หอยทากจิ๋ว 2 ชนิดใหม่ของโลก

หอยทากจิ๋ว 2 ชนิดใหม่ของโลก

29-04-2022
หอยทากจิ๋ว 2 ชนิดใหม่ของโลก

    เป็นความน่าภาคภูมิใจของ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา องค์พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่ชาติ ที่คุณบังอร ช่างหลอม นักวิชาการ ประจำกองวิชาการธรรมชาติวิทยา ได้ค้นพบหอยทากจิ๋ว 2 ชนิดใหม่ของโลก นั่นคือ หอยทากจิ๋วผิวตาข่าย(Acinolaemus cryptidentatus)  และหอยทากจิ๋วเมืองออน (Acinolaemus mueangonensis)

09 Acinolaemus muangonensis Plate 001 201060 2

หอยทากจิ๋วผิวตาข่าย(Acinolaemus cryptidentatus)

09 Acinolaemus muangonensis Plate 001 201060 2

หอยทากจิ๋วเมืองออน (Acinolaemus mueangonensis)

            เดิมตัวอย่างหอยทั้ง 2 ชนิดนี้ ถูกเก็บตัวอย่างมานานแล้ว โดย คุณธัญญา จั่นอาจ อดีตผู้อำนวยการกองวัสดุอุเทศธรรมชาติ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา หลังจากนั้น คุณบังอร ช่างหลอม ได้นำตัวอย่างมาศึกษาชนิดโดยละเอียด จึงได้เห็นลักษณะที่แปลกและแตกต่างไปจาก หอยทากจิ๋วชนิดอื่นๆ ในสกุลเดียวกัน  จากนั้นทำการส่งตัวอย่างไปตรวจเทียบกับผู้เชี่ยวชาญด้านหอย ผลปรากฏว่า หอยทากจิ๋วทั้ง 2 ชนิด เป็นชนิดใหม่ของโลก (New Species) ซึ่ง

09 IMG 9125 edit 1

คุณบังอร ช่างหลอม
นักวิชาการ​
พิพิธภัณฑ์​ธรรมชาติ​วิทยา​ อพวช.​

          หอยทากจิ๋วในสกุล Acinolaemus ทั่วโลกมีรายงานว่าพบเพียง 6 ชนิด โดยพบที่ประเทศเวียดนาม 1 ชนิด และอีก 5 ชนิด พบในประเทศไทย สำหรับหอยทากจิ๋วชนิดใหม่ทั้ง 2 นี้ พบเฉพาะในถ้ำทางภาคเหนือของประเทศไทยเท่านั้น

          การค้นพบครั้งนี้ ทำให้ทราบว่าประเทศไทยยังคงอุดมไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเฉพาะกลุ่มหอยทากจิ๋ว ที่มีตัวขนาดเล็กมากๆ จนแทบจะมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น แต่ถึงแม้ตัวจะจิ๋ว แต่ทว่ามีความสำคัญยิ่งใหญ่ในห่วงโซ่อาหาร หอยทากจิ๋วทำหน้าที่ขูดกินไลเคนที่เกาะตามผนังถ้ำหินปูนเป็นอาหาร  ในขณะเดียวกันก็เป็นอาหารให้สัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่า เช่น ค้างคาว นก หนู มด เป็นต้น

          ดังนั้นเราทุกคนควรตระหนักไว้ว่า ไม่ว่าสิ่งมีชีวิตจะมีขนาดเล็กจิ๋วแค่ไหนหรือขนาดใหญ่โตมโหฬารเพียงใด ก็ล้วนมีความสำคัญในระบบนิเวศ เราในฐานะสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งในระบบนิเวศเดียวกัน ก็ควรใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง ไม่กระทบต่อธรรมชาติจนอาจทำให้สิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ ต้องสูญพันธุ์ไป

 

 

ผู้เรียบเรียง : นางสาวปัฑารีย์ สุวรรณลาภเจริญ

ที่มาข้อมูล :  http://www.thnhmjournal.com/attachments/view/?attach_id=229878