อู่ตะเภา ร่วมกับ AIS ขยายเวลาทดลองใช้ หุ่นยนต์ AI รองรับ 5G

อู่ตะเภา ร่วมกับ AIS ขยายเวลาทดลองใช้ หุ่นยนต์ AI รองรับ 5G

29-04-2022
อู่ตะเภา ร่วมกับ AIS ขยายเวลาทดลองใช้ หุ่นยนต์ AI รองรับ 5G

มื่อวันที่ 29 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา การท่าอากาศยานอู่ตะเภา และ เอไอเอส ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ขยายการพัฒนาอีกขั้นของ Smart Airport Terminal ทดลองใช้ 5G และ หุ่นยนต์ AI เพื่อยกระดับการให้บริการท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ระยอง พัทยา ณ อาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ให้เป็นอาคารผู้โดยสารอัจฉริยะ ต่อเนื่องจาการเริ่มต้นพัฒนาตั้งแต่กันยายน 2561 เพื่อรองรับโครงการต้นแบบพัฒนาอาคารผู้โดยสารในสนามบินที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต เตรียมพร้อมตามแผนเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก EEC ภายใต้นโยบาย Thailand 4.0 รองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ การลงทุน อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการขนส่ง และรองรับเทคโนโลยี 5G ที่กำลังจะมาถึง

ที่ผ่านมา เอไอเอส ได้ร่วมพัฒนาโซลูชันส์ Smart Airport Terminal มาตั้งแต่ปี 2561 และเปิดให้บริการดิจิทัลไปแล้ว 2 ระบบ คือ
1. แอปพลิเคชัน Thailand Smart Airport บริการข้อมูลด้านการบินและสนามบินหลากหลายในแอปฯ เดียว
2. เทคโนโลยีระบบวิเคราะห์และประมวลผลภาพวิดีโออัจฉริยะ ใช้เป็นระบบตรวจจับและรับรู้ใบหน้าบุคคลและสิ่งของในพื้นที่อาคารสนามบิน, ตรวจจับวัตถุต้องสงสัย แจ้งเตือนกรณีมีวัตถุถูกวางทิ้งไว้เป็นเวลานานผิดปกติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านระบบรักษาความปลอดภัย ผ่านหุ่นยนต์อัจฉริยะ AI (Artificial Intelligence) และในการขยายความร่วมมือครั้งนี้เพื่อพัฒนาอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ให้เกิดความพร้อมสู่การเป็นสนามบินพาณิชย์แห่งที่ 3 ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศ และส่งเสริมเขตเศรษฐกิจพิเศษ รวมทั้งการเชื่อมโยงผู้โดยสารกับสนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิ และเป็น Aviation Hub หลักของภูมิภาคอีกด้วย

 

ที่มารูปภาพ

[1]https://www.nationtv.tv/main/content/378759805/?utm_source=bangkokbiznews&utm_medium=relate_solr

 

ข้อมูลอ้างอิง

[1]“ทดลองใช้5G หุ่นยนต์AI” [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.nationtv.tv/main/content/378759805/?utm_source=bangkokbiznews&utm_medium=relate_solr ค้นเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2563
[2]“ทดลองใช้5G หุ่นยนต์AI” [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1926891 ค้นเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2563

 

ผู้เขียน นางสาวจุฬาลักษณ์ คำแก้ว นักวิชาการ
พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ