สมองทึบ: นักโบราณคดีค้นพบสมองมนุษย์โบราณไม่ย่อยสลายกว่า 4,400 ชิ้น อายุแก่สุดเกือบ 12,000 ปี

สมองทึบ: นักโบราณคดีค้นพบสมองมนุษย์โบราณไม่ย่อยสลายกว่า 4,400 ชิ้น อายุแก่สุดเกือบ 12,000 ปี

26-03-2024
1

นักโบราณคดีค้นพบสมองมนุษย์โบราณไม่ย่อยสลายกว่า 4,400 ชิ้น อายุแก่สุดเกือบ 12,000 ปี

เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2567 นักวิจัยนำทีมโดย Alexandra Morton-Hayward เผยแพร่ข้อมูลที่น่าสนใจของการเก็บรักษาสมองในแหล่งโบราณคดี ผ่านวารสาร Proceedings of the Royal Society B ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว สมองเป็นอวัยวะของมนุษย์ที่เน่าสลายอย่างเร็วหลังจากตายลง แต่ Alexandra Morton-Hayward กลับค้นพบหลักฐานสมองมนุษย์ที่น่าสนใจ จากบันทึกทางโบราณคดีของนักสำรวจขั้วโลกเหนือ เหยื่อบูชายัญชาวอินคา และทหารสงครามกลางเมืองสเปน

1

เมื่อทำการรวบรวมข้อมูลสมองของมนุษย์โบราณพบได้ทั่วโลก ยกเว้นในเขตขั้วโลกใต้ที่มีความสมบูรณ์ถึง 4,400 ตัวอย่าง พบอายุมากสุด 12,000 ปี ผลการศึกษาสามารถแบ่งประเภทการเก็บรักษาสมองได้ 4 ประเภทคือ ภาวะการขาดน้ำ (dehydration), การแช่แข็ง (freezing), ปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างไขมันและด่างแก่ (saponification), และการฟอกหนัง (tanning) ซึ่งเป็นวิธีการรักษาเนื้อเยื่ออ่อนสมองในศพมนุษย์ที่ทำให้มีการเปลี่ยนสภาพน้อยมาก แต่บางครั้งยังพบโอกาสที่เกิดปฏิกิริยาต่าง ๆ ทั้ง 4 ประเภทข้างต้นเกิดขึ้นด้วยกัน และประเภทของการเก็บรักษาสมองประเภทต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กับแหล่งที่พบสมองเหล่านั้นอย่างมีนัยยะสำคัญ เช่นในเขตหนาวเย็นพบสมองประเภทแช่แข็งจำนวนมาก ประเภทการฟอกหนังพบในเขตอบอุ่น คำถามที่น่าสนใจต่อมาคือ ทำไมสมองเหล่านี้จึงยังคงอยู่ แต่เนื้อเยื่ออ่อนนุ่มส่วนอื่น ๆ กลับหายไป คำตอบอาจะอยู่ที่องค์ประกอบทางเคมีของอวัยะต่าง ๆ ทั้งสัดส่วนของโปรตีนต่อไขมัน อาจจะมีผลต่อการแทนที่หรือการจับพันธะทางเคมีของแร่ต่าง ๆ ซึ่งทีมนักวิจัยกำลังเร่งหาคำตอบของกลไกที่น่าสนใจเหล่านี้ และนอกเหนือจากนั้นยังศึกษาสมองที่มาจากช่วงยุคต่าง ๆ เพื่อเปิดเผยเรื่องราวเหตุการณ์สภาพแวดล้อมในแต่ละช่วงอีกด้วย

 

1

แหล่งอ้างอิง

A.L. Morton-Hayward et al. Human brains preserve in diverse environments for at least 12,000 years. Proceedings of the Royal Society B. Published online March 20 2024. doi: 10.1098/rspb.2023.2606.

 

ผู้เรียบเรียง

ศักดิ์ชัย จวนงาม

นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ