จากคำกล่าวที่ว่า“มนุษย์เป็นสัตว์สังคม” ทำให้ต้องมีการสื่อสารแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันอยู่เสมอซึ่งการสื่อสารนั้นมีหลากหลายรูปแบบและด้วยเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ทำให้เกิดเครื่องมือมากมายที่ช่วยให้สามารถติดต่อสื่อสารหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งส่วนหนึ่งในนั้นคือแอปพลิเคชันต่าง ๆ
ดีจริง หรือแค่กระแส ?
Club Houseแพลตฟอร์มหนึ่งที่เป็นกระแสทั่วโลกมาในรูปแบบแอปพลิเคชันที่สื่อสารด้วยเสียงผู้ก่อตั้งโรฮาน เซธ (Rohan Seth) และพอล เดวิสัน(Paul Davison) ซึ่งแอปฯนี้เกิดจากความเบื่อหน่ายของ2 คนเพราะอยู่ในช่วงเกิดโรคระบาด COVID-19 ทำให้ไม่สามารถออกไปไหนได้แต่อยากพูดคุยกับเพื่อน ๆ พร้อมกันแบบไม่จำเป็นต้องรู้จักกันเพียงแค่อยากคุยในเรื่องเดียวกันก็พอจึงพัฒนาแอป ฯ ตัวนี้ขึ้นมาและเริ่มเปิดตัวเมื่อช่วงปี 2020
จุดเด่นที่ทำให้แอป ฯ นี้เป็นที่ยอมรับ และเป็นกระแส
ถือว่าแอปพลิเคชันClubHouseเป็นช่องทางที่เหมาะสำหรับเป็นห้องจัดอีเวนท์หรือสัมมนาแบบจำลองได้ดีแต่การใช้งานย่อมมีทั้งด้านดีและด้านที่ควรระวังด้วยการพูดที่มีความอิสระเสรีซึ่งเข้ากับยุคปัจจุบันนี้นั่นเองอาจเป็นช่องทางที่นำไปสู่การเปิดประเด็นพูดคุยที่อาจเป็นการละเมิดกฎหมายเรื่องที่อ่อนไหวทางสังคมหรือกระทบบุคคลอื่นจนทำให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) ต้องออกมาเตือนให้ผู้ใช้งานนั้นระมัดระวังห้ามละเมิดกฎหมายเด็ดขาดโดยแจ้งว่าได้มีการสอดส่องผู้ใช้งานแอป ฯ นี้อยู่ด้วย
แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
[1] 2564./ “10 เหตุผลที่ทำไม Clubhouse ถึงกลายเป็นแอพสุดปังในช่วงเวลาเพียงข้ามคืน./ สืบค้นเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564./ จากเว็บไซต์: https://notebookspec.com/web/576930-why-clubhouse-is-so-popular
[2] 2564./ “ทำความรู้จักกับ “ Clubhouse ”แอปโซเชียลแชทที่ใคร ๆ ก็พูดถึงตอนนี้./ สืบค้นเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564./ จากเว็บไซต์: https://stepstraining.co/trendy/clubhouse-appication
[3] 2564./ “รู้จัก Clubhouse โซเชียลใหม่มาแรง ใช้งานอย่างไร และทำไมถึงฮิต/ สืบค้นเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564./ จากเว็บไซต์: https://www.matichon.co.th/social/news_2581633
[4] 2564./ “ครบจบที่เดียว! รวมทุกฟีเจอร์บน Clubhouse พร้อมวิธีการใช้งาน./ สืบค้นเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564./ จากเว็บไซต์: https://www.rainmaker.in.th/how-to-feature-clubhouse/
เรียบเรียง: วรรณวจี สุจริตธรรม
ตรวจทาน: ฐิติ สิริธนากร
กองวิชาการเทคโนโลยีและนวัตกรรม สำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ