เตือนชาวกรุงเทพ ฯ และปริมณฑล รวมถึงหลายพื้นที่ในแต่ละภูมิภาค รับมือสถาณการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เกินค่ามาตรฐานในช่วงเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ของทุกปี
เนื่องจากหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็น ทิศทางลมประจำฤดู อุณหภูมิ ความกดอากาศ ประกอบกับการเผาเพื่อปรับพื้นที่การเกษตรในช่วงหลังฤดูการเก็บเกี่ยว อีกทั้งสภาพภูมิอากาศ
ในช่วงปลายปีของประเทศไทยที่มีอุณหภูมิต่ำ ความกดอากาศสูง เกิดสภาพอากาศหมุนเวียนน้อยกว่าปกติ หรือที่เรียกว่าสภาพอากาศปิด และลักษณะภูมิประเทศเช่น หุบเขา ภูเขา หรือแม้กระทั่งผังเมืองที่มีตึกสูงรายล้อมเป็นจำนวนมาก ทำให้อากาศและฝุ่นละอองต่าง ๆ ไม่สามารถไหลเวียนได้ตามปกติ ฝุ่น PM2.5 ที่สามารถแขวนลอยอยู่ในอากาศ
ได้นานจึงเกิดการสะสมสูงขึ้นมากกว่าปกติ
ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ส่งผลกระทบกับคนไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จากการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษพบค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก
PM2.5 ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เกินค่ามาตรฐาน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในช่วงต้นปีและปลายปีของทุกปีย้อนหลัง 8 ปี ตั้งแต่ปี 2554-2561 และมีแนวโน้ม
ที่พบปริมาณปริมาณฝุ่น PM2.5 เพิ่มสูงขึ้นและมีช่วงเวลานานมากขึ้นในทุก ๆ ปี เนื่องจากพบแหล่งกำเนิดฝุ่น PM2.5 เพิ่มมากขึ้นทั้งการเผาเพื่อปรับพื้นที่การเกษตร การเผา
ขยะมูลฝอยในที่โล่ง ไอเสียรถยนต์ และโรงงานอุตสาหกรรม อีกทั้งฝุ่นควันจากการเผาเพื่อปรับพื้นที่ทางการเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้านที่พัดตามทิศทางลมของฤดูมรสุม
ก็ส่งผลกระทบให้แก่เราด้วยเช่นกัน
อันตรายของฝุ่น PM2.5 ซึ่งเป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กมากนี้สามารถเข้าสู่ถุงลมปอดและเส้นเลือด ทำให้เกิดการอักเสบและการอุดตันของเส้นเลือดในระบบต่าง ๆ ส่งผลต่อผู้
ป่วยเรื้อรัง ผู้สูงอายุ เด็ก สตรีตั้งครรภ์ หรือแม้กระทั่งผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง เมื่อค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เกินมาตรฐาน ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง หากไม่สามารถ
หลีกเลี่ยงได้ ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง รวมทั้งบุคคลทั่วไปควรป้องกันตัวเองโดยการสวมใส่หน้ากากอนามัยที่มีคุณภาพมาตรฐานที่สามารถป้องกันฝุ่นขนาดเล็ก PM2.5
อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดโอกาสการเกิดปัญหาสุขภาพระบบหายใจ ระบบหลอดเลือด และระบบประสาท ท่านผู้อ่านสามารถติดตามตรวจสอบ สถานการณ์ฝุ่น PM2.5
อย่างใกล้ชิดได้ที่ http://air4thai.pcd.go.th/webV2/ และแอปพลิเคชันของสมาร์ทโฟนหลายตัวเช่น Air4Thai, Air Quality (AQI), Plume Air Report และ AirVisual เป็นต้น
เพื่อเตรียมรับมือมลพิษทางอากาศได้อย่างเหมาะสม
ผู้เขียน : นางสาวฐิติยา ชุ่มมาลี
แหล่งอ้างอิง :
(1) infofile.pcd.go.th/air/PM2.5.pdf?CFID=1970685&CFTOKEN=36949393&fbclid=IwAR35Gochd30oJ_OvPHSZHqKbzo__6SRZT3nmXB2rE5_ru1HIN9MGrFK3iaMCFID=1970685&CFTOKEN=36949393&fbclid=IwAR35Gochd30oJ_OvPHSZHqKbzo__6SRZT3nmXB2rE5_ru1HIN9MGrFK3iaM (22 ธ.ค. 2562)
(2) https://www.cmaqhi.org/qa (22 ธ.ค. 2562)
(3) https://workpointnews.com/2019/01/15/ข้อมูลย้อนหลังชี้-ช่วงเ/ (22 ธ.ค. 2562)
(4) https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9620000118680 (22 ธ.ค. 2562)
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
http://air4thai.pcd.go.th/webV2/aqi_info.php
https://travel.mthai.com/travel_tips/178496.html