พบพลาสติกจิ๋ว อยู่ในไขมันติดอยู่กับหลอดเลือดแดงของหัวใจ

พบพลาสติกจิ๋ว อยู่ในไขมันติดอยู่กับหลอดเลือดแดงของหัวใจ

22-03-2024
1

 

นักวิจัยพบชิ้นส่วนไมโครพลาสติกและนาโนพลาสติก อยู่ในหลอดเลือดหัวใจ คาด อีก 3 ปีข้างหน้า เสี่ยงพบคนเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ และเสี่ยงถึงแก่ชีวิตมากถึง 4.5 เท่า

นักวิจัยมหาวิทยาลัย Campania Luigi Vanvitelli ประเทศอิตาลี ได้ศึกษาความเกี่ยวข้องระหว่างการปนเปื้อนพลาสติกกับโรคของมนุษย์ พบผู้ป่วยที่เป็นไขมันหลอดเลือด มีชิ้นส่วนพลาสติกขนาดเล็กจนไม่สามารถมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ติดอยู่กับผนังหลอดเลือดแดงคาโรติด ซึ่งเป็นเส้นเลือดที่ออกจากหัวใจไปยังคอ และสมอง ซึ่งได้ศึกษาในผู้ป่วย 257 ราย

โดยพลาสติกที่พบเป็นประเภทโพลีเอทิลีน (PE) และโพลีไวนิลคลอไรด์ (PVC) ที่สามารถพบได้ในขวดพลาสติก ถุงพลาสติก และบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ด้วยการรับประทาน และยังสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น เนื้อเยื่อ สมอง หรือแม้กระทั่งรกในครรภ์

ก่อนหน้านี้นักวิจัยได้ทำการวิจัยในหนูทดลองพบว่า ไมโครพลาสติกและนาโนพลาสติกมีส่วนในการกระตุ้นการอักเสบของเซลล์หัวใจ ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจลดลง และอาการเหล่านี้ อาจเกิดขึ้นกับมนุษย์ได้และเสี่ยงทำให้เสียชีวิตในที่สุด

นักวิจัยยังออกมาพูดถึงแนวโน้มสุขภาพในอนาคตว่า อาจพบไมโครพลาสติกมากขึ้นเนื่องจากปัจจุบันยังมีการผลิตพลาสติกและนำมาใช้ชีวิตประจำวันอย่างต่อเนื่อง

1
อนุภาคพลาสติกที่พบภายในเซลล์เม็ดเลือดขาว (macrophages) และเนื้อเยื่อไขมันของหลอดเลือดแดงหัวใจ (Marfella et al., NEJM, 2024)

 

แหล่งที่มาของข่าว

https://www.nejm.org/doi/10.1056/NEJMoa2309822?fbclid=IwAR3Jk0gH8p1ue1cShs8eBU7dqsDhTWFuSrXAkDzMisKXJymlaN-I2sYP-04

 

ผู้เรียบเรียง

ปัณฑารีย์ สมบูรณ์วณิช

นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ