บีเวอร์ ผู้ค้ำจุนพื้นที่ชุ่มน้ำ

บีเวอร์ ผู้ค้ำจุนพื้นที่ชุ่มน้ำ

18-12-2021

          การที่สิ่งมีชีวิตหนึ่งชนิดหายไปจากระบบนิเวศ ย่อมส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่ยังอยู่ เหมือนสำนวนไทย “น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า” พบเห็นได้หลายตัวอย่างกรณีศึกษาของ

keystone species (สิ่งมีชีวิตหลัก) ต่าง ๆ เช่น เมื่อไม่มีผู้ล่าขนาดใหญ่อย่าง เสือโคร่งหรือหมาป่า ประชากรของเหยื่อจะล้นป่า พรรณพืชไม่มีเวลาเจริญเติบโตให้ทันกับการถูกกิน

ตัวอย่างที่นำเสนอในบทความนี้ ไม่ใช่สัตว์ผู้ล่า แต่เป็น “ecosystem engineer” แปลตรงตัวว่า วิศวกรระบบนิเวศ ที่ชื่อว่า “บีเวอร์”

          บีเวอร์ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กลุ่มสัตว์ฟันแทะ มีสองสายพันธุ์ คือพันธุ์อเมริกาเหนือ (Castor canadensis) และพันธุ์ยูเรเชียน (Castor fiber) ที่พบได้แถบทวีปยุโรป อาศัยตามแหล่งน้ำต่าง ๆ

เช่น บึง หนอง คลอง แม่น้ำ และพื้นที่ชุ่มน้ำอื่น ๆ บีเวอร์กินเปลือกไม้ หญ้า และพืชน้ำ เป็นอาหาร เพื่อป้องกันภัยจากสัตว์ผู้ล่า บีเวอร์สร้างรังกลางหรือริมแหล่งน้ำที่อาศัยอยู่และยังขุดคลองและสร้างฝาย

ล้อมรอบอีกด้วย โดยใช้กิ่งไม้ ท่อนไม้ และหิน ค่อย ๆ เรียงกันเป็นแนว และใช้โคลนเสริมความแข็งแรง

800px Beaver in Winter Gatineau Park

บีเวอร์แทะต้นไม้ เพื่อนำกิ่งไม้มาสร้างรังและฝาย

           เนื่องจากบีเวอร์มีขนสองชั้นที่หนานุ่ม และถูกล่าง่ายเพราะความอุ้ยอ้าย จึงตกเป็นเป้าของนายพรานอย่างง่ายดาย ชนพื้นเมืองในอเมริกาจะล่าเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ทั้งใช้เองและใช้เป็นสินค้าบ้าง

แต่ชาวล่าอาณานิคมที่มาจากยุโรปไม่ได้มีวัฒนธรรมที่ให้คุณค่ากับการรักษาสมดุลธรรมชาติ จึงทำการล่าบีเวอร์เป็นจำนวนมาก จนใกล้สูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติในศตวรรษที่ 19 ทำให้ระบบนิเวศ

ที่เคยอยู่ได้เสื่อมโทรมลงและขาดสมดุล แต่ในปัจจุบัน บีเวอร์เป็นสัตว์คุ้มครอง และมีโครงการปล่อยบีเวอร์คืนสู่ป่า เพื่อเสริมความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่และความทนต่อความผันผวนของอุณหภูมิ

และความชื้นตามฤดูกาล การเพิ่มประชากรของบีเวอร์ในธรรมชาติ จึงทำสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในบริเวณเดียวกัน ก็ได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน  เนื่องจากฝายบีเวอร์กักเก็บน้ำ และสารอาหารจากอินทรียวัตถุในน้ำเอื้อให้พืชเจริญเติบโตดี และสัตว์ชนิดอื่นมีอาหารและที่อยู่อาศัย

33640720162 6c51902d30 c

ฝายบีเวอร์ใน Lamar Valley อุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตน (Yellowstone National Park) สหรัฐอเมริกา

          เมื่อปลายปีที่ผ่านมา มีงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร Freshwater Ecology ที่สอดคล้องและส่งเสริมความรู้ที่มีอยู่เกี่ยวกับนิเวศวิทยาของบีเวอร์ Romansic, Nelson, Moffett,

และ Piovia-Scott (2020) พบว่าแหล่งน้ำที่มีฝายบีเวอร์ มีความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกมากกว่าแหล่งน้ำที่ไม่มีฝายบีเวอร์ 2.7 เท่า (2.4 ต่อ 0.9 ชนิด)

โดยเฉพาะชนิดที่ต้องใช้เวลานานในการเจริญเติบโต เช่น กบขาแดง (Rana aurora) และซาลาแมนเดอร์ตะวันตกเฉียงเหนือ (Ambystoma gracile) ที่อ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพ

ภูมิอากาศ หรือ ภาวะโลกร้อน

กรณีศึกษานี้ เป็นหนึ่งในหลาย ๆ หลักฐาน ที่แสดงให้เห็นว่า

1. Keystone species มีบทบาทสำคัญในถิ่นธรรมชาติของมัน ในการค้ำจุนความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยส่งเสริมและบ่งชี้ระบบนิเวศที่สมบูรณ์

2. ในแง่ของการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม การใช้หลัก “ธรรมชาติฟื้นฟูธรรมชาติ” มักจะให้ผลลัพธ์ที่มั่นคงและยั่งยืน ประกอบกับการศึกษาพื้นที่อย่างรอบด้านและลึกซึ้ง ก่อนที่จะวางแผนและลงมือทำ

          ในปัจจุบัน ธรรมชาติมีกำลังเสียสมดุล สิ่งมีชีวิตหลายชนิดกำลังจะใกล้สูญพันธุ์ จากภัยคุกคามหลายชนิด รวมทั้งกิจกรรมของมนุษย์ อนาคตของสรรพชีวิตอยู่ในมือของพวกเราทุกคน

เพราะฉะนั้น เราจึงควรช่วยกันต่อสู้เพื่อโลก ดาวเคราะห์ที่เป็นบ้านหลังเดียวของเรา และสรรพชีวิตทั้งมวล ที่อยู่ร่วมกัน

800px Mount Margaret Backcountry at Gifford Pinchot National Forest in Washington 1

ผู้วิจัยเก็บข้อมูลที่ Gifford Pinchot National Forest รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา

 

ผู้เขียน นภัทร มาลาธรรม

ที่มาของภาพ

Herbert, N. (2016). Beaver pond, Lamar Valley, Yellowstone National Park [Online image]. Flickr.

https://www.flickr.com/photos/80223459@N05/33640720162

Hollett, J. (2019). Spirit Lake and Saint Helens Lake at Mount Margaret Backcountry in Washington in The Pacific Northwest | Landscapes in The West [Online image]. Wikimedia Commons.

https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Mount_Margaret_Backcountry_at_Gifford_Pinchot_National_Forest_in_Washington_1.jpg


Robertson, D. G. E. (2010). Canadian Beaver (Castor canadensis), Gatineau Park, Quebec, Canada [Online image]. Wikimedia Commons.

https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Beaver_in_Winter,_Gatineau_Park.jpg

ที่มาของแหล่งข้อมูล

Goldfarb, B. (2018). Beavers Are the Ultimate Ecosystem Engineers. Sierra Club Magazine. Retrieved from
https://www.sierraclub.org/sierra/2018-4-july-august/feature/beavers-are-ultimate-ecosystem-engineers [06 มกราคม 2564]

Lindman, S. (2020). Beavers may help amphibians threatened by climate change. WSU Insider, Washington State University. Retrieved
from https://news.wsu.edu/2020/12/08/beavers-may-help-amphibians-threatened-climate-change/ [06 มกราคม 2564]

ค้นคว้าเพิ่มเติม

Romansic, J. M., Nelson, N. L., Moffett, K. B., and Piovia-Scott, J. (2020). Beaver dams are associated with enhanced amphibian diversity via lengthened hydroperiods

and increased representation of slow developing species. Freshwater Biology. Retrieved from https://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/fwb.13654 [06 มกราคม 2564]

Dorling Kindersley Find Out! (n.d.) Why Do Beavers Build Dams? Beaver Facts for Kids. [เว็บไซต์] https://www.dkfindout.com/us/animals-and-nature/rodents/beavers/

Niche Construction: Resources [เว็บไซต์] https://nicheconstruction.com/resources/

PBS. (2014). How Beavers Build Dams | Leave it to Beavers | PBS [วิดีโอออนไลน์]. YouTube https://www.youtube.com/watch?app=desktop&v=yJjaQExOPPY

Sustainable Human. (2014). How Wolves Change Rivers [วิดีโอออนไลน์]. YouTube.

Sustainable Human. (2014). How Whales Change Climates [วิดีโอออนไลน์]. YouTube.

 TED-Ed. From the top of the food chain down: Rewilding our world - George Monbiot [วิดีโอออนไลน์]. YouTube.

ข่าวสารที่่คล้ายกัน