ภาพโดย Kai Dahms เผยแพร่บน Unsplash
เป็นที่ทราบกันดีว่า ภาคอุตสาหกรรม และการเกษตร เป็นแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกขนาดใหญ่ของโลก ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 วารสารวิทยาศาสตร์ออนไลน์ชีวธรณีเคมี รายงานว่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของต้นไม้ในป่าชายเลนในรัฐนอร์ทแคโรไลนา ประเทศสหรัฐอเมริกา อาจผลิตก๊าซเรือนกระจกมากถึง 1 ใน 5 ของก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดของโลก
โลกให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น พื้นที่สีเขียวถูกน้ำเค็มเข้าท่วม ส่งผลให้ต้นไม้ที่อยู่บริเวณชายฝั่งที่ไม่สามารถทนความเค็มของน้ำทะเลทำให้มันยืนต้นตาย และการที่มันตายทำให้มันไม่สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อีกต่อไป นอกจากนี้จุลินทรีย์ในดินจะเริ่มย่อยสลายต้นไม้ที่ตายเหล่านี้ ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกประเภทอื่นอีกด้วย ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนาได้วัดปริมาณก๊าซเรือนกระจก เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4) และไนตรัสออกไซด์ (N2O) ที่ปลดปล่อยจากป่าเสื่อมโทรม 5 แห่งบริเวณคาบสมุทรแอลเบอมาร์ล-แพมลิโค (Albemarle-Pamlico Peninsula) พบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ที่มีต้นไม้ยืนต้นตายปล่อยก๊าซมากที่สุด โดย 1 ใน 4 ของก๊าซที่ปล่อยออกมาเป็นก๊าซเรือนกระจก
ถึงแม้ว่าในระยะยาว พื้นที่ชุ่มน้ำนี้จะเป็นสถานที่ดูดซับคาร์บอนที่ดี แต่ในระยะสั้น ป่าเสื่อมโทรมเหล่านี้กลับเป็นหนึ่งในแหล่งผลิตก๊าซเรือนกระจกที่ทีมนักวิจัยกำลังทำความเข้าใจภาพรวมของการปล่อย และกระจายตัวของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โลก หรือที่เรียกกันว่า “งบประมาณคาร์บอนทั่วโลก” (Global Carbon Budget) ซึ่งจะช่วยเชื่อมโยงการกระทำของมนุษย์ กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสนับสนุนนโยบายต่าง ๆ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
เรียบเรียงโดย นุชจริม เย็นทรวง กองวิชาการวิทยาศาสตร์ สำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ อพวช
แหล่งที่มา :
“Tree farts’ contribute about a fifth of greenhouse gases from ghost” ออนไลน์]. 2564, แหล่งที่มา forests. https://www.sciencenews.org/article/ghost-forest-tree-farts-emissions-greenhouse-gases [21 พฤษภาคม 2564]