นักบรรพชีวินค้นพบละอองเรณูของพืชดอกยุคครีเตเชียสในอำพันแมลงจากเหมืองพม่า

นักบรรพชีวินค้นพบละอองเรณูของพืชดอกยุคครีเตเชียสในอำพันแมลงจากเหมืองพม่า

29-04-2022
นักบรรพชีวินค้นพบละอองเรณูของพืชดอกยุคครีเตเชียสในอำพันแมลงจากเหมืองพม่า

คณะนักวิจัยจาก Nanjing Institute of Geology and Palaeontology, Chinese Academy of Sciences ค้นพบละออกเรณูของพืชดอกโบราณในอำพันของด้วงปีสั้นในสกุล Pelretes จัดอยู่ในวงศ์ Kateretidae ซึ่งเป็นแมลงผสมเกสรที่ปรากฏอยู่ในกลางยุคครีเตเชียส หรือประมาณ 98.17 ล้านปีมาแล้ว

ละอองเรณูของของพืชดอกโบราณจัดอยู่ในสกุล Tricolpopollenites ปรากฏอยู่บนตัวและกองมูลในอำพันด้วงปีกสั้น  ที่มีแหล่งขุดค้นมาจากเหมืองในหุบเขาฮูกอง รัฐคะฉิ่น ทางตอนเหนือของประเทศพม่า จากการค้นพบนี้เป็นหลักฐานสนับสนุนว่า แมลงมีความมีส่วนช่วยในการผสมเกสรดอกไม้ให้กับพืชมาตั้งแต่ยุคโบราณซึ่ง เป็นความสัมพันธ์ระหว่างด้วงปีกสั้นกับพืชดอกที่มีความเก่าแก่ที่สุดในยุคครีเตเชียส

ไช่ เฉินหยาง หนึ่งในทีมวิจัยกล่าวว่า ฟอสซิลดังกล่าว มีคอปโปรไลต์ (Coprolite) หรือ “กองมูลด้วงดำบรรพ์” รูปทรงกระบอก 2 ชิ้น ประกอบด้วยละอองเรณูเป็นหลัก ส่วนตัวด้วงมีลักษณะกายวิภาคคล้ายคลึงกับแมลงยุคใหม่ ทำหน้าที่ผสมเกสรพืชดอกเมื่อราว 100 ล้านปีก่อน (สำนักข่าวซินหัว)

ปัจจุบันมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนฟอสซิลอำพันอย่างผิดกฎหมาย  เนื่องจากมีการลักลอบขุดจากเหมืองแร่เถื่อนในประเทศพม่า รวมทั้งปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนในการใช้แรงงาน ทำให้เหมืองบางแห่งในประเทศพม่าได้มีการปิดตัวลงไป อย่างไรก็ตามตัวอย่างอำพันแมลงจากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ได้มาอย่างถูกต้อง ตรวจสอบแหล่งที่มาได้ ซึ่งคณะนักวิจัยได้ตัวอย่างมาตั้งแต่ปี 2016  ก่อนที่จะมีปัญหากันระหว่างกองกำลังชนกลุ่มน้อยและรัฐบาล

ข้อมูลเพิ่มเติม ผลการศึกษาวิจัยนี้ได้ตีพิมพ์ครั้งแรก ในนิตยสาร Nature Plant ,12 April 2021

a, Amber piece with P. vivificus, showing eudicot pollen aggregations and coprolites. b, Pollen aggregation close to P. vivificus under confocal laser scanning microscopy. c, Coprolite composed of eudicot pollen under confocal laser scanning microscopy. d, Coprolite composed of eudicot pollen located closer to P. vivificus. e, Detail of the pollen-containing coprolite under confocal laser scanning microscopy. f, Detail of eudicot pollen grains in aggregation under confocal laser scanning microscopy. g, Detail of the eudicot

ที่มาของภาพ https://www.nature.com/articles/s41477-021-00893-2/figures/2

ที่มาของแหล่งข้อมูล

Tihelka, E., Li, L., Fu, Y. et al. Angiosperm pollinivory in a Cretaceous beetle. Nat. Plants 7, 445–451 (2021). https://doi.org/10.1038/s41477-021-00893-2

https://www.xinhuathai.com/china/193295_20210415

https://www.khaosod.co.th/newspaper/newspaper-inside-pages/news_6339142

คำค้น (Tags) ฟอสซิล,ละอองเรณู,ครีเตเชียส,ด้วงปีกสั้น,พืชมีดอก

ผู้เขียน  วิสูจน์  สุพงษ์

บรรณาธิการ (วิชาการ) : สุชาดา คำหา

บรรณาธิการ (ภาษา) : สุชาดา. คำหา

ผู้อนุมัติเผยแพร่ (หัวหน้ากองขึ้นไป) : ภานุมาส จันทร์สุวรรณ