นักวิทยาศาสตร์พบว่ามนุษย์รับรู้อารมณ์ ความรู้สึกของคู่สนทนาได้จากเสียงมากกว่าคำพูด
ScienceDaily รายงานผลการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย McGill ประเทศแคนาดา เกี่ยวกับความสามารถของมนุษย์ในการรับรู้อารมณ์ ความรู้สึกของคู่สนทนาจากเสียงได้รวดเร็วกว่าคำพูด โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ให้อาสาสมัครจำนวน 24 คน จำแนกอารมณ์ ได้แก่ โกรธ เศร้า มีความสุข หลังจากฟังเสียง (vocalization) และเสียงพูดที่จับใจความไม่ได้ (nonsense speech) พร้อมกับตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (Electroencephalo graphy; EEG)
ทีมวิจัยพบว่าสมองของอาสาสมัครรับรู้อารมณ์จากเสียงได้อย่างว่องไวกว่าคำพูด สมองสามารถตอบสนองกับการรับรู้อารมณ์ของคู่สนทนามากกว่าแสดงออกเอง และผู้ที่มีความวิตกกังวลจะสามารถรับรู้อารมณ์ของคู่สนทนาได้ไวกว่าคนปกติ นอกจากนี้สมองยังรับรู้อารมณ์แห่งความสุขได้อย่างว่องไวกว่าอารมณ์เศร้าหรือโกรธ แต่สมองจะประมวลผลต่อเนื่องยาวนานกว่าหากรับรู้ถึงอารมณ์โกรธ นักวิทยาศาสตร์ให้ความเห็นว่าการสื่อสารด้วยการเปล่งเสียงนั้น มีความเฉพาะเจาะจงในแต่ละสิ่งมีชีวิต ที่รับรู้ได้ด้วยระบบประสาทโดยตรง
ภาพจาก http://www.freedigitalphotos.net/images/agree-terms.php?id=10089831
ทีมข่าววิทยาศาสตร์ อพวช. รายงาน
Link ที่เกี่ยวข้อง
http://www.sciencedaily.com/releases/2016/01/160118134938.htm
http://medinfo.psu.ac.th/smj2/smj24_5/pdf24_5/06montira.pdf