ถ้าพูดถึงเรื่องอวกาศ คงไม่มีใครไม่รู้จักผู้บุกเบิกการนำพามนุษย์ขึ้นไปเหยียบดวงจันทร์เป็นเจ้าแรกนั่นคือ นาซ่า (NASA) หรือ องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการ รับผิดชอบในโครงการอวกาศและงานวิจัยห้วงอากาศอวกาศ (Aerospace) ของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีเป้าหมายในการสำรวจและพัฒนาองค์ความรู้ ซึ่งกว่าจะเป็นหน่วยงานที่มีชื่อเสียงทางด้านอวกาศนี้ได้ NASA ต้องผ่านแรงกดดันจากการแข่งขันกับหน่วยงานที่ถือว่าเป็นคู่แข่งอย่าง สหภาพโซเวียต หรือรัสเซีย มาโดยตลอด โครงการอวกาศโซเวียตถือเป็นผู้นำด้านอวกาศก่อนเสมอในยุคแรก ๆ เช่น ปี ค.ศ. 1957 ปล่อยดาวเทียมสปุตนิก 1 ขึ้นไปโคจรในอวกาศเป็นชาติแรก แต่ปฏิบัติภารกิจได้แค่ 3 สัปดาห์ เพราะแบตเตอรี่เสีย จึงตกสู่ชั้นบรรยากาศ ตามด้วย ปี ค.ศ. 1961 ส่งมนุษย์คนแรกคือ ยูริ กาการิน (Yuri Gagarin) โคจรรอบโลก ถือเป็นก้าวสำคัญของอวกาศ แต่ไปไม่ถึงดวงจันทร์ เพราะโคจรอยู่บนอวกาศแค่ไม่กี่ชั่วโมง เป็นต้น
จึงทำให้ด้าน NASA นำข้อผิดพลาดเหล่านั้นมาพัฒนาเทคโนโลยีตนเองให้ไปได้ไกลกว่า จนสุดท้ายจึงเป็นผู้นำด้านอวกาศ เช่น การส่งมนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์ และสามารถเก็บวัตถุนั่นคือ หิน กลับมายังโลก ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้โลกได้ศึกษาเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับดวงจันทร์มากยิ่งขึ้น แต่ด้วยความเป็นหน่วยงานรัฐบาล กิจกรรมทางอวกาศที่หลายๆ คนมองว่าเป็นสิ่งที่น่าหลงไหล และน่าสนใจในการต่อยอดการทำธุรกิจ ทำให้นาซ่าไม่สามารถดำเนินกิจกรรมบางอย่างในเชิงพาณิชย์ได้ และด้วยโครงการด้านอวกาศมีการใช้เทคโนโยีและความต้องการการสนับสนุนจากุเงินลงทุนจำนวนมาก ทำให้นาซ่ามองหานักลงทุนมาร่วมโครงการด้วย ซึ่งเป็นช่วงที่นาซ่ากำลังมองหาผู้ที่จะเข้ามาช่วยในเรื่องการขนส่งสินค้า เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 2012 จึงจับมือกับบริษัทเอกชน สเปช เอ็กซ์ (SpaceX) ในการลงทุนด้านธุรกิจอวกาศ ปล่อยยานดร้ากอน (Dragon) เพื่อส่งสินค้าไปยังสถานีอวกาศนานาชาติภายใต้โครงการชื่อ Commercial Resupply Services ของนาซาเป็นครั้งแรก นับเป็นก้าวแรกในการเปิดเปิดโอกาสด้านเทคโนโลยีทางอวกาศกับภาคเอกชน
บริษัทอวกาศเอกชน กับ การแข่งขันด้านเทคโนโลยีอวกาศยุคใหม่
ปัจจุบันการแข่งขันด้านอวกาศไม่ได้ถูกปิดกั้นในการเข้าถึงข้อมูล เทคโนโลยี และการไปเยือน ทำให้ีเหล่านักธุรกิจและผู้ที่มีความสนใจเข้าร่วมพัฒนา หรือแม้กระทั่งเป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีเอง และด้วยกระแสการท่องเที่ยวในอวกาศ หรือ Space Tourism ที่มีแนวคิดในการที่จะพามนุษย์ไปสัมผัสประสบการณ์เดินทางและท่องเที่ยวในอวกาศ
Space Tourism มีความสำคัญขึ้นเมื่อช่วงปี ค.ศ. 1972 หลังจากอดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ริชาร์ด นิกสัน ได้ลงนามอนุมัติเงินเพื่อพัฒนาเครื่องบินอวกาศ (Space Shuttle) และยานพาหนะที่สามารถใช้ในระบบขนส่งไปยังอวกาศรูปแบบใหม่ ถึงแม้สิ่งที่คาดหวังจะไม่ประสบความสำเร็จในทันที แต่ถือเป็นจุดเริ่มต้นของลู่ทางการเดินทางไปยังอวกาศ จนทำให้เกิดการตื่นตัว และแข่งขันกันมาขึ้น บริษัทเอกชนที่มาแรงด้านพาทัวร์อวกาศ ณ ขณะนี้ มีหลากหลายค่าย ขอยกตัวอย่างดังนี้
นอกจากนี้ยังมีบริษัทเอกชนที่ไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อท่องเที่ยว แต่สร้างขึ้นเพื่อให้บริการในการขนส่งดาวเทียมอีกมากมาย เช่น Vector Launch ประเทศสหรัฐอเมริกา, Sierra Nevada Corporation ประเทศสหรัฐอเมริกา, OneSpace ประเทศจีน, LANDSPACE ประเทศจีน, PLD Space ประเทศสเปน, Copenhagen Suborbitals ประเทศเดนมาร์ก, Interstellar Technologies ประเทศญี่ปุ่น, Independence-X Aerospace ประเทศมาเลเซีย, Gilmour Space Technologies ประเทศออสเตรเลีย, Mitsubishi Heavy Industries ประเทศญี่ปุ่น และ mu Space Corp ประเทศไทย
จะเห็นได้ว่าทุกค่ายมีความคิดที่เหมือนกันคือ การอยากให้ทุกคน ได้ไปสัมผัสประสบการณ์การท่องอวกาศนอกโลก ตลอดจนการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ เพื่อนำกลับมาสร้างสิ่งที่ดีให้แก่โลก โดยมุ่งมั่นให้เกิดเป็นอุตสาหกรรมอวกาศยุคใหม่ ในอนาคตเชื่อว่าจะมีหน่วยงานเอกชนแบบนี้เกิดขึ้นอีกมากมาย การแข่งขันด้านการพัฒนาเทคโนโลยีนั้นจะนำมาซึ่งนวัตกรรมต่าง ๆ มากมายและผู้ที่จะได้รับผลประโยชน์จากเทคโนโลยีเหล่านั้นก็คือพวกเราทุกคน ใครจะคิดว่าวันนี้เราจะมาถึงจุดที่คนทั่ว ที่ไม่ใช่นักบิน ก็สามารถไปอวกาศได้ถึงแม้จะยังราคาสูง และใช้เวลาไม่กี่นาที เพียงเพื่อไปสัมผัสประสบการณ์ไร้แรงโน้มถ่วงและบรรยากาศนอกโลก แต่เชื่อว่ามนอนาคตเราทุกคนจะสามารถไปเที่ยวอวกาศ เหมือนเรานั่งเครื่องบินไปเที่ยวเมืองนอกนั่นเอง
ที่มารูปภาพ:
[1] https://www.blueorigin.com/new-shepard/new-shepard-payloads/
[2] hrome-extension://ophjlpahpchlmihnnnihgmmeilfjmjjc/index.html#
[3] https://www.borderreport.com/regions/new-mexico/from-southern-new-mexico-virgin-galactic-launches-first-human-spaceflight-in-two-years/
[4] https://review.thaiware.com/2058.html
[5] https://en.wikipedia.org/wiki/Space_Adventures_Crew_Dragon_mission
[6] https://www.shutterstock.com/th/image-photo/earth-moon-on-background-star-cluster-1411899809
[7] https://www.shutterstock.com/th/image-illustration/astronaut-couple-take-photo-during-space-1351598840
[8] https://www.shutterstock.com/th/image-photo/wing-airplane-window-over-fluffy-clouds-1912842406
แหล่งที่มาของข้อมูล:
[1] 2563./ อวกาศ: ทำไมนาซาจึงให้สเปซเอ็กซ์ของอีลอน มัสก์รับเหมาช่วงเรื่องการขนส่งนอกโลก./ สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2564./ เข้าได้จาก: https://www.bbc.com/thai/international-54960135
[2] 2561./ บริษัทอวกาศเอกชน การแข่งขันด้านเทคโนโลยีอวกาศยุคใหม่./ สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2564./ เข้าได้จาก: https://www.nextwider.com/private-space-companies/
[3] 2558./ องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (NASA)./ สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2564./ เข้าได้จาก: https://www.nstda.or.th/jaxa-thailand/nasa-background/
[4] 2564./ Blue Origin บริษัทยานอวกาศของ Jeff Bezos พร้อมทดสอบพาลูกเรือไปนอกโลกแล้วในเมษายนนี้./ สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2564./ เข้าได้จาก: https://brandinside.asia/blue-origin-jeff-bezos-ready-to-fly-with-human-in-april/
[5] 2564./ สรุปศึกใหญ่! 3 ค่ายธุรกิจบินเที่ยวอวกาศ แมตช์นี้ใครจะชนะ?./ สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2564./ เข้าได้จาก: https://www.facebook.com/LDAworld/videos/225775422790061
[6] 2564./ ภารกิจสำเร็จ ยาน Space X ส่ง 4 นักบินอวกาศถึงสถานีอวกาศนานาชาติโดยสวัสดิภาพ./ สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2564./ เข้าได้จาก: https://siamrath.co.th/n/239719
[7] 2564./ เที่ยวอวกาศ (Space Travel) กับ 6 องค์กรเอกชน ที่พาคุณไปเที่ยวอวกาศได้แบบ ว้าว ๆ พร้อมส่องราคาตั๋ว./ สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2564./ เข้าได้จาก: https://review.thaiware.com/2058.html
[8] 2564./ ‘ทัวร์อวกาศเชิงพาณิชย์’ สมรภูมิใหม่มหาเศรษฐีระดับโลก ประสบการณ์สุดพิเศษที่ซื้อได้ด้วย ‘เงิน’./สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2564./ เข้าได้จาก: https://thestandard.co/space-tourism/
[9] 2564./ 27 มีนาคม 1968 – ยูริ กาการิน นักบินอวกาศคนแรกของโลกเสียชีวิตปริศนา./ สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2564./ เข้าได้จาก: https://thestandard.co/onthisday-27031968/
เรียงเรียง: วรรณวจี สุจริตธรรม
ตรวจทาน: ฐิติ สิริธนากร
วิจิตรา สุริยกุล ณ อยุธยา
กองวิชาการเทคโนโลยีและนวัตกรรม สำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ