NSM ปั้น “นักสื่อสารวิทยาศาสตร์” สู้ Fake News – เสริมแกร่งสังคมไทย เผยผลิตนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ออกสู่สังคมได้แล้วกว่า 1 พันคนมีหลากหลายช่วงวัย – หลากหลายอาชีพ พร้อมเดินหน้าสร้างเครือข่ายระดับชาติ

NSM ปั้น “นักสื่อสารวิทยาศาสตร์” สู้ Fake News – เสริมแกร่งสังคมไทย เผยผลิตนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ออกสู่สังคมได้แล้วกว่า 1 พันคนมีหลากหลายช่วงวัย – หลากหลายอาชีพ พร้อมเดินหน้าสร้างเครือข่ายระดับชาติ

29-04-2025
GD1

เมื่อวันที่ 29 เม.ย. ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผอ.องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) แถลงข่าว “NSM ผลักดันการพัฒนาด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์สู่สังคมพร้อมต่อยอดแรงบันดาลใจสร้างโอกาสให้กับทุกช่วงวัย” ที่องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ว่า ขณะนี้ NSM ได้ดำเนินการพัฒนาบุคลากรด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์หรือนักสื่อสารวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างสังคมวิทยาศาสตร์ สังคมแห่งการมีเหตุมีผล มีหลักคิดที่ถูกต้อง โดยมุ่งส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของเด็ก เยาวชน และประชาชนให้มีความรู้ ความเข้าใจและทักษะในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพผ่านโครงการต่าง ๆ ของ NSM เพื่อเผยแพร่ความสำคัญและคุณค่าของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สู่สังคมไทยอย่างต่อเนื่องพร้อมทั้งผลักดันการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งเป็นหัวใจของการพัฒนาประเทศในอนาคต ถือเป็นอีกหนึ่งนโยบายของ น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.กระทรวง อว. ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับคนทุกช่วงวัย ให้สามารถผลิตและพัฒนากำลังคนที่มีคุณภาพ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้ในอนาคต

GD12

“คนมองว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องยาก ซับซ้อน แต่วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องสำคัญต่อการดำเนินชีวิต ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของ NSM ที่ต้องทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย เข้าถึงประชาชน จึงต้องมีการสร้างนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ขึ้นมาเป็นเครื่องมือหรือกลไกในการทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย และสื่อสารเรื่องของวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีความเป็นเหตุเป็นผลให้ประชาชนได้เข้าใจอย่างถูกต้อง ปัจจุบันมีคนหลากหลายช่วงวัยมาร่วมกิจกรรมการเป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์กับ NSM จำนวนไม่น้อย และไม่จำกัดเฉพาะในแวดวงวิทยาศาสตร์ แต่มีกลุ่มคนหลากหลายอาชีพ เช่น นักกฎหมาย นักสิ่งแวดล้อม อาจารย์มหาวิทยาลัย และผู้เชี่ยวชาญในสายสังคมศาสตร์ เป็นต้น ขณะนี้ เราสามารถผลิตนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ให้กับสังคมไทยได้มากกว่า 1,000 คนแล้ว” ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผอ. NSM กล่าว

NSM0013

ผอ.NSM กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา NSM ได้ผลักดันการพัฒนาด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ผ่านโครงการต่าง ๆ อาทิ โครงการ NSM Junior Science Influencers เวทีที่ค้นหา Influencers รุ่นเยาว์ระดับประถมศึกษา,  โครงการ SiT Talks: Science inspired by Teen เวทีส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า, โครงการจิตอาสาฯ  ที่เปิดโอกาสให้เยาวชนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้มาทำงานจริงในแหล่งเรียนรู้ของ NSM, โครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย Young Thai Science Ambassador (YTSA) ,โครงการ University Students’ Science, Technology and Innovation Talks (UniTi Talks) พัฒนาศักยภาพนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ให้เป็นกระบอกเสียงที่ทรงพลังเพื่อร่วมขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาและลดผลกระทบต่อโลก, โครงการอาสาสมัครวัยเก๋า ที่สร้างโอกาสให้กับผู้สูงอายุได้กลับมาสนุกกับการทำงานอีกครั้ง  โดยนำความรู้ความเชี่ยวชาญมาถ่ายทอดเรื่องราวและประสบการณ์ให้กับผู้เข้าชมในพิพิธภัณฑ์  ปัจจุบันรับสมัครผู้สูงอายุมาถึงรุ่นที่ 3 แล้ว จะเริ่มปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 14 พ.ค. – 31 ก.ค. 2568 นี้ ที่ NSM คลองห้า ปทุมธานี, จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. เดอะ สตรีท รัชดา และจัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. เชียงใหม่

GD13

 “การขับเคลื่อนการสื่อสารวิทยาศาสตร์ให้เกิดผลอย่างยั่งยืน ต้องอาศัยพลังและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน NSM ได้ขยายการทำงานร่วมกับโรงเรียน มหาวิทยาลัย ภาครัฐ เอกชน และสถาบันวิจัยต่าง ๆ ผ่านโครงการ Empowering Science Communication and Science Museums เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และร่วมกันพัฒนาแนวทางการสื่อสารวิทยาศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการสร้างความร่วมมือในระดับนานาชาติกับพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และองค์กรด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ในต่างประเทศอีกด้วย” ผศ.ดร.รวิน กล่าว

เมื่อถามว่าอะไรคือความท้าทายที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาการสื่อสารวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยในปัจจุบัน?

NSM0015

ผศ.ดร.รวิน ตอบว่า "ความท้าทายที่สำคัญในการพัฒนาการสื่อสารวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยมีหลายประการ อาทิ ต้องเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเยาวชน ชุมชนในพื้นที่ห่างไกล หรือกลุ่มที่มีความสนใจเฉพาะด้าน หรือการทำให้วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่เข้าใจง่ายและน่าสนใจสำหรับคนทั่วไปยังคงเป็นความท้าทายที่สำคัญ รวมทั้งต้องมีการพัฒนาทักษะความรู้ของนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ เพื่อให้สามารถถ่ายทอดเนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดจนการนำเทคโนโลยีและสื่อใหม่ ๆ มาใช้ ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและการใช้สื่อดิจิทัล ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารวิทยาศาสตร์ได้น่าสนใจมากขึ้น"

ข่าวสารที่่คล้ายกัน