นักวิทยาศาสตร์เรียกร้องให้มีการเปิดเผยข้อมูลพันธุกรรมของโวรัสโคโรนา

นักวิทยาศาสตร์เรียกร้องให้มีการเปิดเผยข้อมูลพันธุกรรมของโวรัสโคโรนา

29-04-2022
นักวิทยาศาสตร์เรียกร้องให้มีการเปิดเผยข้อมูลพันธุกรรมของโวรัสโคโรนา

นักวิทยาศาสาตร์หลายร้อยคนได้ลงทะเบียนรับรองจดหมายเปิดผนึกลงวันที่ 29 มกราคม 2564 โดยมีเนื้อหาเรียกร้องให้ร่วมกันเปิดเผยข้อมูลพันธุกรรมของโวรัสโคโรนาเพื่อช่วยเร่งการตอบสนองต่อภาวะโรคระบาดอย่างทันท่วงที

แม้ว่าฐานข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบันอย่าง GISAID จะมีข้อมูลดิบทางพันธุกรรมของโคโรน่าไวรัสกว่า 450,000 จีโนม มากจน Soumya Swaminathan หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ประจำองค์การอนามัยโลกหรือ WHO ออกมายกย่องว่าเป็น”ตัวเปลี่ยนเกมส์”ในการต่อสู่กับโรคระบาดครั้งนี้ แต่นโยบายการเปิดเผยข้อมูลแบบที่ผู้เข้าถึงข้อมูลต้องยืนยันตัวตนเมื่อต้องการข้อมูลและต้องรอการอนุญาติจากเจ้าของข้อมูลเมื่อก่อนการเสนอผลงาน ทำให้การเข้าถึงข้อมูลเพื่อตรวจสอบหรือสร้างความรู้ต่อยอดเป็นไปได้อย่างไม่รวดเร็วเท่าที่ควร

หากแต่เหรียญอีกด้านคือ นโยบายการเปิดเผยแบบมีเงื่อนไขนี้จะช่วยให้เกิดการเปิดเผยข้อมูลอย่างรวดเร็วดังจะเห็นได้จาก เหตุการณ์การระบาดของไข้หวัดนกในปี 2013 ที่ทางจีนได้เปิดเผยข้อมูลทางพันธุกรรมของไวรัส H7N9 ในวันเดียวกับที่แจ้งการค้นพบคนไขสามคนให้กับองค์การอนามัยโลก เงื่อนไขในการเปิดเผยเหล่านี้ช่วยลดความกังวลใจให้กับกลุ่มนักวิจัยที่ไม่มีทรัพยากรในการคำนวนมากนักที่อาจจะไม่อยากเปิดเผยข้อมูลที่ยังไม่ได้ทำการวิเคราะห์เรียบร้อยแล้ว เพราะพวกเขาอาจไม่ได้รับเครดิตจากผลงานดังกล่าว

ถึงแม้ว่าเรื่องของการเปิดเผยข้อมูลจะไม่ได้เป็นเพียงแค่ปัญหาทางวิทยาศาสตร์แต่มีมิติทางสังคมยึดโยงอยู่ด้วยก็ตาม นโยบายที่เหมาะสมจากทุกมิติจึงไม่น่าจะถึงที่ยุติกันในเร็ววันนี้ แต่ในจดหมายเปิดผนึกยังมีคำแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการให้ข้อมูลพันธุกรรมของตัวท่านเองถูกเปิดเผยอย่างไม่มีเงื่อนไขเพื่อผลประโยชน์สูงสุดต่อมนุษยชาติในสภาวะแบบนี้ ท่านสามารถทำได้ทันทีโดยการนำข้อมูลทางพันธุกรรมโคโรนาไวรัสของท่านเข้าร่วมในฐานข้อมูลของ International Nucleotide Sequence Database Collaboration (INSDC)




ที่มารูปภาพ:

[1] Open letter: Support data sharing for COVID-19 : COVID-19 Data Portal
 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง :

[1] Richard Van Noorden, Nature news, 03/02/2021, doi: https://doi.org/10.1038/d41586-021-00305-7


เรียบเรียง: ฐิติ สิริธนากร 
ตรวจทาน: วรรณวจี สุจริตธรรม
กองวิชาการเทคโนโลยีและนวัตกรรม สำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ