อพวช. ร่วมด้วย สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา และศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เปิดเวทีสร้างนักสื่อสารวิทย์ฯ ผ่านโครงการ “UNiTi Talks” ชิงรางวัลมูลค่ากว่า 100,000 บาท

อพวช. ร่วมด้วย สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา และศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เปิดเวทีสร้างนักสื่อสารวิทย์ฯ ผ่านโครงการ “UNiTi Talks” ชิงรางวัลมูลค่ากว่า 100,000 บาท

04-02-2023
UNITI01

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมด้วย สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย และศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) เปิดเวทีการประกวดในโครงการ University Students’ Science, Technology and Innovation Talk (UniTi Talks) ในหัวข้อ “UniTi Talks on STI for Sustainable Community ฉากทัศน์ชุมชนที่ฉันอยากเห็น ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม” เพื่อค้นหานิสิต นักศึกษา มาร่วมสร้างสังคมนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคมและขับเคลื่อนชุมชนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต ชิงรางวัลและทุนการศึกษารวมมูลค่ากว่า 100,000 บาท

UNITI012

ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) “โครงการ University Students’ Science, Technology and Innovation Talks หรือ UniTi Talks เกิดจากความร่วมมือระหว่าง 3 หน่วยงานหลัก ได้แก่ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา    ประจำประเทศไทย และศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) ซึ่งดำเนินการจัดขึ้นเป็นปีแรก ในหัวข้อ “UniTi Talks on STI for Sustainable Community ฉากทัศน์ชุมชนที่ฉันอยากเห็น ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม” โดย อพวช. ได้จัดกิจกรรม Roadshow & Workshop ขึ้น ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566 ณ อพวช. คลองห้า ปทุมธานี เพื่อเปิดตัวโครงการฯ และทำความเข้าใจในโจทย์การแข่งขันฯ พร้อมเรียนรู้เทคนิคการสื่อสารวิทยาศาสตร์อย่างสร้างสรรค์กับนักสื่อสารมืออาชีพ โดยมี นางสาวรักชนก บุตตะโยธี ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและพัฒนาทักษะอนาคต อพวช. มาแนะนำโครงการฯ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชล บุนนาค มาร่วมบรรยายพิเศษ เรื่อง “ความสำคัญของ SDG ในการพัฒนาชุมชนของประเทศ กับ สังคมโลกที่ยั่งยืน” และกิจกรรม Workshop การสื่อสารวิทยาศาสตร์ โดย ดร.ชนินทร์ สุริยกุล ณ อยุธยา ผู้อำนวยการกองสื่อสารวิทยาศาสตร์ อพวช. ณ อพวช. คลองห้า โดยมี นิสิต นักศึกษา สนใจเข้าร่วมกิจกรรมฯ จำนวน 84 คน จาก 11 มหาวิทยาลัย”

UNITI012

นายริชาร์ด คัสติน ที่ปรึกษาฝ่ายสื่อมวลชนและวัฒนธรรม สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย กล่าวว่า “ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศไทยมีมายาวนานกว่า 190 ปี ได้ดำเนินงานด้านความร่วมมือในด้านต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ (STEM Education) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ต้องช่วยส่งเสริมและผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคมในทางที่ดีขึ้น ไม่ว่าปัญหาในเรื่องมลพิษทางอากาศ ภาวะโลกร้อน และความยั่งยืน ปัจจุบันทั่วโลกมีการใช้พลาสติกประเภทที่ใช้แล้วทิ้งเป็นจำนวนมาก ซึ่งเราทุกคนต้องร่วมกันลด ละ เลิกการใช้พลาสติก จึงต้องเน้นย้ำให้ทุกคนตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวเพื่อทำให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับสังคมบรรลุตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) และสิ่งสำคัญสำหรับการเปลี่ยนแปลงในสังคมให้เป็นไปในทิศทางที่ดีและยั่งยืน คือ การบ่มเพาะเยาวชนคนรุ่นใหม่ เพื่อสื่อสารให้ประชาชนได้เข้าใจและพร้อมรับมือกับปัญหาสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และพลังงาน ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ โครงการ UniTi Talks จึงเป็นอีกช่องทางที่จะช่วยสร้างนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพและทักษะในการสื่อสารที่ดีให้กับสังคมต่อไป”

UNITI01

       ทั้งนี้ โครงการฯ ได้จัดกิจกรรม Roadshow & Workshop ขึ้น เพื่อประชาสัมพันธ์และทำความเข้าใจในโจทย์การแข่งขันฯ พร้อมเรียนรู้เทคนิคการสื่อสารวิทยาศาสตร์อย่างสร้างสรรค์กับนักสื่อสารมืออาชีพ ทั้งหมด 5 ศูนย์การแข่งขันฯ ได้แก่ 1.องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566 2. American Corner Chiang Mai มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 3. American Corner Maha Sarakham มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จ.มหาสารคาม ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566 4. American Corner Yala มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จ.ยะลา ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2566 และ 5. American Corner Pattani มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จ.ปัตตานี ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2566 สำหรับการแข่งขันในรอบคัดเลือก ทางศูนย์การแข่งขันฯ จะดำเนินการพิจารณาคัดเลือกในระหว่างวันที่ 18 – 25 เมษายน 2566 และประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือก ในวันที่ 26 เมษายน 2566 พร้อมจัดการแข่งขันฯ ในรอบชิงชนะเลิศ (Final Round Competition) ในวันที่ 13 พฤษภาคม 2566 ขึ้น ณ อพวช. คลองห้า ปทุมธานี ต่อไป

          สำหรับนิสิต นักศึกษาที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการฯ สามารถสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ -10 เมษายน 2566 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักวิทยาศาสตร์สู่ชุมชน อพวช. โทร 0-2577-9999 ต่อ 1790, 1791 (คุณเวธกา, คุณธีระพล) มือถือ 06-1334-8000 (ในเวลาราชการ) Email: unititalks@gmail.com