3 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดพิธีปิดและประกาศผล “การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์เยาวชนกลุ่มประเทศอาเซียน ครั้งที่ 8 The 8th ASEAN Student Science Project Competition (ASPC 2022) รูปแบบออนไลน์ โดยมี นายสุวรงค์ วงษ์ศิริ รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ พร้อมด้วย ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ร่วมมอบรางวัลและแสดงความยินดีในพิธีปิดฯ ดังกล่าว เยาวชนไทยคว้ารางวัล 6 รางวัล และเยาวชนจากสิงคโปร์คว้าสุดยอดรางวัล Project Of The Year 2022 ไปครอง
นายสุวรงค์ วงษ์ศิริ รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ กล่าวว่า “อพวช. และสมาคมวิทย์ฯ เปิดโอกาสให้เยาวชนในกลุ่มประเทศอาเซียนได้มีเวทีการประกวดโครงงานด้านวิทยาศาสตร์ที่มีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาตินอกจากจะเป็นการสนับสนุนให้เยาวชนได้พัฒนาทักษะและความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์แล้ว ยังช่วยสร้างเครือข่ายของกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่เพื่อสนองความใฝ่รู้และความสามารถของพวกเขาในด้านวิทยาศาสตร์ให้มากยิ่งขึ้น โดยขอชื่นชมเยาวชนทั้ง 6 ทีม ที่ได้รับรางวัล รวมทั้งเยาวชนทุกคนที่เข้าร่วมในการประกวดฯ ครั้งนี้ ถือว่าเป็นการเก็บเกี่ยวประสบการณ์อันมีค่า โดยขอให้เยาวชนทุกคนมุ่งมั่นพัฒนาผลงานและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์และสามารถนำไปต่อยอดพัฒนาประเทศชาติของตนเองต่อไป”
ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ กล่าวว่า “สำหรับกิจกรรมการ“การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์เยาวชนกลุ่มประเทศอาเซียน ครั้งที่ 8 The 8th ASEAN Student Science Project Competition (ASPC 2022) รูปแบบออนไลน์ ได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-3 กรกฎาคม 2565 ในรูปแบบออนไลน์ เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 - 6 ได้ใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อสร้างสรรค์แนวคิดด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมผ่านการบูรณาการความรู้ในการเชื่อมโยงและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ถือเป็นกิจกรรมสำคัญที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะของเยาวชนและการแบ่งปันประสบการณ์ พร้อมสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยมีเยาวชนกลุ่มประเทศอาเซียนเข้าร่วมทั้งหมด 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ เมียนมาร์ และกัมพูชา ซึ่งโครงงานแต่ละสาขาของเยาวชนปีนี้มีความหลากหลายและสามารถสะท้อนมุมมองความคิดของเยาวชนได้ดี ซึ่งสามารถสร้างสรรค์ผสมผสานแนวคิดด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่เพื่อนำมาแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม และขอแสดงความยินดีต่อความสำเร็จของเยาวชนทุกคน ซึ่งเวทีนี้ถือเป็นโอกาสที่เยาวชนจะสามารถพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้อย่างเต็มที่ และได้นำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ไปใช้ให้เกิดประโยชน์และเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนต่อไป”
สำหรับผลรางวัล “การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์เยาวชนกลุ่มประเทศอาเซียน ครั้งที่ 8 The 8th ASEAN Student Science Project Competition (ASPC 2022) รูปแบบออนไลน์ มีดังนี้
รางวัล Project Of The Year 2022
ได้แก่ Eunice Ho จากประเทศสิงคโปร์ กับ โครงงาน Metalloenzyme (เอมไซด์ที่มีโคแฟคเตอร์เป็นอิออนของโลหะ) ประดิษฐ์โดยการสร้างไซด์ตัวเร่งในโครงข่าย DNA
ประเภท Project Proposal
รางวัลชนะเลิศ –
รางวัลที่ 2 ได้แก่ Syed Hariz Al-Idrus Bin Syed Mohammad Hafiz Al-Idrus, Harith Bin Mohd Aizam และ Muhammad Dhahir Eddin Bin Mohd Johan จากประเทศมาเลเซีย กับ โครงการ ACQUAVOLT
รางวัลที่3 ได้แก่ Empiseysocheata In และ Vatthanateppy Sopheak จากประเทศกัมพูชา กับ โครงงาน เครื่องแปลงก๊าซพิษ (The Toxic Gases Converting Machine)
รางวัลชมเชย ได้แก่ May Han Htoo, Tharyar Min และChaw Khant Khant Zaw จากประเทศเมียนมาร์ กับ โครงการ เครื่องฟอกอากาศธรรมชาติ (Air Purifier with Natural)
ประเภท Full Experimental Project
หัวข้อ “วิทยาศาสตร์กายภาพ”
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ Tianshi Qi และ An Wei Teck จากประเทศสิงคโปร์ กับ โครงงานผลของแอนไอโซโทรปีแม่เหล็กต่อกระแสการหมุนที่ขับเคลื่อนโดยการหมุนด้วยแม่เหล็กอัตโนมัติ (Effect of magnetic anisotropy on spin current-driven magnetization auto-oscillation)
รางวัลที่ 2 ได้แก่ Jing Rong Daryl Wang จากประเทศสิงคโปร์ กับ โครงงานการสังเคราะห์การไหลอย่างต่อเนื่องเพื่อการเข้าถึงที่รวดเร็วของสารออกฤทธิ์เร็วทางเภสัชกรรม (Continuous Flow Synthesis for rapid access of Active Pharmaceutical Ingredients)
รางวัลที่ 3 ได้แก่ นางสาวชาลิสา ศรีคำ จากประเทศไทย กับ โครงงานการกำหนดอายุและการเปรียบเทียบกระจุกดาวทรงกลมเปิดโดยใช้ HR ไดอาแกรม (Age determination and comparison of open and globular star clusters by HR-diagram)
รางวัลชมเชย ได้แก่ Tan Jun Wei จากประเทศสิงคโปร์ กับ โครงงานการออกแบบสเปกตรัมแฮมินตันและที่ไม่ใช่แฮมินตันโดยแผนที่แสดงด้วยไฟฟ้าสถิต (Designing Arbitrary Non-Hermitian Hamiltonian Spectra via Electrostatic Conformal Maps)
หัวข้อ “วิทยาศาสตร์ชีวภาพ”
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ Xu Rulin และ Zhao Xinyue จากประเทศสิงคโปร์ กับ โครงงานการตรวจสอบผลกระทบของยีน YWHAB ต่อการเติบโตของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Investigating the effects of YWHAB gene on colorectal cancer cell growth)
รางวัลที่ 2 ได้แก่ นายพณทรรศน์ ชัยประการ, นายปรวัฒน์ ดอนทะนาม และนายสิรวิชญ์ เหลาลาภะ จากประเทศไทย กับ โครงงานผลของสารสกัดจากพืชสมุนไพรไทยต่อชีววิทยาของหนอนไหมและคุณภาพของผลผลิตแผ่นใยไหม: แนวทางใหม่สำหรับการผลิตฝักไหมอย่างมีประสิทธิภาพ (The Effect of Herbal Extract Supplementation on Biological and Productive Character of Silkworm: A Novel Approach for Efficient Silk Sheath Production)
รางวัลที่ 3 ได้แก่ นางสาวอาภรพัฒน์ ธารเลิศ และนายสรยุทธ ถนนแก้ว จากประเทศไทย กับ โครงงานการพัฒนาระบบนิเวศเทียมสำหรับการอนุบาลหิ่งห้อย (The Development of an Artificial Ecosystem for Firefly Nursery)
รางวัลชมเชย ได้แก่ Vania Anindita Hartomo และNajikha Aaliyah Azhar จากประเทศอินโดนีเซีย กับ โครงงานการวิเคราะห์ศักยภาพของสารประกอบจากเปลือกมังคุด เพื่อเป็นสารยับยั้งไกลโคโปรตีน 2019-nCOV ตามแนวทางเคมีเชิงคำนวณ: การเทียบเคียงระดับโมเลกุล(Analysis of the Potential of Mangosteen Compounds as Glycoprotein Inhibitors 2019-nCOV Based on Computational Chemistry Approach: Molecular Docking)
รางวัลชมเชย ได้แก่ นายบวรชัย สุขชัยบวร, นางสาวพิทยาภรณ์ ทองคู่ และนางสาวศิรประภา พิมดี จากประเทศไทย กับ โครงงานการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาและกลไกการดักจับเหยื่อของ Dionea Muscipula เพื่อการนำไปประยุกต์ใช้ (Study of Morphology and Prey Trapping Mechanism of Dionea Muscipula for Application)
หัวข้อ “วิทยาศาสตร์ประยุกต์”
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นายพัณณ์เดชน์ สร้อยสมุทร และนายธีรดณย์ ศักดิ์เพชร จากประเทศไทย กับ โครงงานการพัฒนาโมเดลการเรียนรู้เชิงลึกด้วยเทคนิค Semi-Supervised Learning กับ Graph Neural Networks สำหรับการทำนายการตอบสนองของยาเพื่อนำไปสู่การค้นหาตัวยับยั้ง HIV (Semi-Supervised Learning with Graph Neural Networks to Improve the Predictive Performance of Drug Response for HIV-1 Protease Inhibitors)
รางวัลที่ 2 ได้แก่ Farrel Aryo Wahyudi จากประเทศอินโดนีเซีย กับ โครงงานนวัตกรรมสายรัดข้อมือสำหรับเฝ้าติดตามอุณหภูมิร่างกาย (0C) อัตราการเต้นของหัวใจ (bpm) และระดับการอิ่มตัวของออกซิเจน(%spO2) แบบเรียลไทม์ โดยใช้วิธีโฟโตเพลทิสโมกราฟ (Wrist Strap Innovation for Body Temperature (oC), Heart Rate (bpm), and Oxygen Saturation Level (%SpO2) Real-Time Monitoring Using Photoplethysmograph Method)
รางวัลที่ 3 ได้แก่ Jay Tan Jun Jie จากประเทศสิงคโปร์ กับ โครงงานการแยกแยะการปลอมปนน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ด้วยการเก็บประจุแบบไม่ทำลาย (Discrimination of Extra Virgin Olive Oil Adulteration Through Non-destructive Capacitance Methods)
รางวัลชมเชย ได้แก่ Aung Kaung Pyae, Yoon Thiri Aung และMya Phoo Khin จากประเทศเมียนมาร์ กับ โครงงานแบบจำลองการไหลของจราจรขนาดใหญ่ของย่างกุ้ง เมียนมาร์ สำหรับการคาดประมาณเวลาการเดินทางแบบเรียลไทม์ (Macroscopic traffic flow models of Yangon, Myanmar for real-time travel time estimation)
รางวัลชมเชย ได้แก่ Jiayue Zou จากประเทศสิงคโปร์ กับ โครงงานการเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนาดเล็กแบบ heterotrophic ในเศษอาหารย่อยเพื่อผลิตชีวมวลและการฟื้นฟูสารอาหาร (Heterotrophic cultivation of microalgae in food waste digestate for simultaneous biomass production and nutrient remediation)
รางวัลชมเชย ได้แก่ Ryan Chin Rui En จากประเทศสิงคโปร์ กับ โครงงานการตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่าง pH และความคงตัวของอิมัลชั่นน้ำมันในน้ำกับเลซิตินจากถั่วเหลือง ด้วยความเข้มข้นของโพแทสเซี่ยมคลอไรด์ที่เติมผ่านการไทเทรตด้วยเกลือและความคงตัวของอิมัลชั่นที่ได้จากการนำ (Investigating the relationship between pH and the stability of oil-in-water emulsions with soy lecithin with Critical Coagulation Concentration of Potassium Chloride added via salt titration, and conductivity-derived emulsion stability)
รางวัลชมเชย ได้แก่ นายภานุวัฒน์ วงศ์พัฒนวุฒิ จากประเทศไทย กับ โครงงานโปรแกรมสำหรับวินิจฉัยคัดกรองผู้ป่วยจากอาการปอดติดเชื้อ COVID-19 จากการจำแนกระดับความอันตรายด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์จากภาพฟิลม์เอกซ์เรย์(Program to Help Diagnose and Screen Patients for Symptoms of Lung Infection with COVID-19 by Categorizing the Hazard level from X-ray Film Images with Artificial Intelligence)