ผู้ควบคุมพลังแห่งวิวัฒนาการ

ผู้ควบคุมพลังแห่งวิวัฒนาการ

29-04-2022
ผู้ควบคุมพลังแห่งวิวัฒนาการ

พลังแห่งวิวัฒนาการส่งผลให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเคมีประจำปี พ.ศ. 2561 นำวิธีการควบคุมวิวัฒนาการมาใช้ผลิตเอนไซม์
ที่เป็นจุดเริ่มต้นของผลงานที่เป็นประโยชน์กับมนุษยชาติอย่างมหาศาล ตั้งแต่เชื้อเพลิงชีวภาพ ยารักษาโรค จนถึงสารภูมิต้านทานที่ช่วยให้มนุษย์ต่อสู้กับ
โรคภูมิแพ้ตัวเอง และยังใช้รักษามะเร็งระยะแพร่กระจายในบางกรณีได้ด้วย

จากสิ่งมีชีวิตชนิดแรกที่ถือกำเนิดเมื่อ 3.7 พันล้านปีก่อน จน ณ ตอนนี้โลกมีสิ่งมีชีวิตที่หลากหลายและอาศัยอยู่ได้ตั้งแต่ในน้ำพุร้อน ก้นมหาสมุทร จนถึงทะเลทราย
ทั้งนี้ก็เพราะพลังแห่งวิวัฒนาการ ที่ผลักดันในสิ่งมีชีวิตแก้ปัญหาที่ต้องเผชิญ โดยมี”เอนไซม์” ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยให้สิ่งมีชีวิตมีกระบวน
การเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง สร้างใหม่ จนอยู่ในสภาพที่เหมาะสมจะอยู่รอดต่อไป

นี่คือแรงบันดาลในที่ทำให้ Frances H. Arnold นำหลักการเดียวกันนี้มาใช้พัฒนาโปรตีนเพื่อนำมาแก้ไขปัญหาให้มนุษย์ จนทำให้เขาคว้ารางวัลโนเบลสาขาเคมีในปีนี้
Frances เริ่มโครงการสร้างโปรตีนโดยอาศัยหลักวิวัฒนาการ เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2541 และปรับปรุงพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ผลงานการนำมาประยุกต์ใช้งาน
ได้แก่ การผลิตยาที่รักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น การสร้างเชื้อเพลิงชีวภาพที่เป็นพลังงานทดแทนให้กับภาคการขนส่ง

รางวัลนี้ยังได้มอบให้แก่ George P. Smith และ Sir Gregory P. Winter ด้วยผลงาน การพัฒนาวิธี Phage Display ที่ใช้ไวรัสกลุ่มที่เรียกว่า bacteriophage
ซึ่งเป็นไวรัสที่โตในแบคทีเรีย ให้ผลิตโปรตีนผ่านกระบวนการวิวัฒนาการ จนได้ยาชนิดใหม่ คือ ยา Adalimumab ซึ่งได้รับการรับรองให้ใช้รักษาโรคข้ออักเสบ
รูมาตอยด์ และโรคลำไส้อักเสบ และยังนำมาพัฒนาสารภูมิต้านทานที่สามารถทำลายพิษ ต่อต้านโรคภูมิแพ้ตัวเอง และยังรักษาโรคมะเร็งในระยะแพร่กระจายได้อีกด้วย
มนุษย์ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการปฏิวัติเทคโนโลยีด้านการกำกับวิวัฒนาการเท่านั้น ซึ่งการใช้ความรู้ในสาขานี้จะสร้างคุณประโยชน์แก่มนุษยชาติได้อย่างมหาศาลต่อไป

ที่มา https://www.nobelprize.org/prizes/chemistry/2018/press-release/

เรียบเรียงโดย นายฐิติ สิริธนากร