สำนักข่าว BBC เผยผลการวิจัยครั้งสำคัญในการค้นพบแบคทีเรียชนิดใหม่กลางสถานีอวกาศนานาชาติ 3 ชนิด สร้างความหวังให้การทำการเกษตรในสภาพไร้แรงโน้มถ่วง
คณะนักวิจัยด้านจุลชีววิทยาที่ทำงานร่วมกับ NASA ได้เปิดเผยรายงานผลการศึกษาวิจัยที่ค้นพบแบคทีเรียชนิดใหม่ 3 ชนิด จากสถานีอวกาศนานาชาติ โดยการศึกษานี้เริ่มในปี 2015
เมื่อคณะนักวิจัยด้านจุลชีววิทยาจากสหรัฐฯ และอินเดีย ได้พยายามเก็บตัวอย่างและจำแนกชนิดของแบคทีเรีย จากหลายบริเวณบนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ไม่ว่าจะเป็น แผงเหนือศีรษะ
ของสถานีวิจัย หรือแม้กระทั้งบนโต๊ะอาหาร ที่เหล่าบรรดานักวิจัยอวกาศได้ใช้งานอยู่ในอวกาศอย่างเป็นปกติ รวมถึงโมดูลสังเกตการณ์รูปโดม คูโปลา (Cupola) ที่เหล่าบรรดานักวิจัยใช้สังเกตการณ์
สภาพอวกาศภายนอกรวมไปถึงสังเกตุการณ์บรรยากาศของโลกด้วย
นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้ชื่อเรียกชั่วคราวของแบคทีเรียทั้ง 3 ชนิดดังกล่าวว่า IF7SW-B2T, IIF1SW-B5 และ IIF4SW-B5 และจากผลการวิเคราะห์รหัสทางพันธุกรรมซึ่งรายงานลงในวารสาร
Frontiers in Microbiology พบว่าแบคทีเรียดังกล่าวเป็นสมาชิกของแบคทีเรียตระกูล Methylobacterium ซึ่งพบได้ทั่วไปในดินและแหล่งน้ำจืดบนผิวโลกของเรา โดยแบคทีเรียตระกูลดังกล่าวนี้
มีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อการเติบโตของพืชในฐานะที่มันสามารถตรึงไนโตรเจนได้จึงช่วยให้พืชได้รับไนโตรเจนได้เพิ่มขึ้นจากดินที่มีเหล่า Methylobacterium อาศัยอยู่ อีกทั้งยังพบว่าเจ้า
IF7SW-B2T มียีนสำคัญที่สามารถผลิตเอนไซม์ที่จำเป็นต่อกระบวนการสร้าง cytokinin ซึ่งจำเป็นต่อการแบ่งเซลล์บริเวณปลายรากและปลายยอดของพืช ช่วยให้พืชเติบโตได้อย่างดีอีกด้วย
รายงานข่าวชี้ว่าการพบแบคทีเรียบนสถานอวกาศ ISS นั้นไม่ใช่เรื่องแปลก เนื่องจากบนสถานีแห่งนี้มีทั้งพื้นที่อาศัย พื้นที่การศึกษาวิจัย รวมไปถึงพื้นที่การทดลองทำการเกษตรบนอวกาศ
จึงสามารถพบแบคทีเรียได้ แต่ที่น่าสนใจคือการค้นพบแบคทีเรียชนิดใหม่ที่ไม่เคยมีใครรู้จักและมันสามารถเจริญเติบโตได้อย่างดีในสภาพไร้แรงโน้มถ่วง ซึ่งการเจริญเติบโตของมันอาจช่วยให้เรา
สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเพื่อช่วยในการทำการเกษตรและนำไปสู่การผลิตอาหารและแหล่งพลังงานเพื่อตั้งอาณานิคมในอวกาศได้ อย่างไรก็ตามการค้นพบครั้งนี้ยังคงต้องมีการศึกษาในอีกหลายมิติ
เพื่อให้เกิดการความรู้เพิ่มเติมและนำไปใช้ประโยชน์ให้ได้อย่างเหมาะสมที่สุด
โมดูลสังเกตการณ์ของสถานีอวกาศนานาชาติ
ผักกาด Red romaine lettuce ที่เพาะปลูกสำเร็จบนสถานีอวกาศนานาชาติ
ผู้เขียน
นัฏฐรินีย์ บุตรดีวงศ์
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารวิทยาศาสตร์ อพวช.
ที่มาของภาพ
NASA / ASI
ที่มาของแหล่งข้อมูล (Reference)
https://www.bbc.com/thai/international-56412350