รังสี UV มีผลกับสัตว์ในแอนตาร์กติกา เสี่ยงเป็นต้อกระจก

รังสี UV มีผลกับสัตว์ในแอนตาร์กติกา เสี่ยงเป็นต้อกระจก

08-05-2024
dsf

ในชั้นบรรยากาศโลกมีช่องโหว่ของโอโซน ทำให้สิ่งมีชีวิตในแอนตาร์กติกาได้รับรังสี UV มาขึ้น ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงเป็นต้อกระจกได้

จากการรายงานข่าว สำนักข่าว BBC ในวันที่ 30 เมษายน 2567 ถึงผลการศึกษาที่ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Global Change Biology นักชีววิทยาระบุว่าชั้นบรรยากาศโลกได้มีการสูญเสียชั้นโอโซน ทำให้ชั้นโอโซนมีช่องโหว่ ซึ่งในปัจจุบันช่องโหว่นี้มีขนาดใหญ่เป็น 2 เท่า ของทวีปแอนตาร์กติกาทำให้สิ่งมีชีวิตที่อยู่บริเวณทวีปแอนตาร์กติกาหรือขั้วโลกใต้ได้รับรังสีมากกว่าปกติ โดยเฉพาะรังสี UV-B ที่มีการทดสอบในมนุษย์แล้วว่าก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังและต้อกระจก แต่ในสัตว์จำพวก นกเพนกวิน แมวน้ำ ที่อาศัยอยู่บริเวณนั้นมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งผิวได้น้อยกว่าเนื่องจากมีขนปกคลุมทั่วลำตัว แต่ความเสี่ยงส่วนใหญ่นั้นส่งผลกระทบต่อดวงตาของพวกมัน

ในทุก ๆ ปีช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม จะเป็นช่วงที่เกิดช่องโหว่โอโซน และในช่วงนี้เป็นช่วงที่มีหิมะปกคลุมทุกพื้นที่ ทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถหาที่หลบรังสี UV .ใต้หิมะและธารน้ำแข็งได้ แต่ช่องโหว่นี้ได้ยาวนานไปจนถึงเดือนธันวาคมซึ่งเข้าสู่หน้าร้อนของทวีปแอนตาร์กติกา หิมะและธารน้ำแข็งลดหายไปทำให้สิ่งมีชีวิตได้รับแสง UV โดยตรงซึ่งนักวิจัยเกรงว่าจะทำให้พวกมันอาจมีความเสี่ยงเป็นโรคต้อกระจก นั่นเอง


ที่มาของแหล่งข้อมูล (Reference)

1. https://www.bbc.com/thai/articles/ceq3xg8d034o

2. https://thestandard.co/ozone-hole-larger-than-brazil/

ผู้เรียบเรียง

ปัณฑารีย์ สมบูรณ์วณิชย์  นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

Related