ประสบความสำเร็จอย่างงดงามกับงานมหกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2562

ประสบความสำเร็จอย่างงดงามกับงานมหกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2562

09-12-2021
ประสบความสำเร็จอย่างงดงามกับงานมหกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2562

เมื่อเร็วๆ นี้ นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า อว. โดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ประสบความสำเร็จอย่างงดงามกับงานมหกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2562  เมื่อสังคมตอบรับกับการสร้างแรงบันดาลใจกับการเรียนรู้นอกห้องเรียน ด้วยสถิติยอดผู้เข้าชมงานอย่างล้นหลาม กว่า 1.1 ล้านคน

6600

          นายสุวิทย์ฯ กล่าวว่า มหกรรมวิทย์ฯ ปีนี้ ได้รับกระแสตอบรับดีมาก ตั้งแต่ก่อนจัดงานแล้ว มีหน่วยงานทั้งภายในประเทศและต่างประเทศให้ความสนใจเข้าร่วมโชว์ผลงาน และจัดกิจกรรม มากถึง 17 ประเทศ 103 องค์กร และตลอด 10 วันของการจัดงาน ตั้งแต่วันที่ 16-25 สิงหาคม ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี คนเข้าชมงานแน่นทุกวัน  ได้รับความสนใจจากโรงเรียนทั่วประเทศมากกว่า 2,000 โรงเรียน โดยเฉพาะในช่วงเย็นของวันจันทร์-วันศุกร์ พบว่ามีกลุ่มผู้ปกครองให้ความสนใจพาบุตรหลานมาชมงานมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในวันหยุดบางครอบครัวมารอตั้งแต่เช้าและร่วม กิจกรรมที่บูธต่างๆ ตลอดทั้งวัน แสดงให้เห็นว่าสังคมไทยตอบรับกระแสการเรียนรู้วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน  และงานนี้คือสิ่งยืนยันว่า วัฒนธรรมวิทยาศาสตร์ได้เกิดขึ้นแล้วในสังคมไทย

7700

          สำหรับนิทรรศการที่ได้รับความนิยมเป็นพิเศษจากสื่อมวลชนและผู้เข้าชมงาน คือนิทรรศการพลาสติกพลิกโลก เพราะขยะพลาสติก เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญ  ในแต่ละปีมีขยะพลาสติกไหลลงทะเลจำนวนมาก กลายเป็นแพขยะในทะเลขนาด ใหญ่ ส่งผลกระทบกับสัตว์ทะเลที่อาจกินขยะพลาสติกเข้าไปทำให้เกิดการอุดตันบริเวณกระเพาะอาหาร  และล่าสุดกับข่าวการเสียชีวิต ของ “น้องมาเรียม” ลูกพะยูนเพศเมีย สัตว์ทะเลหายากและสัตว์สงวนของไทย เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2562 โดยจากการผ่าพิสูจน์ สาเหตุการเสียชีวิตของน้องมาเรียมพบเศษถุงพลาสติกหลายชิ้นขวางลำไส้ จนมีอาการอุดตันและอักเสบ ลุกลามไปจนช็อคเสียชีวิตใน ที่สุด  เหตุการณ์ในครั้งนั้นได้ปลุกกระแสอนุรักษ์พะยูน สัตว์ทะเล และตอกยำให้สังคมไทยต้องเร่งแก้ไขปัญหาขยะพลาสติก และการหยุดคุกคามสัตว์ทะเล จากขยะเหล่านี้  ซึ่งผู้เข้าชมนิทรรศการชุดนี้ต่างสนใจเรียนรู้ถึงสาเหตุของการสะสมของขยะที่เกิดขึ้น ประเภทของพลาสติกต่างๆ ตลอดจนแนวทางการจัดการขยะพลาสติกให้กลับมาเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้ง Reuse Reduce Recycle และ Upcycle (การน าเศษ วัสดุเหลือใช้กลับมาดีไซน์ พัฒนาใหม่ให้สวยงาม โดยที่ยังเพิ่มมูลค่าให้กับตัวผลิตภัณฑ์) หรือภายในงานเสวนาเชิงปฏิบัติการที่จัดขึ้น ภายในงานมหกรรมวิทย์ฯ เอง ก็มีวิทยากรผู้มีชื่อเสียงในวงการอุตสาหกรรมและการรีไซเคิลหลายท่าน มาร่วมกันคิดวิเคราะห์ สถานการณ์และร่วมกันคิดหาทางออกให้กับการจัดการปัญหาขยะพลาสติกในประเทศไทย ที่เน้นให้เรามองมุมกลับ ปรับมุมมอง เพื่อการ แก้ปัญหาอย่างยั่งยืน นั่นคือไม่ใช่เพียงแค่การรณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติกเท่านั้น แต่ต้องสร้างความเข้าใจเรื่องของพลาสติกประเภท ต่างๆ ข้อดี-ข้อเสีย ความเหมาะสมในการใช้งานและความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนที่จะช่วยพลิกโฉมจากประเทศไทย จากประเทศที่ สร้างขยะอันดับต้นๆ ของโลก มาเป็นประเทศต้นแบบในการสร้างไอเดียนวัตกรรมใหม่จากขยะพลาสติก

Untitled 3

          นายสุวิทย์ฯ กล่าวทิ้งท้ายว่า ขอบคุณทุกหน่วยงานที่มาร่วมกันส่งต่อแรงบันดาลใจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  และร่วมกันสร้าง วัฒนธรรมวิทยาศาสตร์ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ซึ่งจะช่วยนำพาประเทศไปสู่การพัฒนาที่ก้าวหน้าด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมในอนาคต

ข่าวสารที่่คล้ายกัน