ขยะพลาสติกชิ้นเล็กๆ ที่ถูกสะสมมาอย่างยาวนานบริเวณผิวมหาสมุทร

ขยะพลาสติกชิ้นเล็กๆ ที่ถูกสะสมมาอย่างยาวนานบริเวณผิวมหาสมุทร

29-04-2022
ขยะพลาสติกชิ้นเล็กๆ ที่ถูกสะสมมาอย่างยาวนานบริเวณผิวมหาสมุทร

ในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอน มองไปทางไหนก็จะเห็นแต่สิ่งของที่ทำมาจากสารสังเคราะห์พลาสติก ไม่ว่าแปรงสีฟัน นาฬิกาปลุก ขวดน้ำ ถุงพลาสติก โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ ทุกสิ่งล้วนมีส่วนประกอบของสารเคมีและวันหนึ่งก็จะแตกสลายย่อยเป็นผงเล็กมากจนมองไม่เห็น หรือที่เรียกว่า ไมโครพลาสติก กระจายอยู่ทุกหนทุกแห่ง ไม่ว่าในอากาศ แหล่งน้ำ หรืออยู่ในอาหาร ผัก ผลไม้ เนื้อปลา ฯลฯ แต่ที่น่ากังวลก็คือยังไม่รู้ว่ามันมีผลเสียต่อระบบนิเวศอย่างไร
อะไรคือ “ไมโครพลาสติก”

ScienceNews2


National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) ของสหรัฐ ให้คำอธิบายว่า หมายถึงพลาสติกจิ๋วที่มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร เรื่อยไปจนถึงขนาดที่สายตามองไม่เห็นในระดับ 1 นาโนเมตร


โดยแหล่งกำเนิดขยะพลาสติกเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ทั้งสิ้น ปัจจุบันพบว่าประเทศไทยมีการทิ้งขยะพลาสติกลงสู่ทะเลมากที่สุดอยู่ในลำดับที่ 4 ของโลก ขณะที่รายงานของ ScienceNews น่าสนใจมาก นักดำน้ำพบถุงพลาสติก เปลือกลูกอม บริเวณร่องน้ำลึก Mariana Trench และพบว่าไมโครพลาสติกได้แพร่กระจายไปยังชายฝั่งของแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นขยะทั่วไปที่อยู่ลึกลงไปหลายร้อยเมตรจากผิวน้ำ ทั้งนี้ได้มีการใช้ยานพาหนะใต้น้ำ โดยนักวิจัยได้เก็บตัวอย่างไมโครพลาสติกในอ่าวมอนเทอเรย์ ที่ระดับความลึก 5 – 100 เมตร

โดยมีการตรวจวัดมลพิษในอ่าว จากตัวอย่างปูแดง 24 ตัว และสัตว์จำพวกครัสเตเชียน (สัตว์จำพวก กุ้ง กั้ง ปู) จำนวน 8 ตัว ซึ่งสัตว์ทั้งสองชนิดนี้จะกินอินทรียสารที่มีขนาดเดียวกับไมโครพลาสติกเข้าไป โดยความเข้มข้นของอนุภาคที่ระดับความลึก 1,000 เมตร มีอยู่อย่างเบาบางเช่นเดียวกับที่ระดับความลึก 5 เมตร โดยเฉลี่ยประมาณ 3 อนุภาคต่อลูกบาศก์เมตร ขณะที่พลาสติกในน้ำที่ระดับความลึก 200 – 600 เมตร จะมีความเข้มข้นมากกว่า ประมาณ 10 - 15 อนุภาคต่อลูกบาศก์เมตร การวิเคราะห์ทางเคมีของอนุภาคเหล่านี้ ถูกเปิดเผยว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ใช้พลาสติกจำพวก ขวดน้ำ บรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ และสิ่งทอ ส่วนพลาสติกที่ถูกใช้ในการทำเครื่องมือประมง ซึ่งเป็นแหล่งของกองขยะขนาดใหญ่ที่เป็นปัญหามลพิษทางทะเลจะพบได้น้อยกว่ามาก ทั้งนี้สัตว์จำพวกครัสเตเชียนขนาดใหญ่ และสัตว์ทะเลจำพวกปูแดงก็ได้รับไมโครพลาสติกนี้เช่นกัน Anela Choy, a biological oceanographer at the Scripps Institution of Oceanography in La Jolla, Calif กล่าวว่า อนุภาคเหล่านี้-จะถูกเป็นอาหารและแพร่กระจายปนเปื้อนไปยังสัตว์ที่เป็นผู้ล่า เช่น จากปลาทูน่าไปยังเต่าทะเล

ดังนั้น จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ที่จะศึกษาแบบจำลองที่ระดับความลึกและภูมิภาคที่แตกต่างกันทั่วโลก โดยจะต้องทำความเข้าใจที่ในเรื่องการแพร่กระจายของไมโครพลาสติกใต้ท้องทะเลลึกและจะต้องช่วยกันกำหนดนโยบายและมาตรการเรื่องการจัดการขยะใต้ท้องทะเลต่อไป ทั้งนี้มนุษย์เราในฐานะผู้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเล จึงควรมีการรณรงค์ให้ ลด ละ เลิก การใช้พลาสติกและการทิ้งขยะซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ และหันมาใส่ใจให้ความสำคัญและอนุรักษ์ทรัพยากรให้คงอยู่ไว้ตราบนานที่สุด

ภาพจาก: https://www.sciencenews.org/article/mirco-plastic-debris-accumulating-far-beneath-ocean-surface
Link ที่เกี่ยวข้อง: https://www.sciencenews.org/article/mirco-plastic-debris-accumulating-far-beneath-ocean-surface
http://www.eric.chula.ac.th/download/zwaste/Thon.pdf

ผู้เขียน: นายสัตตะพงศ์ ชอบกตัญญู