สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เตือนเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน ช่วงวันที่ 18–25 พ.ค. นี้ ครอบคลุมพื้นที่ 26 จังหวัด ในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ เหตุจากฝนตกหนักต่อเนื่อง
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้วิเคราะห์สถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศและประกาศเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก ช่วงวันที่ 18–25 พ.ค. 67 ในพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังระบายไม่ทันของภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ประกอบด้วย
ภาคเหนือ
จ.เชียงใหม่ (อ.ฝาง อมก๋อย จอมทอง)
จ.แม่ฮ่องสอน (อ.เมืองแม่ฮ่องสอน แม่สะเรียง สบเมย)
จ.ลำปาง (อ.เกาะคา เถิน แม่พริก)
จ.ลำพูน (อ.เมืองลำพูน)
จ.อุตรดิตถ์ (อ.ตรอน)
จ.ตาก (อ.ท่าสองยาง แม่ระมาด)
จ.สุโขทัย (อ.เมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัย)
จ.น่าน (อ.ปัว บ่อเกลือ เชียงกลาง ทุ่งช้าง ท่าวังผา เฉลิมพระเกียรติ สองแคว)
จ.แพร่ (อ.วังชิ้น)
จ.พิษณุโลก (อ.นครไทย เนินมะปราง)
จ.เพชรบูรณ์ (อ.เมืองเพชรบูรณ์ เขาค้อ)
ภาคตะวันออก
จ.ชลบุรี (อ.เมืองชลบุรี ศรีราชา)
จ.ระยอง (อ.เมืองระยอง)
จ.จันทบุรี (อ.เมืองจันทบุรี มะขาม ขลุง โป่งน้ำร้อน)
จ.ตราด (อ.เมืองตราด เขาสมิง บ่อไร่)
ภาคใต้
จ.ชุมพร (อ.ท่าแซะ และพะโต๊ะ)
จ.ระนอง (อ.เมืองระนอง กะเปอร์ ละอุ่น สุขสำราญ กระบุรี)
จ.พังงา (อ.เมืองพังงา คุระบุรี ตะกั่วป่า กะปง ท้ายเหมือง)
จ.ภูเก็ต (อ.เมืองภูเก็ต กะทู้ ถลาง)
จ.กระบี่ (อ.เมืองกระบี่ เขาพนม อ่าวลึก คลองท่อม ปลายพระยา เกาะลันตา)
จ.สุราษฎร์ธานี (อ.เมืองสุราษฎร์ธานี พนม บ้านตาขุน เกาะพะงัน)
จ.สตูล (อ.เมืองสตูล ควนโดน ควนกาหลง ทุ่งหว้า มะนัง)
จ.ตรัง (อ.เมืองตรัง ปะเหลียน นาโยง กันตัง ห้วยยอด หาดสำราญ รัษฎา วังวิเศษ)
จ.พัทลุง (อ.ป่าบอน ตะโหมด)
จ.สงขลา (อ.สะเดา)
จ.นครศรีธรรมราช (อ.ช้างกลาง พิปูน ฉวาง ทุ่งใหญ่ ถ้ำพรรณรา)
การวิเคราะห์ปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบนี้มาจากการคาดการณ์ฝนฟ้าคะนองต่อเนื่อง โดยวันที่ 18 – 19 พ.ค. 67 จะมีลมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้มีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่ง และจะมีกำลังแรงขึ้นในช่วงวันที่ 20 - 22 พ.ค. 67 พร้อมกับจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณอ่าวมะตะบัน สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ทำให้มีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในด้านตะวันตกของภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
พื้นที่เสี่ยงภัยสามารถเตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วมฉับพลันได้ โดยติดตามข่าวสารสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด ได้ที่ เพจสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือการประกาศแจ้งเตือนภัยที่แอปพลิเคชัน “Thai Disaster Alert” ยกของขึ้นบนที่สูง เตรียมหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน เรียนรู้เส้นทางการอพยพ เตรียมอาหารแห้ง น้ำดื่ม ยารักษาโรคและสิ่งของจำเป็นให้พร้อม เตรียมกระสอบทรายกันน้ำ นำรถยนต์และพาหนะไปจอดในที่น้ำท่วมไม่ถึง ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าและตัดวงจรไฟฟ้า หลีกเลี่ยงเส้นทางน้ำหลาก และศึกษาแผนฉุกเฉินของพื้นที่
แหล่งที่มาของข่าว
https://www.thaipbs.or.th/news/content/340017
https://www.hfocus.org/content/2021/09/23227
ผู้เรียบเรียง
แก้วนภา โพธิ
นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ