สารไทโอฟีน คืออะไร
สารไทโอฟีน เป็นสารประกอบอินทรีย์ของสิ่งมีชีวิต โดยสารไทโอฟีนมีอะตอมของคาร์บอนหลายตัวและอะตอมของกำมะถันหนึ่งตัว เชื่อมต่อกันเป็นลักษณะวงแหวน ซึ่งเป็นสารประกอบที่อยู่ในโลก พบได้ในถ่านหิน น้ำมันดิบ และเห็ดทรัฟเฟิลขาว และ
ทีมสำรวจบนดาวอังคาร ได้ใช้หุ่นยนต์ "คิวริออซิที" (Curiosity Rover) ขององค์การนาซา ทำการตระเวนสำรวจ และได้ค้นพบสารประกอบอินทรีย์ มีกลิ่นเฉพาะตัว บนดาวอังคารเมื่อสองปีที่แล้ว และทีมนักชีววิทยาดาราศาสตร์ระบุว่า ไทโอฟีน (thiophenes) ที่ค้นพบบนดาวอังคาร เป็นสารประกอบที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตโบราณที่คล้ายกับแบคทีเรีย สามารถผลิตสารที่มีโครงสร้างทางเคมีเช่นนี้ขึ้นมาได้ เมื่อพวกมันหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน และใช้ซัลเฟต ซึ่งเป็นเกลือของกรดกำมะถันในปฏิกิริยาเคมีที่สร้างพลังงานให้กับเซลล์ จึงเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าดาวอังคารดวงนี้เคยมีสิ่งมีชีวิตมาก่อน
แต่อย่างไรก็ตาม ทีมผู้วิจัยไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า สารไทโอฟีน ที่พบในดินของดาวอังคาร อาจเกิดขึ้นจากกระบวนการที่ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตได้เหมือนกัน เช่น อาจเกิดเหตุอุกกาบาตชนพื้นผิวดาวจนเกิดความร้อนสูงร้อยกว่าองศา ก็สามารถจะทำให้สารเคมีบางอย่างกลายสภาพเป็นไทโอฟีนได้
ผู้เขียน วันชนะ ทองพูน
แหล่งรูปภาพ
https://www.bbc.com/thai/features-51768724
https://www.flagfrog.com/nasa-found-evidence-ancient-life-mars/
ข้อมูลอ้างอิง
https://www.khaosod.co.th/bbc-thai/news_3704481
https://www.bbc.com/thai/features-51768724
https://www.flagfrog.com/nasa-found-evidence-ancient-life-mars/