มูลปลาวาฬ อำพันทะเล

มูลปลาวาฬ อำพันทะเล

29-04-2022
มูลปลาวาฬ อำพันทะเล

        อำพันทะเล (Ambergris) คือ ขี้/อ้วก ของวาฬหัวทุย (ขึ้นอยู่กับวาฬจะขับออกมาทางไหน)  เกิดจากกอาหารที่วาฬกินเข้าไป คือจำพวกหมึก  แต่ร่างการของวาฬไม่สามารถขับไขมันจากปลาหมึกได้ ทำให้ไขมันของหมึกสะสมอยู่ในลำไส้ จนร่างกายขับถ่ายไขมันส่วนนี้ออกมาพร้อมอุจาระ หรือสำลอกไขมันออกมา ที่เรียกว่า อ้วก ส่วนที่ออกมาสามารถละลายน้ำทะเลได้อย่างอุจจาระ อ้วก หรือสารอื่นๆ ก็จะละลายไปกับน้ำทะเล แต่ไขมันจากปลาหมึกไม่สามารถย่อยสลายได้ จึงลอยตัวอยู่บนผิวทะเล

          ปกติแล้วอำพันทะเลจะมีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์สักเท่าไหร่ แต่เมื่อเวลาผ่านไป เป็นเดือน ปี แสงแดและน้ำทะเลจะทำปฏิกิริยา กลายสภาพเป็นก้อนสีขาว น้ำตาล เทา หรือสีดำ ตามระยะเวลาของการทำปฏิกิริยา เมื่อเวลานานไป กลิ่นของขี้ปลาวาฬกลายเป็นกลิ่นหอม คล้ายกลิ่นน้ำมันหอมระเหย

          หลายร้อยปีก่อน นักทำน้ำหอมได้มีการจัดลำดับคุณภาพของขี้ปลาวาฬ ตามสีสันของมัน โดยสีออกดำนั้น จะมีมูลค่าน้อยสุด

          ด้วยมูลค่าของขี้ปลาวาฬ อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อชีวิตของวาฬเสปิร์ม ถึงแม้ตอนนี้ วาฬเหล่านี้จะถูกได้รับการปกป้องจากกฎหมาย แต่ก็ยังมีบางประเทศที่พยายามรื้อฟื้นการล่าวาฬ เพราะเชื่อว่าเป็นการควบคุมประชากร บางประเทศถือว่า การซื้อขาย ขี้ปลาวาฬเป็นเรื่องผิดกฎหมาย แต่บางประเทศก็อาศัยช่องโหว่ทางกฏหมาย

Ambergris1

          แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร ว่าเป็นขี้ปลาวาฬแท้จริงหรือไม่ ?

เราสามารถทำการทดสอบเบื้องต้นง่ายๆ ด้วยตนเองโดยการใช้ของใช้ภายในบ้าน นั่นคือ เข็มร้อน นั่นเอง เข็มร้อนที่มีความร้อนสูง ไปวางบนผิวเรียบของวัตถุ ประมาน 3-4 นาที ถ้าเป็นขี้ปลาวาฬของแท้ ผิวที่โนความร้อนจะละลายในทันที ซึ่งผิวทำละลายมีลักษณะ เป็นสีน้ำตาลคาราเมล หรือสีดำ มันวาว และมีความเหนียวอย่างเห็นได้ชัด  ถึงแม้ว่าเราจะทดสอบทางกายภาพได้ แต่การทดสอบเชิงคุณภาพต้องทำด้วยกระบวนการทางเคมี ในการแยกองค์ประกอบธาตุ เช่น วิธีการวิเคราะห์ทางเคมี โดยวิเคราะห์โครงสร้าง  และวิเคราะห์น้ำหนักโมเลกุลของสาร (Mass Spectormetry) หรือการแยกสารโมเลกุลด้วยการเปลี่ยนเป็นก๊าซ (Gas Chromatography) นั่นเอง

 

ภาพจาก : https://www.catdumb.com/ambergris-333/https://www.ambergrisconnect.com/identification.html

ที่มาข้อมูล : https://www.catdumb.com/ambergris-333/

ผู้เรียบเรียง : นางสาวปัณฑารีย์ สุวรรณลาภเจริญ

บรรณาธิการ(วิชาการ) : นายชลวิทย์ ทองเจริญชัยกิจ

บรรณาธิการ(ภาษา) : นายชลวิทย์ ทองเจริญชัยกิจ

ผู้อนุมัติการเผยแพร่ : นางสาวอารมณ์ มุจรินทร์

Related