เมื่อปี พ.ศ. 2560 มีเรื่องราวหน้ายินดีในวงการสัตว์ป่า เรื่องหนึ่ง คือการพบเสือกระต่าย ในป่าธรรมชาติบริเวณอำเภออมก๋อย จ.เชียงใหม่ โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ได้มีนักวิจัยจากสถานีวิจัยสัตว์่ป่าดอยเชียงดาวเข้าไปติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพและพบเสือกระต่ายทั้งเพศผู้และเพศเมีย ซึ่งการพบเห็นครั้งนี้นับเป็นรายงานล่าสุดในรอบ 40 ปีเลยทีเดียว
เสือกระต่าย /แมวป่า ชื่อวิทยาศาสตร์ Felis Chaus fulvidina ชื่อสามัญ Jungle Cat
ลักษณะของเสือกระต่าย เป็นสัตว์ที่มีลักษณะคล้ายแมวบ้าน แต่มีขนาดลำตัวใหญ่ ขายาวกว่าแมวบ้านเล็กน้อยจึงทำให้มีความว่องไวในการจับเหยื่อ ขนที่ปลายหูเป็นพู่สีดำ มีลวดลายที่ขาบ้างบางตัว
เรามาไขข้อข้องใจการค้นพบได้ยาก โดยจากข้อคิดเห็นของ ดร.โดม ประทุมทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งได้อธิบายถึงการพบเจ้าเสือกระต่ายได้ยากนั้น เป็นเรื่องปกติพื้นที่ธรรมชาติในประเทศไทย เพราะแท้จริงแล้วศูนย์กลางการกระจายพันธุ์ของเสือกระต่ายนั้น อยู่ที่ประเทศอินเดียพบได้มากทางแถบเอเชียใต้ ในขณะที่ประเททศไทยถือเป็นแถบขอบชายแดนการกระจายพันธุ์ของเสือกระต่าย ดังนั้นโอกาสที่จะพบเห็นเสือกระต่ายจึงเป็นไปได้ยากเช่นกัน
เสือกระต่ายถือว่ามีความสำคัญในระบบนิเวศ โดยเฉพาะบทบาทในห่วงโซ่อาหารมันทำหน้าที่เป็นผู้ล่าที่คอยควบคุมประชากรสัตว์ขนาดเล็ก จำพวก กระต่าย กระรอก หนู หากสัตว์ขนาดเล็กที่กินพืชมีจำนวนมากไปย่อมส่งผลทำให้พืชเสื่อมโทรม เจริญเติบโตไม่ทัน ก่อให้เกิดสมดุลในธรรมชาติผิดเพี้ยนไปนั่นเอง
ผู้เรียบเรียง : โดม ปทุมทอง
ที่มาของภาพ:
https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Jungle_Cat_on_tree_at_Sundarban,_West_Bengal,_India.jpg
https://www.bangkokpost.com/thailand/general/1199601/first-jungle-cats-seen-in-thailand-for-40-years
ที่มาข้อมูล :
https://www.thairath.co.th/