ตามที่มีข่าวรายการทีวีนำกระเบนยี่สน หรือกระเบนนกมาประกอบอาหาร จนทำให้เกิดกระแสถกเถียงสาธารณะที่รุนแรง ระหว่างผู้ที่สนับสนุนแนวคิดอนุรักษ์ และผู้สนับสนุนแนวคิดกระเบนเป็นอาหารมนุษย์อยุ่แล้ว
คงเป็นเรื่องลำบากที่จะตัดสินใจว่า แนวคิดไหนถูกหรือผิด ซึ่งเป็นเรื่องของเฉพาะบุคคล และยังไม่มีกกหมายที่คุ้มครองสัตว์ชนิดนี้ในปัจจุบัน แต่หากพิจารณาข้อมูลทางวิชาการและข้อเท็จจริงแล้ว กระเบนชนิดนี้ คือ กระเบนจุดขาว ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ Aetobatus ocellatus (Kuhl, 1823) ซึ่งจัดอยู่ในวงศ์กระเบนนก (Myliobatidae) มีลักษณะเด่นตือ รอยบากริมฝีปากบน มีฟัน 1 แถว ทั้งขากรรไกรบนและล่าง โตเต็มวัยลำตัวด้านบนจะมีสีน้ำตาล หรือสีน้ำตาลเทา และมีจุดสีขาวบริเวณขอบท้ายทอยแผ่นลำตัว ส่วนในวัยเยาว์จะมีจุดขาวกระจายทั่ว มีความยาวตัวระหว่าง 80-150 ซม. ออกลูกเป็นตัวครั้งละ 2-10 ตัว กินปลาขนาดเล็ด หอย ปลาหมึก กุ้ง และปูเป็นอาหาร พบบริเวณใกล้ผิวน้ำถึงใกล้พื้นท้องทะเลตามชายฝั่งทะเล แนวปะการัง และทะเลปิด
ปัจจุบันพบน้อยมากในน่านน้ำไทย (IUCN Red List) จัดสถานะภาพทางการอนุรักษ์ของสัตว์ชนิดนี้ อยู่ในประเภทสิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายใกล้สูญพันธ์ (VU) ชาวประมงส่วนใหญ่จับกระเบนชนิดนี้ได้โดยไม่ตั้งใจ โดยอาจจะติดกับเครื่องมือประมง มาพร้อมกับเศรษฐกิจชนิดอื่น ภาษาอังกฤษ เรียว่า by-catch
ปัจจุบันประชากรของฉลามและกระเบนในทะเลไทยมีจำนวนลดน้อยลงเรื่องยๆ เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมไปและการถูกจับโดยไม่ตั้งใจจากเครื่องมือประมงชนิดต่างๆ อีกทั้งฉลามและกระเบนออกลูกจำนวนน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับปลาชนิดอื่นที่ออกไข่ หรือลูกจำนวนมาก จึงเป็นสถานการณ์ที่ค่อนข้างน่าเป็นห่วงสำหรับฉลามและกระเบน
ข่าวนี้หากมองด้านบวก ข้อถกเถียงนี้น่าจะทำให้สังคมเกิดความตระหนก และช่วยกันอนุรักษ์ฉลามและกระเบนของไทยมากขึ้น
ภาพจาก : https://www.prachachat.net/social-media-viral/news-296974
ที่มาข้อมูล : https://www.prachachat.net/social-media-viral/news-296974
ทัศพล กระจ่างดารา. 2560. ปลากระดูกอ่อน (ปลาฉลาม ปลากระเบน ปละปลาหนู) ที่พบในน่านน้ำไทย และน่าน้ำใกล้เคียง. กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล,กรมประมง,กระทรวงเกสรและสหกรณ์. 331 หน้า
ผู้เรียบเรียง : นางสาวปัณฑารีย์ สุวรรณลาภเจริญ
บรรณาธิการ (วิชาการ) : นายวีระ วีระศรี
บรรณาธิการ (ภาษา) : นางสาวอารมณ์ มุจรินทร์
ผู้อนุมัติเผยแพร่ : นางสาวอารมณ์ มุจรินทร์