ชาร์จได้ก็บิดได้! นักวิจัยคิดค้น แบตเตอรี่ชนิดบาง

ชาร์จได้ก็บิดได้! นักวิจัยคิดค้น แบตเตอรี่ชนิดบาง

29-04-2022
ชาร์จได้ก็บิดได้! นักวิจัยคิดค้น แบตเตอรี่ชนิดบาง

วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2020 วารสาร Nature Energy นำเสนอผลงานวิจัยของ ดร. หลี่ ชวงหนาน และคณะนักวิทยาศาสตร์จากภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน (University College London) ซึ่งค้นพบวิธีสร้างอุปกรณ์เก็บประจุยิ่งยวด (Supercapacitor) จากวัสดุประเภทกราฟีน (Graphene) ซึ่งมีคุณสมบัติความหนาแน่นของการเก็บประจุพลังงานที่เพิ่มมากขึ้น สามารถกักเก็บพลังงานไฟฟ้าได้มากขึ้นในขนาดที่เล็กและบางลง โดยสามารถเก็บพลังงานได้มากถึง 88.1 Wh/L (วัตต์-ชั่วโมง ต่อ ลิตร) ซึ่งถือว่ามากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับตัวเก็บประจุประยิ่งยวดแบบคาร์บอนอื่น ๆ (Carbon-Based Supercapacitor)

นอกจากนั้นแบตเตอรี่ชนิดนี้ยังสามารถบิดงอได้มากกว่า 180 องศา โดยไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน และไม่มีส่วนประกอบของสารอิเล็กโทรไลต์แบบแบตเตอรี่ธรรมดา จึงลดความเสี่ยงต่อการระเบิดเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภายนอกของภาชนะบรรจุอย่างกะทันหัน

มีการคาดการณ์ว่าการค้นพบครั้งนี้จะเพิ่มความเป็นไปได้ในการพัฒนาแบตเตอรี่หรืออุปกรณ์กักเก็บพลังงานในรูปแบบที่หลากหลายมากยิ่งขึ้นอย่างก้าวกระโดด ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาแบตเตอรี่สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์อัจฉริยะเพื่อการสวมใส่ (Wearable Technology) ในยุคต่อไป

20200303 2

ที่มารูปภาพ
[1]https://www.ucl.ac.uk/news/2020/feb/fast-charging-long-running-bendy-energy-storage-breakthrough

ข้อมูลอ้างอิง
[1]O'Neill, M. (2020, February 20). Next-Generation Energy Storage Breakthrough: Fast-Charging, Long-Running, Flexible. Retrieved from https://scitechdaily.com/next-generation-energy-storage-breakthrough-fast-charging-long-running-flexible/

เขียนโดย นายวชิรพันธ์ เจริญเวช นักวิชาการ5 กองวิชาการ
พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ องค์การพิพิธภัณฑ์วิยาศาสตร์แห่งชาติ

ข่าวสารที่่คล้ายกัน