ข้อมูลการจราจรที่ผู้ใช้รถใช้ถนนต้องศึกษาผ่านแอปฟลิเคชั่นนำทางชื่อดังอย่าง Google Maps อาจไม่ใช่ข้อมูลที่เชื่อถือได้เสมอไป
เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นาย Simon Weckert ศิลปินชาวเยอรมัน เผยแพร่คลิปวิดีโอความยาว 1:42 นาทีในเว็บไซต์ยูทูป ภายใต้ชื่อวิดีโอว่า “Google Maps Hacks by Simon Weckert” แสดงภาพชายคนหนึ่งกำลังลากรถเข็นสีแดงขนาดเล็กไปตามถนน พร้อมกับภาพหน้าจอแอปพลิเคชั่น Google Maps แสดงเส้นทางการจรจรในบริเวณหนึ่ง ซึ่งเปลี่ยนจากสีเขียว (การจราจรคล่องตัว) เป็นสีส้ม (การจราจรติดขัดเล็กน้อย) ก่อนจะกลายเป็นสีแดง (การจราจรติดขัดมาก) ในที่สุด
แหล่งข้อมูลระบุว่า นาย Simon Weckert ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนจำนวน 99 เครื่อง ซึ่งเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและติดตั้งแอปพลิเคชั่น Google Maps วางไว้ในรถเข็น เพื่อทดสอบการทำงานของระบบ Google Maps ก่อนจะพบว่าการกระทำดังกล่าวสามารถทำให้ระบบปัญญาประดิษฐ์ของ Google Maps ตัดสินจากข้อมูลว่าเส้นทางที่รถเข็นผ่านนั้นมีการจรจาจรติดขัดมากในระยะเวลาสั้น ๆ และอาจแนะนำให้ผู้ใช้เส้นทางหลีกเลี่ยงเดินทางผ่านถนนดังกล่าว แม้ในความเป็นจริงแล้วจะไม่มียานพาหนะในบริเวณนั้นเลยก็ตาม
ที่มารูปภาพ
[1]http://www.simonweckert.com/googlemapshacks.html
ข้อมูลอ้างอิง
[2]https://www.theguardian.com/technology/2020/feb/03/berlin-artist-uses-99-phones-trick-google-maps-traffic-jam-alert
[3]https://www.theverge.com/2020/2/3/21120463/google-maps-traffic-jams-99-phones-little-red-wagon-simon-weckert
ผู้เขียน นายวชิรพันธ์ เจริญเวช นักวิชาการ
พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ