกินตัวได้จากการซื้อสินค้าธรรมดาและการซื้อผ่านอินเทอร์เน็ต รวมไปถึงปัญหาระบบความปลอดภัย เนื่องจากการใช้เงินผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นั้นเสี่ยงต่อการถูกโจรกรรมข้อมูลและเงิน รวมถึงการสูญหายของตัวอุปกรณ์เอง ผู้ใช้จึงต้องเพิ่มความระมัดระวังขึ้นอีกเป็นเท่าตัวแต่เหรียญย่อมมีสองด้านเสมอ สังคมไร้เงินสดมาพร้อมกับความสะดวกสบายในการใช้เงินได้ทุกที่ทุกเวลา หากผู้ใช้ไม่ระมัดระวังก็อาจเผลอใช้เงินจนเกินตัวได้จากการซื้อสินค้าธรรมดาและการซื้อผ่านอินเทอร์เน็ต รวมไปถึงปัญหาระบบความปลอดภัย เนื่องจากการใช้เงินผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นั้นเสี่ยงต่อการถูกโจรกรรมข้อมูลและเงิน รวมถึงการสูญหายของตัวอุปกรณ์เอง ผู้ใช้จึงต้องเพิ่มความระมัดระวังขึ้นอีกเป็นเท่าตัวอย่างไรก็ตาม การเกิดขึ้นของสิ่งใหม่ๆ ในทุกสังคมนั้นทำให้คนต้องปรับตัวอย่างสม่ำเสมอ สังคมไร้เงินสดถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนผ่านจากระบบการเงินแบบดั้งเดิมสู่ระบบการเงินแบบใหม่ ไปจนถึงอนาคตที่ไม่แน่นอนของ Cryptocurrency ก็ถือเป็นอีกบทเรียนหนึ่งที่เราทุกคนต้องเรียนรู้และปรับตัวไปด้วยกัน...

ข่าวสารที่่คล้ายกัน