นักวิจัยประเทศสหรัฐอเมริกาค้นพบ การทำ “คอนกรีตมีชีวิต” (Living Concrete) ที่สามารถเพิ่มปริมาณเนื้อคอนกรีตได้เอง

นักวิจัยประเทศสหรัฐอเมริกาค้นพบ การทำ “คอนกรีตมีชีวิต” (Living Concrete) ที่สามารถเพิ่มปริมาณเนื้อคอนกรีตได้เอง

29-04-2022
นักวิจัยประเทศสหรัฐอเมริกาค้นพบ การทำ “คอนกรีตมีชีวิต” (Living Concrete) ที่สามารถเพิ่มปริมาณเนื้อคอนกรีตได้เอง

รายงานข่าวจากมหาวิทยาลัยโคโลราโด โบลเดอร์ (University of Colorado at Boulder) เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2563 ที่ผ่านมาได้เผยแพร่การค้นพบ วิธีสร้างคอนกรีตที่เพิ่มปริมาณตัวเองได้ โดยผสมแบคทีเรียสังเคราะห์แสงได้ (photosynthetic bacteria)
เข้าไปในเนื้อคอนกรีต

ในปัจจุบันได้มีการสร้างคอนกรีต ซึ่งประกอบไปด้วย หิน ทราย หรือกรวด ซึ่งมีการใช้ทรัพยากรค่อนข้างมาก และมักจะพบกับปัญหา
รอยร้าวที่เกิดจากการหดตัวของคอนกรีตในขณะก่อตัวอยู่บ่อยครั้ง

du lab

นักวิจัย จึงได้คิดค้นวิธีการสร้างคอนกรีตที่แตกต่างออกไป ด้วยการกระบวนการคร่าวๆ คือ การนำเจลาติน ทราย ไซยาโนแบคทีเรีย
สกุล Synechococcus พร้อมสารอาหารของแบคทีเรีย เข้าด้วยกัน จากนั้นเทส่วนผสมทั้งหมดลงในแม่พิมพ์ แล้วทำให้เย็นลง
หลังจากนั้นหนึ่งวันส่วนผสมทั้งหมดจะก่อตัวเป็นก้อนคอนกรีต โดยแบคทีเรียที่อยู่ในคอนกรีตจะมีชีวิตอยู่ในสภาพความชื้นที่เหมาะสมเท่านั้น
ซึ่งถ้าหากอยู่ในอุณหภูมิห้อง หรือในที่แห้งแบคทีเรียจะเริ่มตาย แต่เมื่อโดนความชื้นแบคทีเรียก็จะเริ่มมีชีวิตอีกครั้ง และทำให้คอนกรีตเกิด
ความหยืดหยุ่นสามารถจะขยายเนื้อคอนกรีตเพิ่มขึ้น และแบคทีเรียนี้จะดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อนำไปใช้ในการเจริญเติบโต และผลิต
แคลเซียมคาร์บอเนตซึ่งเป็นส่วนผสมหลักในคอนกรีต จนดูเหมือนกับคอนกรีตที่สามารถเพิ่มเจริญเติบโตเป็นก้อนใหม่ได้

คอนกรีตมีชีวิต (Living Concrete) มีข้อดี คือ มีน้ำหนักเบาทำให้ลดปริมาณน้ำหนักของวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างได้ และเป็นการลดทรัพยากรใน
การผลิต จึงทำให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่ไม่เหมาะกับพื้นที่แห้งแล้ง และไม่ทนทานเทียบเท่ากับคอนกรีตในปัจจุบัน ในอนาคตนักวิจัยจึงค้นหา
วิธีต่อไป เพื่อทำให้ก้อนคอนกรีตมีความแข็งแรงเพิ่มมากขึ้น

ผู้เขียน: นางชลภัสส์ มีสมวัฒน์
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารวิทยาศาสตร์ อพวช.

ที่มาภาพ:
https://www.colorado.edu/today/2020/01/15/building-materials-come-alive
https://www.sciencealert.com/this-concrete-is-packed-with-bacteria-that-help-it-heal-when-damaged?perpetual=yes&limitstart=1
 

ที่มาแหล่งข่าว:
https://www.nytimes.com/2020/01/15/science/construction-concrete-bacteria-photosynthesis.html (20 ม.ค.63)
https://www.sciencealert.com/this-concrete-is-packed-with-bacteria-that-help-it-heal-when-damaged?perpetual=yes&limitstart=1 (20 ม.ค.63)
https://www.colorado.edu/today/2020/01/15/building-materials-come-alive (20 ม.ค.63)

ที่มาแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม:
https://www.khaosod.co.th/bbc-thai/news_3407511 (20 ม.ค.63)
http://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2553/2423/7/228306_ch1.pdf (20 ม.ค.63)
https://www.bhumisiam.com/สาเหตุของการเกิดรอยร้า/ (20 ม.ค.63)