ภาพจาก: http://www.sciencedaily.com/releases/2016/01/160120202414.htm
นักวิทยาศาสตร์จากสหราชอาณาจักรขุดพบไดโนเสาร์กลุ่ม theropods จากยุคจูราสสิคที่อาจจะเป็นไดโนเสาร์ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยบันทึกไว้
ScienceDaily รายงานผลการค้นพบ ไดโนเสาร์พันธุ์กินเนื้อชนิดใหม่ที่ชื่อ Dracoraptor hanigani ถูกค้นพบทางตอนใต้ของประเทศเวลส์ เครือสหราชอาณาจักร ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า จะมีอายุเก่าแก่ที่สุดในบรรดาไดโนเสาร์จากยุคจูราสสิค จากการวิเคราะห์กะโหลกและกระดูกพบว่าเป็นไดโนเสาร์วัยรุ่นพันธุ์กินเนื้อในกลุ่มเทอโรพอดส์ (ไดโนเสาร์กลุ่มเทอโรพอดส์คือไดโนเสาร์ที่เดินสองเท้า แบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย ได้แก่ กลุ่มซีลูโรซอร์ (Coelurosaur) ที่มีขนาดเล็ก และกลุ่มคาร์โนซอร์ (Carnosaur) ที่มีขนาดใหญ่)
เมื่อเปรียบเทียบกับญาติห่าง ๆ อย่างทีเร็กซ์ (T.rex) ไดโนเสาร์ที่พบจึงเป็นไดโนเสาร์ขนาดเล็กและปราดเปรียว ซึ่งอาจจะสูงเพียง 70 เซนติเมตร และความยาวจากปากถึงปลายหางประมาณ 200 เซนติเมตร ไดโนเสาร์มีหางยาวเพื่อช่วยในการทรงตัว และคาดว่ามีชีวิตอยู่ในยุคเริ่มต้นของยุคจูราสสิค (201 ล้านปีที่แล้ว) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พื้นที่ทางตอนใต้ของประเทศเวลส์เป็นลักษณะพื้นที่ชายฝั่งทะเลอย่างเช่นที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ณ เวลานั้น สภาพอากาศอบอุ่นกว่าในปัจจุบันมากและไดโนเสาร์เพิ่งเริ่มเกิดความหลากหลายของสายพันธุ์ ตัวอย่างที่ค้นพบใหม่นี้ แสดงให้เห็นถึงซากดึกดำบรรพ์ theropod ที่สมบูรณ์ที่สุดและอาจเป็นหนึ่งในตัวแทนของในไดโนเสาร์ที่เก่าแก่ที่สุดที่เราเคยรู้จักกันในยุคจูราสสิค ในพื้นที่ของสหราชอาณาจักรหรือแม้กระทั่งในโลก
Link ที่เกี่ยวข้อง
http://www.sciencedaily.com/releases/2016/01/160120202414.htm
http://web.nrru.ac.th/web/ancient/dino/dino301.htm