ค้างคาวได้รับการกล่าวถึงอย่างมากในระยะที่โรคอุบัติใหม่อย่าง โควิด-19 กำลังแพร่ระบาดในเวลานี้ แต่เหตุใด ค้างคาวจึงสามารถดำรงชีวิตในขณะที่ตัวเป็น พาหะไวรัสที่เป็นอันตรายแก่ชีวิตมนุษย์

ค้างคาวได้รับการกล่าวถึงอย่างมากในระยะที่โรคอุบัติใหม่อย่าง โควิด-19 กำลังแพร่ระบาดในเวลานี้ แต่เหตุใด ค้างคาวจึงสามารถดำรงชีวิตในขณะที่ตัวเป็น พาหะไวรัสที่เป็นอันตรายแก่ชีวิตมนุษย์

29-04-2022
ค้างคาวได้รับการกล่าวถึงอย่างมากในระยะที่โรคอุบัติใหม่อย่าง โควิด-19 กำลังแพร่ระบาดในเวลานี้ แต่เหตุใด ค้างคาวจึงสามารถดำรงชีวิตในขณะที่ตัวเป็น  พาหะไวรัสที่เป็นอันตรายแก่ชีวิตมนุษย์

เชื้อโรคหลายชนิดที่แฝงอยู่ในค้างค้าวและก่อให้เกิดโรคติดต่อที่เป็นอันตรายถึงแก่ความตาย เช่น เชื้อโรคที่พัฒนาเป็น “อีโบรา” (Ebola) นิพาห์ (Nipah) และโรคที่ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจที่รุนแรง อย่าง “ซาร์ส” (SARS) งานวิจัยจำนวนหนึ่งชี้ให้เห็นถึงระบบภูมิคุ้มกันของค้างคาวสามารถปรับตัวต่อไวรัส

ร่างกายค้างคาวที่ได้รับเชื้อโรคสามารถจำกัดการทำงานของเชื้อโรคไม่ก่อให้เกิดอาการอักเสบ ขณะเดียวกัน ระบบการป้องกันดังกล่าวเพาะให้ไวรัสวิวัฒน์ตัวเองและแพร่กระจายไปยังเซลล์ต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว และแพร่ไปยังสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์อื่นที่ไม่มีภูมิคุ้มกันเช่นเดียวกับค้างคาว เหยื่อเหล่านั้นจะป่วยหนักในเวลาอันรวดเร็ว

เควิน โอลิวัล (Kenvin Olival) หนึ่งในนักนิเวศวิทยาโรคขององค์กรอีโคเอลธ์ (EcoHealth Alliance) สหรัฐฯ ที่มีภารกิจในการปกป้องสัตว์ป่าและสาธารณสุจจากโรคอุบัติใหม่ ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการวิจัย “เสมือนตัวต่อที่ทำให้เข้าใจถึงสาเหตุที่ไวรัสเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อมนุษย์และสัตว์” นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า

ค้างคาวเป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อโรคหลายชนิดสุ่มนุษย์ ในสหรัฐฯ ค้างคาวเป็นพาหะสำคัญของโรคพิษสุนัขบ้า ค้างคาวกินแมลงเป็นพาหะการแพร่โรคระบาดอีโบราในแอฟริกาตะวันตก ระหว่างค.ศ. 2014 กับ 2016 หรือค้างคาวผลไม้อียิปต์ (Egyptian fruit bat) เป็นพาหะมาร์เบิร์ก (Marburg virus) ไวรัสอีกสายพันธุ์หนึ่งที่เป็น

ต้นต่อของโรคที่คล้ายกับอีโบรา ค้างคาวอีกหลายชนิดที่เป็นแหล่งอาศัยของเชื้อโรคคล้ายกับซาร์ส รวมถึงค้างคาวที่เป็นพาหะของโรคโควิด-19 คารา บรุ๊ค (Cara Brook) และทีมวิจัย มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ทดลองนำไวรัสค้างคาวสองชนิด ได้แก่ อีโบราและมาร์เบิร์ก เพาะเชื้อกับเซลล์สามประเภท ได้แก่

หนึ่ง ลิงเขียวแอฟริกา ซึ่งไม่ขาดภูมิในการต่อสู้กับไวรัส, สองเซลล์จากค้าวคาวผลไม้อียิปต์ ที่มีภูมิคู้มกันตอบสนอง เฉพาะการติดเชื้อจากจุลชีพก่อโรค และสามเซลล์จากค้างคาวแม่ไก่ ที่ “ต่อสู้กับไวรัสอย่างต่อเนื่อง” กล่าวได้ว่าไวรัสในเซลล์ค้างคาวทั้งสองชนิดสามารถดำรงอยู่ ด้วยการอาศัยเซลล์ค้างคาวในการสำเนาตัวเองและกระจายต่อเนื่อง ฉะนั้น ภูมิคุ้มกันของค้างคาวในการต่อสู้กับไวรัสนี่เองกลายเป็นรูปแบบของการกระจายตัวและแพร่เชื้อโรคไปยังสายพันธุ์อื่นทั้งหลายทั้งปวง โอลิวัลชี้ให้เห็นว่า ค้างค้าวไม่ใช่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมเพียงชนิดเดียวที่เป็นแหล่งอาศัยของเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อสัตว์และมนุษย์ และคำถามสำคัญนั่นคือ สัตว์เหล่านั้นกลายเป็นแหล่งพาหะให้กับเชื้อโรคเหล่านั้นอย่างไร คงมีคำถามในการวิจัยที่ต้องหาคำตอบ เพื่อให้เราเท่าทันโรคอุบัติใหม่จากจุลชีพก่อโรคเหล่านี้

shutterstock 1636154326

 

ผู้เขียน

ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ

แหล่งที่มาของข้อมูล

  1. Brook et al. Accelerated viral dynamics in bat cell lines, with implications for zoonotic emergence. eLife. Published online February 3, 2020. doi: 10.7554/eLife.48401.

Erin Garcia de Jesus. Immune arms-race in bats may make their viruses deadly to people. Published online February 12, 2020, available from https://www.sciencenewsforstudents.org/article/immune-arms-race-in-bats-may-make-their-viruses-deadly-to-people