“การอำพราง” คือ กลยุทธ์ ที่สำคัญในการได้มาซึ่งข้อมูลหรือข่าวที่ต้องการ และเครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้การอำพรางก็ขึ้นอยู่กับว่า ภารกิจนั้นมีความยาก ง่าย ระดับใด
“รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” สุภาษิตจีน จากนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ เรื่อง สามก๊ก ซึ่งถือเป็นตำราพิชัยสงครามทางทหาร คงไม่ใช่เรื่องไกลเกินความจริง เพราะสิ่งที่มีค่ามากกว่าทรัพย์สินที่ประเมินค่าไม่ได้ในช่วงศึกสงครามนั้น ก็คือ “ข้อมูล” และการจะได้มาซึ่งข้อมูลที่สำคัญนั้น ต้องใช้ทรัพยากรคน และกลยุทธ์มากมายในการแทรกซึมศัตรูอย่างแนบเนียนและสามารถส่งข้อมูลนั้นอย่างล่องหนราวกับจางหายไปในอากาศเพื่อป้องกันการถูกจับได้แล้วใครกันล่ะ ที่จะทำได้ หากจะค้นหาว่าเครื่องมืออำพรางใดที่เก่าแก่และมีประสิทธิภาพที่สุด มนุษย์ที่เรียกว่า สายลับ คงจะเป็นคำตอบในห้วงคำนึงแรก ตั้งแต่ในยุคสมัยที่ประเทศแต่ละประเทศยังเป็นดินแดนสนธยาไม่สามารถกำหนดอาณาเขตตนเองได้ มีการขายอำนาจสร้างความยิ่งใหญ่ ตีเมืองโน้น ยึดเมืองนี้ โดยการส่งคนไปสอดแนม แอบฟัง แอบขโมยเอกสารลับจดหมาย ข้อความ นอกจากล้วงข้อมูลได้แล้ว สายลับยังสามารถ แอบกระทำการบางประการเพื่อ สร้างความวุ่นวาย สับสนในเมืองนั้นๆ ซึ่งได้ผลดี เห็นได้จากบันทึกสงครามในหน้าประวัติศาสตร์ แต่การใช้ทรัพยากรมนุษย์นั้น เป็นการเสี่ยงอย่างมากแล้วจะมีอุปกรณ์อะไรที่จะช่วยให้ภารกิจสำเร็จได้
การสื่อสารยุคอนาล็อกได้เริ่มต้นขึ้น เมื่อ อเล็กซ์ เกรแฮม เบลล์ ประดิษฐ์โทรศัพท์ได้สำเร็จ แต่ข้อบกพร่องของระบบอนาล็อค นั่นคือ สามารถแอบฟัง และดักฟัง ได้ เนื่องจากระบบโทรศัพท์ในยุคแรกนั้น จะต้องผ่านระบบชุมสายซึ่งต้องมีพนักงานคอยสลับสายเมื่อต้องการคุยกับใครสักคน สายลับจึงสามารถขโมยข้อมูลได้ง่ายและมีโอกาสที่ข้อมูลนั้นจะเป็นประโยชน์เนื่องจากเป้าหมายไม่รู้ตัวว่าถูกดักฟังโทรศัพท์อยู่ นั่นเองในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สายลับมีมากมายทั่วโลก เนื่องด้วยทุกประเทศก็ต้องการรักษาผลประโยชน์ของตนเองทั้งสิ้น จึงเกิดองค์กรด้านข่าวกรองเพื่อสร้างเสถียรภาพความมั่นคงให้กับรัฐบาลและประเทศ ไม่ว่าจะเป็น CIA ของอเมริกา, KGB ของโซเวียต, SAS ของอังกฤษ และMOSADD ของอิสราเอล ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้จะได้รับงบประมาณจำนวนมากเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีให้ทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อความได้เปรียบทางการเมืองทั้งภายในประเทศและระดับโลก แน่นอนว่า เมื่อสงครามแข่งกันทิ้งระเบิดใส่ฝ่ายอักษะได้สิ้นสุดลงและเยอรมันเป็นผู้แพ้ แต่ความขัดเคืองยังอยู่เพราะต่างฝ่ายต่างก็ไม่ไว้ใจซึ่งกันและกัน เกิดเป็นสงครามเย็น และการดักฟังโทรศัพท์ก็ยังเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญ Operation Gold หรือ อุโมงค์เบอร์ลิน ในเยอรมนีเป็นการร่วมมือกันของหน่วยสืบราชการลับสหรัฐฯ และอังกฤษ ฉากบังหน้าคือคลังเก็บสินค้าใต้ดินที่ลึกกว่า 7 เมตร มีความยาวกว่า 450 เมตร เพื่อเชื่อมไปยังจุดชุมสายโทรศัพท์ใต้ดินของกรุงเบอร์ลินพร้อมด้วยอุปกรณ์ดักฟัง และเครื่องมือต่างๆ ครบครัน สามารถดักฟังข้อมูลของโซเวียตบันทึกเป็นเทปเสียงถึง 50,000 ม้วนเลยทีเดียว ก่อนหน้านี้โครงการ “Operation Silver” ที่กรุงเวียนนาประเทศออสเตรีย เป็นแผนการลักลอบดังฟังสายโทรศัพท์ของโซเวียตซึ่งส่งตรงไปยังกรุงมอสโกในสหภาพโซเวียต ซึ่งปฏิบัติการครั้งนั้นประสบความสำเร็จอย่างดี สายลับอังกฤษทราบข้อมูลสำคัญและคำสั่งได้เกือบทั้งหมดตั้งแต่ปี 1948-1952 การดักฟังไม่ได้มีเพียงแค่อุปกรณ์โทรศัพท์เท่านั้น ประเทศมหาอำนาจทุ่มเทงบประมาณ พัฒนาอุปกรณ์ล้ำสมัยเพื่อให้สายลับปฏิบัติได้อย่างแนบเนียน
Bugs เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอย่างมากในสงครามเย็น สืบเนื่องจากมันมีขนาดเล็กพอที่จะซ่อนอยู่ทุกที่ โดยใช้คลื่นวิทยุเพื่อถ่ายทอดบทสนทนาหรือเสียงอื่นใดที่เป็นข้อมูลสำคัญ ซึ่งเราจะคุ้นตาในหนังสายลับอันโด่งดัง James bone
แต่เรื่องจริงไม่อิงนวนิยาย เมื่ออเมริกาซ่อนเครื่องดักฟังทูตรัสเซียซึ่งถูกเปิดเผยในการประชุมสหประชาชาติ ในปี 1960 The Great Seal Bug สัญลักษณ์ของอเมริกาซึ่งเป็นเครื่องหมายของ"มิตรภาพ" ถูกแขวนไว้ในห้องทำงานของ Ambassador Harriman ทูตของรัสเซียตั้งแต่ปี 1946 ได้อย่างแนบเนียน กว่าจะรู้ตัวว่ามีเครื่องดักฟัง ก็ใช้เวลาหลายปี คดีดัง วอเตอร์เกต คือเหตุอื้อฉาวทางการเมือง ในสหรัฐอเมริกา เป็นเหตุการณ์สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ลักลอบโจรกรรมสำนักงานใหญ่ของพรรคเดโมแครต โดยส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปติดเครื่องดักฟัง ณ อาคารวอเตอร์เกตคอมเพลกซ์ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1972 เป็นเหตุให้นำไปสู่การลาออกของประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1974 ซึ่งเป็นการลาออกครั้งแรกและครั้งเดียวของประธานาธิบดีในประวัติศาสตร์อเมริกัน
ปัจจุบันมิได้เกิดสงครามทางยุทโธปกรณ์และผ่านช่วงสงครามเย็นเข้าสู่ยุคสังคมเครือข่ายอย่างเสรีภาพแล้ว แต่งานทางด้านสายลับและการโจรกรรมข้อมูลยังคงดำเนินต่อไปในรูปแบบสื่อโซเชี่ยลหรือการทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ต่างๆ แม้ว่าการดักฟังหรือการโจรกรรมข้อมูลเป็นก้าวล่วงสิทธิส่วนบุคคลซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายและไม่เป็นที่ยอมรับของประชาคมโลกก็ตาม ฉะนั้นเราจงควรเรียนรู้เพื่อเท่าทันเพราะเราไม่รู้ว่าวันหนึ่งนั้นเราอาจเป็นเหยื่อในการโจรกรรมของกลุ่มผู้ไม่หวังดีนั้นก็ไม่อาจทราบได้
แหล่งข้อมูลอ้างอิง: