กรมประมงแจ้งเตือนกินหมึกบลูริงหรือหมึกสายวงสีน้ำเงิน อันตรายถึงตาย

กรมประมงแจ้งเตือนกินหมึกบลูริงหรือหมึกสายวงสีน้ำเงิน อันตรายถึงตาย

29-04-2022
กรมประมงแจ้งเตือนกินหมึกบลูริงหรือหมึกสายวงสีน้ำเงิน อันตรายถึงตาย

หลังจากที่มีข่าวชาวบ้านพบหมึกที่มีหน้าตาและสันสะดุดตาปะบนกับหมึกสายที่วางขายตามท้องตลาดมากขึ้น
ทางกรมประมงจึงได้ออกมาแจ้งเตือนประชาชนเกี่ยวกับอันตรายของหมึกบลูริงหรือหมึกสายสีน้ำเงินเนื่องจากเป็นหมึกที่มีพิษรุนแรงมาก
หากไม่สังเกตให้ดีและนำมารับประทานจะทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ 

              นายวิชาญ องศรีสว่าง อธิบดีกรมประมง และ นักวิชาการประมง ได้แจ้งเตือนและให้ข้อมูลเกี่ยวกับการพบหมึกบลูริงหรือหมึกสายวงสีน้ำเงิน
(Blue-ringed Octopus: Hapalochlaena spp)  ว่าสามารถพบได้ทั้งในทะเลอ่าวไทย และทะเลฝั่งอันดามัน  โดยหมึกบลูริงจะมีลักษณะลำตัวขนาดเล็ก
มีลายวงแหวนสีฟ้าสะท้อนแสงเล็กๆ กระจายอยู่ตามลำตัวและหนวด ตัวเต็มวัยมีขนาด 4-5 เซนติเมตร และหนวดยาวประมาณ 15 เซนติเมตร
อาศัยอยู่ตามซอกหินและชอบหลบซ่อนตัวอยู่ในทรายใต้ท้องทะเล เคลื่อนที่โดยการใช้หนวดเดินจะไม่ใช้การพ่นน้ำเพื่อพุ่งตัวในการเคลื่อนที่เหมือนหมึกกล้วย
พิษของหมึกบลูริงหรือหมึกสายสีน้ำเงินมีชื่อว่า Maculotoxin(มาคูโลทอกซิน) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับพิษของปลาปักเป้าที่มีชื่อว่า Tetrodotoxin(เทโทรโดทอกซิน)
สามารถพบพิษนี้ได้ในต่อมน้ำลาย (Salivary gland) ปาก หนวด ลำไส้ และต่อมหมึก พิษชนิดนี้จะทำลายระบบประสาททำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้
และทำให้เหยื่อตายหรือเป็นอัมพาต ผู้ที่ถูกหมึกบลูริงกัดเปรียบเหมือนการฉีดยาพิษเข้าเส้นเลือดโดยตรง โดยพิษจะออกฤทธิ์อย่างรวดเร็ว
และเร็วกว่าพิษจากปลาปักเป้า อาการเริ่มแรกของผู้ที่ถูกกัดหรือกินหมึกบลูริงเข้าไปจะมีอาการคลื่นไส้ ตาพร่าเลือน มองไม่เห็น ประสาทสัมผัสไม่ทำงาน
พูดหรือกลืนน้ำลายไม่ได้ จากนั้นจะเป็นอัมพาตและหยุดหายใจเนื่องจากสมองขาดออกซิเจน หากไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีจะทำให้ตายในที่สุด 

 

 

 shutterstock 88209211

 

 

              ทั้งนี้ คนทั่วไปจะมีโอกาสโดนกัดน้อยมาก ผู้ที่ถูกหมึกบลูริงกัดส่วนใหญ่จะเป็นนักดำน้ำที่เจอหมึกที่มีสีสันสวยงามแล้วเข้าไปจับจนหมึกตกใจเกิดอาการเครียด
และป้องกันตัวโดยการกัดผู้ที่สัมผัสหรือจับหมึกนั้น ซึ่งหมึกชนิดนี้เป็นหมึกที่กรมประมงไม่อนุญาตให้นำเข้าตามบัญชีแนบท้ายพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้นำสัตว์น้ำ
บางชนิดเข้ามาในราชอาณาจักร พศ. 2547 แต่ก็ยังมีการนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์สวยงามในประเทศสหรัฐและยุโรป รวมถึงประเทศไทยด้วย

นำเสนอโดย ศูนย์ข้อมูลข่าวสารวิทยาศาสตร์ อพวช.
นางสาววรภร ฉิมมี

 

ที่มาhttps://www.mcot.net/viewtna/5e0f15a0e3f8e40af840cdfe

Linkที่เกี่ยวข้อง

https://www.komchadluek.net/news/agricultural/408323