อพวช. ร่วมเปิดตัวกิจกรรม Thailand City Nature Challenge 2022

อพวช. ร่วมเปิดตัวกิจกรรม Thailand City Nature Challenge 2022

29-04-2022
Thailand City Nature Challenge 2022

27 เมษายน 2565 / ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ร่วมเปิดตัว “กิจกรรม Thailand City Nature Challenge 2022” ปฏิบัติการสำรวจธรรมชาติในเมือง โดยเป็นการรวมตัวกันขององค์กรและอาสาสมัครที่ทำงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพและวิทยาศาสตร์พลเมืองในพื้นที่ เพื่อเก็บข้อมูลสิ่งมีชีวิตชนิดต่างในเขตเมืองอย่างเป็นระบบ และสะดวกต่อนักวิทยาศาสตร์ในการนำไปใช้เพื่อการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเมือง กิจกรรมฯ นี้ จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 29 เมษายน – 2 พฤษภาคม 2565 พร้อมกันทั่วโลกมากกว่า 400 เมือง ใน 40 ประเทศทั่วโลก

Thailand City Nature Challenge 2Thailand City Nature Challenge 3Thailand City Nature Challenge 4Thailand City Nature Challenge 5

สำหรับงานแถลงข่าวเปิดตัวกิจกรรมฯ ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ได้กล่าวถึงความร่วมมือของ อพวช. ในครั้งนี้ว่า “อพวช. อยากเห็นเยาวชนและประชาชน ได้มีส่วนร่วมในการปลูกฝังทักษะและกระบวนการคิดการเป็นนักวิทยาศาสตร์ได้ด้วยตัวเอง โดยกิจกรรม City Nature Challenge 2022 ถือเป็นกิจกรรมลักษณะ Citizen Science (วิทยาศาสตร์ภาคพลเมือง) ซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์มาก ๆ นอกจากจะทำให้เกิดความตื่นตัว และความสนใจด้านธรรมชาติวิทยาแล้ว โครงการฯ นี้ ยังสะท้อนให้เห็นว่าไม่ว่าใครก็สามารถเป็นนักวิทยาศาสตร์ได้ ด้วยการทดลองสำรวจ เก็บตัวอย่าง เพื่อสื่อสารสิ่งรอบตัว แล้วบันทึกอย่างเป็นระบบผ่านแอปพลิเคชัน iNaturalist และ/หรือ eBird ที่สามารถนำไปเป็นฐานข้อมูลของประเทศและของโลกต่อไปอีกด้วย

โดยในวันที่ 30 เมษายน 2565 เวลา 15.00 – 21.00 น. จะมีการเสวนาออนไลน์ และลงพื้นที่สำรวจความหลายหลายทางชีวภาพภายในพื้นที่สวนเบญจกิติ กรุงเทพฯ โดย อพวช. ได้ส่งนักธรรมชาติวิทยาที่มีความชำนาญด้านสิ่งมีชีวิตในหลากหลายประเภทเข้าร่วมทำกิจกรรมและสำรวจธรรมชาติในครั้งนี้ด้วย สำหรับผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดใช้แอปพลิเคชัน iNaturalist และ/หรือ eBird เพื่อเข้าร่วมปฏิบัติการสำรวจธรรมชาติในครั้งนี้พร้อมกัน”

Thailand City Nature Challenge

“กิจกรรม City Nature Challenge 2022” ในประเทศไทยครั้งนี้ ได้กำหนดพื้นที่สำรวจในหลายหัวเมือง ได้แก่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมืองระยอง เมืองขอนแก่น เมืองเชียงใหม่ และเมืองหาดใหญ่ โดยได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ เอกชนและองค์กรอิสระ อาทิ มูลนิธิโลกสีเขียว, มูลนิธิรักสัตว์ป่า, องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.), สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), กลุ่มบริษัทดาว และโครงการ Dow Thailand Mangrove Alliance, บริษัท ดีแคทลอน (ประเทศไทย) จำกัด, เครือข่ายเยาวชนระดับโลกด้านความหลากหลายทางชีวภาพประจำประเทศไทย (GYBN Thailand), Nature Plearn Club, โครงการป่าชายเลนเพื่ออนาคต, เถื่อนChannel, ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และกลุ่มนก หนู งูเห่า