ก่อนที่เราจะไปใช้งานฟีเจอร์วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจกัน รู้ไหมว่าค่า ECG คืออะไร? มาทำความรู้จักค่า Electrocardiogram กัน คือ การทดสอบสัญญาณไฟฟ้าของหัวใจในแต่ละจังหวะการเต้นของหัวใจ ซึ่งจะถูกปล่อยออกมาและส่งผ่านไปทั่วทั้งหัวใจ ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจมีการบีบตัวอย่างสมบูรณ์ในการส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยจะเรียกสัญญาณไฟฟ้านี้ว่า “คลื่นไฟฟ้าหัวใจ”
การใช้งานเพียงแค่เปิดแอปพลิเคชั่นECG บน Apple Watch Series 4 5 หรือ6 แล้วใช้นิ้วแตะบน Digital Crown ค้างไว้ และเมื่อผู้ใช้แตะ Digital Crown จะทำให้ระบบครบวงจรและมีการวัดสัญญาณไฟฟ้าจากหัวใจ จากนั้นเมื่อครบ 30 วินาที จะมีการจัดประเภทจังหวะชีพจรเป็น 4 แบบ ได้แก่ ภาวะจังหวะไซนัสAtrial Fibrillation : AFib อัตราการเต้นของหัวใจช้าหรือเร็ว หรือไม่สามารถสรุปผลได้ นอกจากนี้ค่าทั้งหมดที่บันทึกไว้ รวมถึงการจัดประเภทที่เกี่ยวข้อง และอาการที่ระบุไว้จะได้รับการจัดเก็บอยู่ในแอปพลิเคชันสุขภาพบน iPhone อย่างปลอดภัยโดยที่ผู้ใช้สามารถแชร์ผลลัพธ์ในรูปแบบ PDF กับแพทย์ได้
ประเภทของจังหวะชีพจรถูกแบ่งไว้ 4 แบบ
ทางบริษัท Apple เอง ได้มีข้อมูลงานวิจัยเกี่ยวกับ ECG ว่าสามารถให้ผลที่แม่นยำในวัดของประเภทจังหวะไซนัส 99.6% และ ประเภท Atrial Fibrillation:AFib ถึง 98.3% เลยทีเดียว จากผลการทดสอบที่มีผู้เข้าร่วมมากกว่า 400,000 คน ทั้งนี้ Apple ได้เปิดให้ใช้งานแอปพลิเคชัน ECG เพื่อสามารถวัดสัญญาณไฟฟ้าจากหัวใจของตนเองได้ทุกที่ทุกเวลาตามที่ต้องการ อีกทั้งเป็นการตรวจสอบความผิดปกติของอัตราการเต้นของหัวใจเบื้องต้น และยังช่วยให้ผู้ใช้งานมีข้อมูลสุขภาพของตนเองมากเพียงพอที่จะเป็นข้อมูลขั้นพื้นฐานเพื่อเข้าปรึกษาหรือพูดคุยกับแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากมีอาการที่เกี่ยวกับการเต้นผิดจังหวะของหัวใจ
ที่มารูปภาพ:
[1]https://support.apple.com/en-us/HT208955
แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
[1]Healthcare [อินเทอร์เน็ต] (เข้าถึงวันที่ 26 ม.ค. 2564) เข้าได้จาก https://www.apple.com/healthcare/apple-watch/
[2]Taking an ECG with the ECG app on Apple Watch Series 4, Series 5, or Series 6
[อินเทอร์เน็ต] (เข้าถึงวันที่ 26 ม.ค. 2564) เข้าได้จาก https://support.apple.com/en-us/HT208955
[3]ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ECG[อินเทอร์เน็ต] (เข้าถึงวันที่ 26 ม.ค. 2564) เข้าได้จากhttps://www.pobpad.com/ekgecg#
เรียบเรียง: ยงยุทธ แก้วจำรัส
ตรวจทาน: ธานี หลินลาโพธิ์
กองวิชาการเทคโนโลยีและนวัตกรรม สำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ