"น้ำเสีย" แหล่งข้อมูลเพื่อป้องกันโรคระบาด

"น้ำเสีย" แหล่งข้อมูลเพื่อป้องกันโรคระบาด

29-04-2022
นักวิจัยในอัมสเตอร์ดัมสามารถวิเคราะห์สารพันธุกรรมโคโรนาไวรัสจากบ่อบำบัดน้ำเสีย

นักวิจัยในอัมสเตอร์ดัมสามารถวิเคราะห์สารพันธุกรรมโคโรนาไวรัสจากบ่อบำบัดน้ำเสีย (ต้นเดือนมีนาคม 2563) หลังจากที่ประเทศเนเธอร์แลนด์มีรายงานผู้ป่วยจากโรคโควิด-19 รายแรก (ปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2563) เพียงไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ ทำให้ผู้ทำงานด้านสาธารณสุขระบุถึงการแพร่กระจายที่เกิดขึ้นภายในชุมชน

การวิเคราะห์น้ำเสียในที่นี้เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์น้ำที่ใช้แล้วจากระบบบำบัดน้ำเสียในการสอบสวนโรคติดเชื้อที่ออกมาพร้อมกับการขับถ่ายของเสียจากร่างกายมนุษย์เช่น SARS-CoV-2.
ตัวอย่างโคโรน่าไวรัส (SARS-CoV-2 coronavirus) จะผสมมากับมูลและน้ำปัสสาวะจากร่างกายมนุษย์ นอกจากน้ำเสียและสิ่งปฏิกูลสามารถเป็นหนทางที่ทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายแล้ว ยังกลายเป็นแหล่งตรวจสอบการหมุนเวียนของเชื้อโรคจากชุมชนที่เข้ามาสู่ระบบการบำบัดน้ำเสียได้อีกด้วย
ด้วยเหตุนี้ หากมีการพัฒนาระบบเฝ้าระวังน้ำเสีย เพื่อการตรวจหาและวินิจฉัยโปลิโอไวรัส (poliovirus) รวมถึงแบคทีเรียที่ต้านทานยาปฏิชีวนะ รวมถึงความสำเร็จของมาตรการในการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคมากน้อยเพียงใด ดังเช่น มาตรการระยะห่างทางสังคม (social distancing) ส่งผลต่อการลดลงของการแพร่ระบาดของเชื้อโรคหรือไม่
การตรวจสอบน้ำเสียจากชุมชนอย่างสม่ำเสมอ สามารถทำให้หน่วยงานทางสาธารณสุขเตือนภัย รวมถึงออกมาตรการและปฏิบัติการเชิงรุกในการป้อมปรามการอุบัติและการอุบัติซ้ำของโรคโควิด-19 หรือโรคระบาดอื่น ๆ และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสาธารณสุขได้ดียิ่งขึ้น

ผู้เขียน

ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ

แหล่งที่มาของข้อมูล

  1. https://www.bloomberg.com/news/articles/2020-03-31/coronavirus-in-sewage-portended-covid-19-outbreak-in-dutch-city
  2. https://www.nature.com/articles/d41586-020-00973-x