นักวิจัยจากอิตาลีและสวิตเซอร์แลนด์พัฒนาเครื่องมือช่วยให้ผู้ใช้มือเทียมสามารถรับรู้ความแตกต่างของวัตถุที่จับได้ เป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้พิการ
เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 นิตยสาร Med มีการรายงานผลการศึกษาของทีมนักวิจัยที่พัฒนาเครื่องมือเรียกว่า MiniTouch ที่เป็นอุปกรณ์เสริมสำหรับติดที่มือเทียมของผู้พิการที่แขน โดยมีการขาดของส่วนมือจนเกือบถึงข้อมือ อุปกรณ์ดังกล่าวมีการพัฒนาให้ผู้ใช้งานสามารถระบุความแตกต่างของอุณหภูมิของวัตถุที่จับต้องได้แม่นยำมากขึ้นถึงร้อยละ 80 นอกจากนี้ยังสามารถแยะประเภทของวัตถุที่จับได้เช่น แก้ว พลาสติด โลหะได้แม่นยำมากขึ้นอีกด้วย โดยผู้ใช้งานต้องติดตั้งอุปกรณ์นี้ที่ปลายมือเทียมและต่อสายสัญญาณไปยังบริเวณข้อมือที่ขาด โดยข้อมูลจากกลุ่มทดลองพบว่าผู้พิการมือยังคงมีการรับรู้ความแตกต่างของอุณหภูมิได้บริเวณแขนที่ตำแหน่งต่าง ๆ เมื่อนักวิจัยต่อสายสัญญาณการรับความรู้สึกไปไว้ที่ข้อมือที่ขาด ผู้พิการเหล่านั้นจะสามารถรับรู้ความแตกต่างได้
ในปัจจุบันอุปกรณ์ดังกล่าวมีจุดรับสัญญาณ 1 จุดติดตั้งบริเวณนิ้วชี้ ในอนาคตทีมนักวิจัยมีแผนในการพัฒนาอุปกรณ์ให้มีจุดรับสัญญาณความรู้สึกเพิ่มเพื่อให้การรับรู้อุณหภูมิและการแยกสัมผัสมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีแผนในการพัฒนาความเร็วในการส่งสัญญาณจากปลายนิ้วเทียวไปยังจุดรับความรู้สึกของข้อมือที่ติดตั้งจุดรับสัญญาณให้รวดเร็วเหมือนการตอบสนองตามธรรมชาติอีกด้วย เมื่อเทคโนโลยีก้าวไปมากขึ้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้พิการให้สามารถใช้ชีวิตได้ปกติก็ยิ่งเป็นไปได้มากยิ่งขึ้น
แหล่งที่มาของข่าว
J. Muheim et al. A sensory-motor hand prosthesis with integrated thermal feedback. Med. Published online February 9, 2024. doi: 10.1016/j.medj.2023.12.006
เรียบเรียงโดย
ศักดิ์ชัย จวนงาม
นักสื่อสารวิทยาศาสตร์
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ