จัดการแข่งขัน “โอลิมปิกหุ่นยนต์ 2562”หรือ World Robot Olympiad 2019 (WRO2019)

จัดการแข่งขัน “โอลิมปิกหุ่นยนต์ 2562”หรือ World Robot Olympiad 2019 (WRO2019)

09-12-2021
จัดการแข่งขัน “โอลิมปิกหุ่นยนต์ 2562”หรือ World Robot Olympiad 2019 (WRO2019)

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สังกัด กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมด้วย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) สถาบันการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และ บริษัท แกมมาโก้ (ประเทศไทย) จำกัด จัดการแข่งขัน “โอลิมปิกหุ่นยนต์ 2562”หรือ World Robot Olympiad 2019 (WRO2019) ในหัวข้อ Smart Cities เพื่อคัดเลือกตัวแทนประเทศไทยไปคว้าชัยในระดับนานาชาติ ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8 – 10 พ.ย. นี้ ณ เมืองเยอร์ ประเทศฮังการี 

AAAA

         ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กล่าวว่า“องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ หรือ อพวช. มีภารกิจหลักในการสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม การที่ได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน จัดการแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ 2562 (WRO) ในครั้งนี้ จึงถือเป็นการพัฒนาศักยภาพเด็กไทยในด้านอัจฉริยะสมองกล เพิ่มโอกาสให้เด็กไทยได้ลงมือฝึกหัดใช้ความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาทักษะผ่านชุดอุปกรณ์การเรียนรู้ และการหัดเขียนโปรแกรม (Coding) ซึ่งการแข่งขันในปีนี้ อพวช. ได้ส่งนักวิชาการที่มีความรู้ความสามารถ เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการการตัดสินผู้ชนะในแต่ละประเภท เพื่อคัดเลือกเป็นตัวแทนไปแข่งขันในระดับนานาชาติอีกด้วย”

            โดยผลปรากฏว่า มีตัวแทนจากเยาวชนไทยที่ชนะการแข่งขันและได้เป็นตัวแทนไปแข่งขัน ณ เมืองเยอร์ ประเทศฮังการี ดังนี้

 

  • Champ of the Champ -

1 8001

อายุไม่เกิน12 ปี   ทีมOrganic   จาก สถาบันหุ่นยนต์สมุย บอท

2 8002

อายุไม่เกิน15 ปี   ทีมTS1   จาก โรงเรียนเทพมิตรศึกษา

3 8003

อายุไม่เกิน19 ปี   ทีมTS2   จาก โรงเรียนเทพมิตรศึกษา

 

- ประเภททั่วไป อายุไม่เกิน 12 ปี-

1 800

รางวัลชนะเลิศอันดับ 1   ทีม OOB   จาก สถาบันหุ่นยนต์โรโบมายมีโชค

2 800

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1   ทีม RBC_Patai Udom Suksa   จาก โรงเรียนไผทอุดมศึกษา

 

- ประเภททั่วไป อายุไม่เกิน 15 ปี-

111 800

รางวัลชนะเลิศอันดับ 1   ทีม TS1   จาก โรงเรียนเทพมิตรศึกษา

222 800

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1   ทีม ACL01   จาก โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง

333 800

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2   ทีม TS5   จาก โรงเรียนเทพมิตรศึกษา

 

- ประเภททั่วไป อายุไม่เกิน 19 ปี-

800 1

รางวัลชนะเลิศอันดับ 1   ทีม Don't Give Up   จาก โรงเรียนพระทองคำวิทยา

800 2

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1   ทีม TS2   จาก โรงเรียนเทพมิตรศึกษา

800 3

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2   ทีม TOR.4 B   จาก โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ)

 

- ประเภทความคิดร้างสรรค์- 

12 800

รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 (อายุไม่เกิน 12 ปี)   ทีม ACEP_Junior   จาก โรงเรียนอัสสัมชัญหลักสูตรภาษาอังกฤษ (จ.สมุทรสาคร)

15 800

รางวัลชนะเลิศอันดับ 1  (อายุไม่เกิน 15 ปี)   ทีมT.5 ROBOT-2   จาก โรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี)

19 800

รางวัลชนะเลิศอันดับ 1  (อายุไม่เกิน 19 ปี)   ทีมKMIDS_Quixotic จาก King Mongkut's International Demonstration School

                                                                                                                

- ประเภททั่วไป ระดับมหาวิทยาลัย-

800 11

รางวัลชนะเลิศอันดับ 1   ทีม Love Father 3000  จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

800 22

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1   ทีม Lucky Robot   จาก สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

800 33

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2   ทีม Robo AC An an   จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

 

-ประเภทหุ่นยนต์เตะฟุตบอล-

1111 800

รางวัลชนะเลิศอันดับ 1   ทีม AC_Robot 1   จาก โรงเรียนอัสสัมชัญ (กรุงเทพฯ)

2222 800

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1   ทีม SG_Alpha   จาก โรงเรียน เซนต์คาเบรียล

3333 800

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2   ทีม AC_ Robot 2  จาก โรงเรียนอัสสัมชัญ (กรุงเทพฯ)

 

2341

            ผศ.ดร.รวินฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มีส่วนสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจและสังคมไทยในหลากหลายมิติ อพวช. จึงเล็งเห็นถึงการพัฒนาศักยภาพเยาวชนไทย ในระดับชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา และมหาวิทยาลัยหรือเทียบเท่า ให้มีความรู้ด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ เพื่อสอดคล้องกับยุทธศาสตร์4.0 ของประเทศไทย สู่การขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมในอนาคตต่อไป