อินเดียเป็นประเทศหนึ่งในเอเชียที่มีการพัฒนาด้านอวกาศอย่างต่อเนื่องมาตลอด จนกระทั่ง ล่าสุด เมื่อวันที่ 22 ก.ค.62 ที่ผ่านมา องค์การวิจัยอวกาศอินเดีย (Indian Space Research Organisation - ISRO) ได้ส่งยาน จันทรายาน 2 (Chandrayaan-2) ขึ้นสู่อวกาศได้สำเร็จ มีภาระกิจเพื่อไปสำรวจดวงจันทร์ โดยมีกำหนดลงจอด ที่บริเวณขั้วใต้ของดวงจันทร์ ซึ่งถูกพัฒนาโดยทีมวิศวกรอินเดีย ใช้งบประมาณ 140 ล้านดอลลาร์ (4,200 ล้านบาท) สำหรับปฏิบัติภารกิจระยะทาง 354,000 กิโลเมตร ยานจันทรายาน 2 (Chandrayaan-2) หนัก 2.4 ตัน ประกอบไปด้วยยานจอด คือ ยานวิกรม (Vikram) หนัก 1.4 ตัน และยานสำรวจ Pragyaan หนัก 27 กิโลกรัม ทั้งหมดถูกปล่อยขึ้นจากฐานยิงของศูนย์อวกาศ Satish Dhawan space centre ในรัฐอานธรประเทศ โดยใช้จรวด GLSV Mark III บรรทุกขึ้นไปสู่อวกาศ
ในวันที่ 7 ก.ย.ที่ผ่านมา มีกำหนดให้ยานวิกรม (Vikram) ลงจอดที่ขั้วใต้ของดวงจันทร์ แต่ ไม่มีสัญญาณตอบกลับจากยานวิกรม (Vikram) เกิดสัญญาณขาดในการลงจอด ที่ระยะ 2.1 กิโลเมตรเหนือพื้นผิวของดวงจันทร์ โดยสัญญาณล่าสุดบอกว่าตัวยานลงไปด้วยอัตราการตกสูงกว่าที่กำหนดไว้ตอนแรก จึงทำให้ยานมีความเสียหาย แต่สำหรับยาน จันทรายาน 2 (Chandrayaan-2) ยังทำงานได้ดี และจะยังโคจรรอบดวงจันทร์ ต่อไปอีกหนึ่งปี
ถึงแม้ภาระกิจครั้งนี้ไม่สำเร็จ แต่อินเดียเคยประสบผลสำเร็จในการส่งยานจันทรายาน 1(Chandrayaan-1) ไปสำรวจผิวดวงจันทร์มาแล้วในปี 2008 (2551)
อินเดียยังมีแผนพัฒนาด้านอวกาศต่อไป และจะส่ง มนุษย์อวกาศอินเดียคนแรกขึ้นสู่วงโคจรของโลก ในปี ค.ศ.2022 (2565) ถ้าสำเร็จ อินเดียจะเป็นชาติลำดับที่ 4 ของโลก รองจาก รัสเซีย สหรัฐอเมริกา จีน ที่ส่งมนุษย์ขึ้นสู่อวกาศ
ผู้เรียบเรียง จิรวรรณ ว่าวจังหรีด
ขอขอบคุณภาพจาก https://www.nasa.gov/image-feature/goddard/2019/obscured-in-the-lunar-highlands
ที่มาข้อมูล :
https://spaceth.co/indian-lunar-lander-lost-signal/
https://www.posttoday.com/world/599983