นักวิทยาศาสตร์เตือน! หายนะถิ่นที่อยู่พืชและสัตว์หายากนานาชนิด
เกาะแคงการู (Kangaroo Island) ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของออสเตรเลีย เผชิญวิกฤตไฟป่าที่กินพื้นที่กว่าครึ่งเกาะ หรือราว 4,400 ตารางกิโลเมตรเพลิงคร่าชีวิตสิ่งมีชีวิตและเผาผลาญถิ่นที่อยู่อาศัยและอาหารของสัตว์ป่าอย่างนับไม่ถ้วนของนกนานาชนิดนกกระตั้วเป็นตัวอย่างสำคัญที่ได้รับความกระทบอย่างมากนกกระตั้วเคยถูกประกาศให้เป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ (critically endangered with extinction) จนกระทั้ง ค.ศ.1995 โครงการอนุรักษ์นกกระตั้วที่ประสบความสำเร็จส่งผลให้เพิ่มจำนวนประชากรนกจาก 150 ตัวเป็นกว่า 400 ร้อยตัว และสถานภาพได้รับการปรับให้อยู่ในระดับอันตราย(endangered) “ความพยายามในการอนุรักษ์กว่าหลายสิบปี มลายไปกับกองเพลิง” เดเนียลลา ไทไซรา (Daniella Teixeira) นักชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ กล่าวถึงการทำงานอนุรักษ์ในพื้นที่อันห่างไกล “ณ เวลานี้ เหมือนเราก้าวถอยหลังยาวมากทีเดียว” เธอกล่าวสรุปถึงงานอนุรักษ์ที่เพียรพยายามในระยะสี่ปีที่ผ่านมา
เรื่องราวเช่นนี้เกิดขึ้นในอีกหลายพื้นที่ของประเทศ พืชและสัตว์เฉพาะถิ่นออสเตรเลียได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากไฟไหม้ป่าในหลายพื้นที่ของประเทศคริสโตเฟอร์ ติกค์แมน (Christopher Dickman) นักนิเวศวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประมาณการสัตว์ที่ถูกพรากชีวิตในสถานการณ์ไฟป่าราวหนึ่งพันล้านตัวซึ่งตัวเลขความสูญเสียอาจทบเท่าทวี
ตัวเลขดังกล่าวยังไม่ครอบคลุมถึงค้างคาว กบ หรือสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง อย่างแมลง หนอน หรือแมงมุม “สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังมีจำนวนมากถึงร้อยละ 95 ของสายพันธุ์สัตว์” ไมค์ ลี (Mike Lee) นักชีววิทยาประจำพิพิธภัณฑ์ออสเตรเลียใต้(South Australian Museum) ในเอเดอเลด (Adelaide) แสดงความวิตกกังวลว่าหากนับจำนวนสัตว์กลุ่มนี้ที่เสียชีวิตจากไฟป่า ตัวเลขคงสูงถึงสามพันล้านตัว
สำหรับโคอาลาที่ได้รับการช่วยเหลือในสื่อสังคมออนไลน์และข่าวต่างประเทศ เป็นอีกตัวอย่างของสิ่งมีชีวิตที่เผชิญกับการสูญเสียครั้งใหญ่
โคอาลาสามในสิบตัวหรือประมาณ 8,000 ตัว ตายไปกับกองเพลิงที่โหมกระหน่ำในรัฐตะวันออกของนิวเซาท์เวล เมื่อปลาย ค.ศ.2019
ในท้ายที่สุด ฝนที่ตกหนักครั้งใหญ่ดับเพลิงที่กินเวลายาวนานหลายเดือน แต่น้ำได้ชะล้างเถ้าและเขม่าลงสู่ แม่น้ำ ทะเลสาบ และมหาสมุทร และอาจส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำ“ธาตุอาหารจำนวนมากที่ไหลลงสู่แหล่งน้ำ” จะกลายเป็นธาตุอาหารให้กับสาหร่ายสีเขียว (algae) ที่แย่งก๊าซออกซิเจนในน้ำ คร่าชีวิตปลาและสิ่งมีชีวิตต่างๆ ชัวนา เมรเรย์ (Shuana Murray)
นักนิเวศวิทยาทางทะเล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีซิดนีย์และสถาบันวิจัยสมุทรศาสตร์ซิดนีย์ ออสเตรเลีย ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบจากไฟป่าที่ไม่ได้เกิดบนผืนดินเท่านั้นหากแต่ส่งผลกระทบต่อนิเวศวิทยาในน้ำเช่นกัน
ผู้เรียบเรียง ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ
Reference
https://www.sciencenewsforstudents.org/article/australian-fires-have-imperiled-up-to-100-species