NSM ประกาศผล “การแข่งขันการพัฒนานวัตกรรม ของเล่นวิทยาศาสตร์สู่ศตวรรษที่ 21: บอกเล่าสุภาษิตด้วย Automata Toys” รอบชิงชนะเลิศ

NSM ประกาศผล “การแข่งขันการพัฒนานวัตกรรม ของเล่นวิทยาศาสตร์สู่ศตวรรษที่ 21: บอกเล่าสุภาษิตด้วย Automata Toys” รอบชิงชนะเลิศ

28-08-2023
AutomataToys01

เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2566 ดร.ชนินทร วรรณวิจิตร รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM ร่วมแสดงความยินดี และเป็นประธานมอบรางวัลในการแข่งขันการพัฒนานวัตกรรมของเล่นวิทยาศาสตร์สู่ศตวรรษที่ 21: บอกเล่าสุภาษิตด้วย Automata Toys รอบชิงชนะเลิศ ณ เวทีกลาง ภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2566 อาคาร 10 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี 

AutomataToys012

ดร.ชนินทร วรรณวิจิตร รองผอ.องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ กล่าวว่า “NSM จัดการแข่งขันการพัฒนานวัตกรรมของเล่นวิทยาศาสตร์สู่ศตวรรษที่ 21: บอกเล่าสุภาษิตด้วย Automata Toys ขึ้น เพื่อเปิดเวทีให้นักออกแบบและผู้ผลิตของเล่นทั้งมือสมัครเล่นและมืออาชีพ ได้แสดงแนวคิดในการออกแบบและผลิตของเล่นวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชนที่มีประสิทธิภาพและสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องในรูปแบบของเล่น Automata Toys โดยเน้นให้ผู้เล่นได้พัฒนาทักษะการประดิษฐ์และใช้ความคิดสร้างสรรค์การประดิษฐ์ของเล่นด้วยกลไกอย่างง่าย และทําให้เกิดการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นการผสมผสานระหว่างวิทยาศาสตร์และศิลปะเข้าไว้ด้วยกัน ทําให้ผู้เล่นได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างสนุกสนาน ผ่านการบอกเล่าด้วยสุภาษิตไทย ซึ่งในปีนี้มีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดกว่า 120 ผลงาน โดยได้คัดเลือกผู้เข้ารอบชิงชนะเลิศ ทั้งหมด 25 ผลงาน โดยแบ่งเป็นประเภทเยาวชน จำนวน 13 ผลงาน และประเภทอุดมศึกษาและบุคคลทั่วไป จำนวน 12 ผลงาน มาร่วมแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2566 ซึ่งถือเป็นกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของปีนี้อีกด้วย”

AutomataToys013

การแข่งขันการพัฒนานวัตกรรมของเล่นวิทยาศาสตร์สู่ศตวรรษที่ 21: บอกเล่าสุภาษิตด้วย Automata Toys ได้รับเกียรติการตัดสินจากคณะกรรมการทั้งหมด 4 ท่าน ได้แก่ ดร.พีรนุช กัณหดิลก ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์แห่งชาติ อพวช., นางสาววิลาสินี ไตรยราช ผู้อำนวยการกองวิจัยและบริการวิชาการ อพวช., นายเปรมชัย บุญเรือง นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ อพวช. และคุณประเวศน์ หงส์ทอง ผู้จัดการแผนกพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริษัท แปลนครีเอชั่นส์ จำกัด ร่วมตัดสินการแข่งขัน โดยผลปรากฏว่า 

ผลรางวัลประเภทเยาวชน
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ “งูกินหาง” เจ้าของผลงาน โดย นายรัตนะโชติ แดงภู่ 
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ “ขี่ช้างจับตั๊กแตน” เจ้าของผลงานโดย นางสาวดวงกมล  ไทยทวี , นางสาวณัฐวดี  ภูเขม่า 
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ “จากศัตรูสู่ครูสอนว่ายน้ำ” เจ้าของผลงานโดย นางสาวชมบุญ รุ้งกำธรธรรม 
รางวัลชมเชย ได้แก่ “น้ำขึ้นให้รีบตัก” เจ้าของผลงานโดย นาย ณัฐดนัย สิริโชติกุล
รางวัลชมเชย ได้แก่ “พานรินทร์ชิงสุวรรณ” เจ้าของผลงานโดย นายกันตภณ มหชัยกุล, นายเอกธนัท ทองดี และนายยศพนธ์ มโนวรกุล

AutomataToys0145AutomataToys0156AutomataToys0167

รางวัลประเภทอุดมศึกษาและบุคคลทั่วไป 
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ “สอนจระเข้ว่ายน้ำ” เจ้าของผลงานโดย นายกิจการ ช่วยชูวงศ์ 
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ “กระต่ายตื่นตู้ม” เจ้าของผลงานโดย นายกฤษณะ เรียงสันเทียะ 
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ “น้ำลดตอผุด” เจ้าของผลงานโดย นายฤทธิพล เสาร์วิบูลย์ 
รางวัลชมเชย ได้แก่ “เข็นครกขึ้นภูเขาแบบวนลูป” เจ้าของผลงานโดย นที ซ่อนรักษ์
รางวัลชมเชย ได้แก่ “แม่กลอง (Mae-Klong)” เจ้าของผลงานโดย นายธงกช ฉัตรภัทรไชย และนางสาวนพธาร หวังไพสิฐ
และรางวัลพิเศษ 2 รางวัล
รางวัลขวัญใจมหาชน ได้แก่ เข็นครกขึ้นภูเขาแบบวนลูป  เจ้าของผลงานโดย นายนที ซ่อนรักษ์
รางวัลสนุก อึด ถึก ทน ได้แก่ จากศัตรูสู่ครูสอนว่ายน้ำ  เจ้าของผลงานโดย นางสาวชมบุญ รุ้งกำธรธรรม

AutomataToys014

ดร.ชนินทรฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ขอแสดงความยินดีแก่ผู้ได้รับรางวัลทุกท่าน ต้องขอชื่นชมความคิดสร้างสรรค์ของนักออกแบบที่ทำให้ของเล่นวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่เข้าใจง่ายและสนุกสนาน ซึ่งเราหวังว่ากิจกรรมนี้ จะผลิตนวัตกรรมที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้พัฒนาต่อยอด หรือ สร้างธุรกิจใหม่ได้ในอนาคต โดยกิจกรรมนี้จะเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้ประกอบการรายใหม่ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจ สังคม และการพาณิชย์ของประเทศไทยต่อไปในอนาคต”

ข่าวสารที่่คล้ายกัน