หลักฐานซากดึกดำบรรพ์เผยให้เห็นว่าไดโนเสาร์กินพืชช่วยแพร่กระจายเมล็ดพันธุ์พืชที่กินเข้าไปได้ไกลถึง 30 กิโลเมตร ส่งผลให้ระบบนิเวศในยุคก่อนประวัติศาสตร์มีความซับซ้อนมากขึ้น
เมื่อปลายเดือนธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา วารสารวิชาการ Biology Letters ได้ตีพิมพ์ข้อมูลจากหลักฐานซากดึกดำบรรพ์เมล็ดพืชสภาพสมบูรณ์ภายในกระเพาะอาหารไดโนเสาร์บ่งชี้ว่าไดโนเสาร์
กินพืชเป็นตัวช่วยแพร่กระจายพันธุ์พืชในโลกยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยศาสตราจารย์จอร์จ เพอร์รี จากวิทยาลัยสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยโอ๊คแลนด์ ได้ศึกษาการแพร่กระจายเมล็ดพันธุ์พืช
ด้วยการรวบรวมข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักตัวความเร็วในการเดินของไดโนเสาร์กินพืชกลุ่มต่าง ๆ และความถี่ในการถ่ายอุจจาระ เช่น ไทรเซอราทอปส์ที่มีน้ำหนักตัว 8 – 10 ตัน สามารถ
เดินทางด้วยความเร็ว25 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีโอกาสแพร่กระจายเมล็ดพันธุ์โดยเฉลี่ยได้ไกล 4 ถึง 5 กิโลเมตรและในบางกรณีไกลถึง 30 กิโลเมตรจากต้นแม่พันธุ์ แต่ปริมาณการแพร่กระจายยังคง
ต้องทำการศึกษาเพิ่มเติมอีกต่อไป การศึกษารูปแบบการแพร่กระจายพันธุ์พืชเป็นที่สนใจของนักวิทยาศาสตร์เพราะเป็นปัจจัยที่ส่งผลทำให้เกิดความหลากหลายในระบบนิเวศ
โดยเฉพาะระบบนิเวศบรรพกาลยุคไดโนเสาร์ที่ต้องอาศัยหลักฐานจากซากดึกดำบรรพ์ในการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งศึกษาครั้งนี้เป็นการช่วยยืนยันถึงบทบาทของไดโนเสาร์นอกเหนือจากการเป็นแค่ผู้บริโภคหากแต่ยังเป็นผู้แพร่กระจายพันธุ์หรือเรียกได้ว่าเป็นเครื่องหว่านเมล็ดพันธุ์พืชอีกประเภทหนึ่ง
ผู้เขียน นายศักดิ์ชัย จวนงาม
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารวิทยาศาสตร์ อพวช.
ที่มาของภาพ https://image.shutterstock.com/image-illustration/triceratops-eating-magnolia-tree-next-600w-298739543.jpg
ที่มาของแหล่งข้อมูล (Reference)
How giant dinosaurs may have spread seeds in prehistoric world By Paul Panckhurst -JANUARY 6, 2021 https://phys.org/news/2021-01-giant-dinosaurs-seeds-prehistoric-world.html
Perry George L. W.. 2021 How far might plant-eating dinosaurs have moved seeds?. Biol. Lett. 17:20200689. http://doi.org/10.1098/rsbl.2020.0689