รู้หรือไม่ การบริโภคเนื้อสัตว์ของเราเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะโลกร้อน ?

รู้หรือไม่ การบริโภคเนื้อสัตว์ของเราเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะโลกร้อน ?

18-12-2021
รู้หรือไม่ การบริโภคเนื้อสัตว์ของเราเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะโลกร้อน ?

รู้หรือไม่ การบริโภคเนื้อสัตว์ของเราเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะโลกร้อน ?

จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์พบว่าฟาร์มปศุสัตว์ปลดปล่อยมีเทน (Methane, CH4),คาร์บอนไดออกไซด์(Carbon dioxide, CO2) และไนตรัสออกไซด์ (Nitrous oxide, N2O)

ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนในปริมาณมหาศาลยังไม่กล่าวถึงของเสียที่เหลือจากการชำแหละและการบริโภค

ด้วยเหตุนี้จึงมีกลุ่มคนบางกลุ่มเริ่มรณรงค์ให้งดเว้นการรับประทานเนื้อสัตว์เพื่อลดโลกร้อนและลดการส่งเสริมการฆ่าสัตว์ กระนั้นคนส่วนใหญ่ก็ไม่อาจปฏิเสธอาหารที่ได้มาจากเนื้อสัตว์ที่มีกลิ่นและรสชาติเย้ายวนแต่เพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และตอบสนองความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งจึงคิดค้นเนื้อสัตว์รักษ์โลกซึ่งผลิตในห้องทดลอง

อาหารจากห้องทดลองอาจดูเหมือนเรื่องน่าเหลือเชื่อในภาพยนตร์ Sci-fi แต่ไม่นานมานี้ในต่างประเทศมีการเปิดตัวเนื้อสัตว์จากห้องทดลองโดยใช้ความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพและอาหารมาใช้

ซึ่งไม่ใช่การนำโปรตีนจากพืชมาแปรรูป แต่เป็นเนื้อสัตว์จริงๆที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเซลล์ต้นกำเนิด (Stem cell)ซึ่งเป็นเซลล์พิเศษที่สามารถแบ่งตัวหรือกลายสภาพเป็นเซลล์ต่างๆตามที่ต้องการแล้วมาเพาะเลี้ยงในห้องทดลองด้วยอาหารเพาะเลี้ยงที่เหมาะสมเพื่อให้ได้เนื้อสัตว์สำหรับประกอบอาหาร เรียกว่า เนื้อสังเคราะห์(Cultured meat)

เนื้อสังเคราะห์ได้รับการเปิดตัวต่อสาธารณะชนครั้งแรกเมื่อปี 2013 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเนเธอแลนด์ ในรูปแบบของเบอร์เกอร์เนื้อวัวซึ่งมีต้นทุนสูงถึงกิโลกรัมละ 15 ล้านบาท ไม่เพียงไม่ถอดใจแต่ยังสร้างแรงผลักดันให้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก เพียง2-3 ปีหลังจากนั้นนักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกได้ค้นพบการสังเคราะห์เนื้อที่มีต้นทุนถูกลงจนคาดว่าจะสามารถผลิตเพื่อจำหน่ายในเชิงพานิชย์ในอนาคตอันใกล้นี้นอกจากเนื้อวัวสังเคราะห์ ยังมีการพัฒนาเนื้อหมู ไก่ ปลาทูน่าสังเคราะห์เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภคอีกด้วย

shutterstock 1162809340 Converted 01

นักวิทยาศาสตร์จากบริษัทMosameatหนึ่งในสตาร์ทอัพที่กำลังพัฒนาเนื้อสังเคราะห์ได้ชี้ให้เห็นข้อดีของเนื้อสังเคราะห์ ซึ่งเป็นเนื้อที่ได้มาโดยไม่ต้องฆ่าสัตว์ ช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดการใช้ทรัพยากรดิน และน้ำ นอกจากนี้ยังช่วยลดการรับยาปฏิชีวนะ สารกระตุ้น และเชื้อก่อโรคบางชนิดจากเนื้อสัตว์เข้าสู่มนุษย์อีกทั้งในอนาคตหากต้นทุนในการผลิตเนื้อสังเคราะห์ลดลงมากกว่านี้ เนื้อสังเคราะห์อาจช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนอาหารอีกด้วย แต่กระนั้นเนื้อสัตว์สังเคราะห์ยังต้องใช้เซลล์ต้นกำเนิด และสารบางอย่างจากสัตว์ นักวิทยาศาสตร์ส่วนหนึ่งจึงหันมาพัฒนาเนื้อสัตว์จากพืช

เพื่อเป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้บริโภคที่ไม่ต้องการฆ่าและทารุณสัตว์ซึ่งท่านผู้อ่านสามารถติดตามได้ในบทความต่อไป

shutterstock 795724375

ผู้เขียน ปวิตา ลิขิตเดชาโรจน์

ที่มาของแหล่งข้อมูล (Reference):
Digatal Ventures, Future of Meat เมื่อเนื้อสัตว์สังเคราะห์จากห้องทดลองจะเป็นอีกหนึ่ง FoodTechที่เป็นความหวังของประชากรโลก[ออนไลน์], 2018
http://dv.co.th/blog-th/clean-meat-food-tech/
VOAThai, เนเธอร์แลนด์เตรียมส่ง “เนื้อที่ผลิตในห้องทดลอง” ขายตามร้านอาหารในอีก 3 ปีข้างหน้า [ออนไลน์],2018
https://www.voathai.com/a/lab-grown-meat-could-be-in-restaurants-in-3-years/4490101.html
IFLScience, Most "Meat" Will Be Meat-Free Or Lab-Grown By 2040, Experts Predict [online], 2019
https://www.iflscience.com/environment/most-meat-will-be-meat-free-or-lab-grown-by-2040-experts-predict/
Marketoops!,วิกฤตอาหารโลกทำให้ “เนื้อจากห้องแล็บ” ไม่ใช่เรื่องไกลตัว [ออนไลน์],2019
https://www.marketingoops.com/tech-2/cultured-meat/
Science, Lab-grown meat is starting to feel like the real deal [online], 2020
https://www.sciencemag.org/news/2020/04/lab-grown-meat-starting-feel-real-deal?fbclid=IwAR37keTUGqmlIzFALX4ie4kXJT-ez6eXucPOTaGnvuKk5VNAFqk3F6KqAPk#
Nature Food, Textured soy protein scaffolds enable the generation of three-dimensional bovine skeletal muscle tissue for cell-based meat [online], 2020
https://www.nature.com/articles/s43016-020-0046-5
Mosameat, Benefits [online]
https://www.mosameat.com/benefits
ค้นคว้าเพิ่มเติม (แนะนำแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม)
Jornal of Animal Science, Methane emissions from cattle [online], 1995
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/8567486
Animal frontiers vol.9 issue 1, Jan 2019, Livestock and climate change: impact of livestock on climate and mitigation strategie [online]
https://academic.oup.com/af/article/9/1/69/5173494
International Society for Stem Cell Research, Stem cell facts [online]
https://www.closerlookatstemcells.org/wp-content/uploads/2018/10/stem-cell-facts.pdf

ข่าวสารที่่คล้ายกัน