25 กรกฎาคม 2566 / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เป็นประธานในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นเจ้าหน้าที่รัฐที่ดีและพลังของแผ่นดิน ประจำปี 2566 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2566 โดยมี คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ อพวช. ร่วมในพิธีฯ ดังกล่าว พร้อมลงนามถวายพระพรชัยมงคล ณ บริเวณโถงทางเข้าสำนักงาน อาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
30 พฤศจิกายน 2566 / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM เป็นประธานร่วมการประชุม Thematic Forum 2: New Ideas for Setting Up of Science and Technology-related Mueums under the Concept of STEM Education พร้อมด้วย ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการ อพวช. ร่วมเป็นวิทยากรใน Thematic Forum 3: Science and Technology – related Museums Promoting the Integrated Development of STEM Education and Cultural Education ภายใต้หัวข้อ “Science Museum and Cultural Education Promoting Identity, Creativity and Empathy for Future Generation.” ณ China Science and Technology Museum (CSTM) กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน นอกจากนี้ คณะเจ้าหน้าที่ อพวช. ยังได้เข้าร่วมกิจกรรมในงาน Belt and Road Initiative Science Museum International Symposium (BRISMIS) อาทิ การอบรมเชิงปฏิบัติการ The International Training Workshop on Capacity Building for Professionals of Science Centers and Museums เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ประสบการณ์การดำเนินงานการเรียนรู้ตามอัธยาศัยด้านสะเต็มศึกษาและการพัฒนากิจกรรมเสริมศึกษาในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์, Partnered Workshop 1: Focusing on Science Education in Science Centers and Museums for Better Life และPartnered Workshop 2: Exploration and Practices of STEM Education in Planetariums
เมื่อวันที่ 30 พ.ย. นางสาวสุชาดา แทนทรัพย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดงาน “คาราวานวิทยาศาสตร์ อพวช. จ.ชัยภูมิ” โดยมี นายสุวรงค์ วงษ์ศิริ รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM และนายธีรพงษ์ ชัยชนะกลาง รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ร่วมเปิดงาน ณ โรงเรียนบ้านบ่อทอง อ.หนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ
29 พฤศจิกายน 2566 / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ หรือ NSM ลงนามบันทึกความเข้าใจกับ Guangxi Zhuang Autonomous Region Science and Technology Museum เพื่อร่วมกันส่งเสริมความร่วมมือในการสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ให้แก่เยาวชนและประชาชนผ่านการจัดแสดงกิจกรรมและนิทรรศการด้านวิทยาศาสตร์ รวมถึงการร่วมพัฒนางานด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ของ อพวช. ทั้งนี้ ผศ.ดร.รวินฯ ได้เข้าร่วมงาน Belt and Road Initiative Science Museum International Symposium (BRISMIS) ภายใต้แนวคิดหลัก “Making Life Better for All: STEM Education in an Informal Context” โดยมี ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการ อพวช. ดร.นพรัตน์ เทพเทพา ผู้อำนวยการสำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา และเจ้าหน้าที่ อพวช. เข้าร่วม โดยงานจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 27 พฤศจิกายน - 1 ธันวาคม 2566 ณ China Science and Technology Museum (CSTM) กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
28 พฤศจิกายน 2566 / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM ลงนามความร่วมมือกับ พลเรือตรีอนันท์ สุราวรรณ์ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ เพื่อร่วมมือกันสื่อสารและสร้างทัศนคติเชิงบวกด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยเฉพาะการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลให้กับเยาวชน โดยมี นายสุวรงค์ วงษ์ศิริ รองผู้อำนวยการ อพวช. ดร.พีรนุช กัณหดิลก ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาความตระหนักด้านวิทยศาสตร์ อพวช. พร้อมด้วย นาวาเอก สุริยัน สำราญใจ เสนาธิการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ และนาวาเอก เจษฎา เหลืองวงษ์ รองผู้บังคับการกรมรบพิเศษ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามฯ ดังกล่าว ณ ห้องประชุมยูเรก้า ชั้น 2 สำนักงาน อพวช. พร้อมกันนี้ คณะจากหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ได้เยี่ยมชมการดำเนินงานพิพิธภัณฑ์พระรามเก้าและพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ อพวช.
28 พฤศจิกายน 2566 / นายไกร เอี่ยมจุฬา รองผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “คาราวานวิทยาศาสตร์ อพวช. จ.ยโสธร” โดยมี ดร.ชนินทร วรรณวิจิตร รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM และดร.ชัชพล รวมธรรม ผู้อำนวยการโรงเรียนยโสธรพิทยาคม ให้การต้อนรับ พร้อมนำชมนิทรรศการและกิจกรรมภายในงาน อาทิ นิทรรศการวิทยาศาสตร์เคลื่อนที่ กิจกรรมการแสดงทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งงานฯ จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 28 พฤศจิกายน - 1 ธันวาคม 2566 ณ โรงเรียนยโสธรพิทยาคม จ.ยโสธร
25 พฤศจิกายน 2566 / องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และบริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด จัด “อบรมพัฒนาทักษะการเขียนนิยายวิทยาศาสตร์” ส่วนหนึ่งในกิจกรรมของ “โครงการประกวดนิยายวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2567” เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนและผู้ที่สนใจในวิทยาศาสตร์ที่มีใจรักงานเขียน ได้รับประสบการณ์ในการฝึกทักษะด้านการเขียนนิยายวิทยาศาสตร์จากผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ เพื่อนำไปเป็นแนวคิดในการเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ต่อไปในอนาคต ณ ห้อง IT Auditorium พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ขอแสดงความยินดีกับ นางสาวปาณิสรา วงศ์ทวีพิทยากุล ผู้ชนะจากการแข่งขัน “FameLab Thailand 2023” ที่เป็นตัวแทนประเทศไทยในการเข้าร่วมการแข่งขัน FameLab International Competition 2023 (Online) เวทีนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ระดับโลก โดยได้นำเสนอในหัวข้อ “3D Food printer” ผลปรากฏว่าสามารถคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 มาครอง สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย พร้อมยกระดับเป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์คนไทยที่มีคุณภาพระดับนานาชาติ
23 พฤศจิกายน 2566 / ดร.ชนินทร วรรณวิจิตร รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM ลงนามความร่วมมือกับ ผศ.ดร.ปรีชา ศรีเรืองฤทธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ เพื่อร่วมมือกันสื่อสารและสร้างทัศนคติเชิงบวกด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยเฉพาะในการจัดกิจกรรมคาราวานวิทยาศาสตร์ อพวช. ในการส่งเสริมการเรียนรู้ด้าน วทน. ให้กับเยาวชนนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของเยาวชนในชนบทและพื้นที่ห่างไกลในอนาคต โดยมี นายสุวิทย์ เปานาเรียง ผู้อำนวยการสำนักวิทยาศาสตร์สู่ชุมชน อพวช. และผศ.ดร.เดือนฉาย ไชยบุตร รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามฯ ดังกล่าว พร้อมคณะผู้บริหาร อพวช. ได้เข้าร่วมในพิธีเปิดงานครบรอบ 50 ปี กับมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ณ หอประชุม 50 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
21 พฤศจิกายน 2566 องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การใช้ประโยชน์สื่อและแหล่งเรียนรู้ อพวช. เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต” ให้กับครู อาจารย์ และผู้ที่สนใจ โดยมี ดร.นันทิดา ศรีเปารยะ ผู้อำนวยการกองพัฒนาธุรกิจ สำนักพัฒนาธุรกิจและเครือข่าย อพวช. เป็นวิทยากรในการสัมมนาฯ ดังกล่าว ณ ห้อง The Blank Space อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้เข้าเยี่ยมพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ และชมกิจกรรมการแสดงหนังใหญ่ คณะวัดบ้านดอน ของงาน Harmony World Puppet Toys Robot Innovation Festival 2023 หรือ เทศกาลหุ่นโลก อีกด้วย
21 พฤศจิกายน 2566 / ดร.กนิษฐา ทองเลิศ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ เป็นประธานเปิด “คาราวานวิทยาศาสตร์ อพวช. จ.อุบลราชธานี” โดยมี นายถิรพงศ์ เกียรตินันทน์ ผู้อำนวยการสำนักบริการผู้เข้าชม องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM และว่าที่ร้อยตรีหญิงกอบสมุทร ศรีดา ผู้อำนวยการโรงเรียนลือคำหาญวารินชำราบ ร่วมให้การต้อนรับ ณ โรงเรียนลือคำหาญวารินชำราบ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
NSM ร่วมเปิด “เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 19” คิดใหม่ สร้างใหม่ ฟื้นฟู ชมฟรีหนังดีจากนานาชาติ วันนี้ - 20 ธ.ค. 66
21 พฤศจิกายน 2566 / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM พร้อมด้วย นายพงศธร กาญจนะจิตรา รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี นางสาวสุวิมล วิมลกาญจนา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายสัมพันธ์และแหล่งทุน กระทรวงวัฒนธรรม นายวัชระ ก้องพลานนท์ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายพัฒนาการจัดงานเมกะอีเวนท์และเทศกาลนานาชาติ หรือ TCEB และนายนิมิตร พิพิธกุล ผู้อำนวยการมูลนิธิหุ่นสายเสมา สมาพันธ์หุ่นนานาชาติประเทศไทย ร่วมแถลงข่าวเปิดงาน Harmony World Puppet Toys Robot Innovation Festival 2023 หรือ เทศกาลหุ่นโลก ณ ห้อง IT Theater ชั้น 1 อาคาร พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM พร้อมด้วย ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการ อพวช. เข้าร่วม “การประชุมผู้บริหารระดับสูงของพิพิธภัณฑ์/ศูนย์วิทยาศาสตร์ทั่วโลก International Director’s Forum (IDF 2023)” ซึ่งเป็นการประชุมระหว่างผู้บริหารระดับสูงของพิพิธภัณฑ์/ศูนย์วิทยาศาสตร์ทั่วโลก จัดโดย เครือข่ายความร่วมมือระหว่างศูนย์/พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (Asia Pacific Network of Science & Technology Centres; ASPAC) ร่วมกับเครือข่ายศูนย์/พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์จากทั่วโลก ได้แก่ เครือข่ายศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งอเมริกาเหนือ (Association of Science Technology Centers; ASTC), เครือข่ายศูนย์/พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งยุโรป (European Network Science Centres and Museums; ECSITE), เครือข่ายศูนย์วิทยาศาสตร์แห่งแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง (The North Africa and Middle East Science Centers Network; NAMES), เครือข่ายเพื่อสร้างความสนใจด้านวิทยาศาสตร์แห่งละตินอเมริกา (Latin American and Caribbean Network for the Popularization of Science and Technology; RedPOP) และเครือข่ายศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งแอฟริกาใต้ (The South African Association of Science & Technology Centres; SAASTEC) เพื่อหารือสถานการณ์ความเข้าใจผิดจากข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ (misconception) และวิกฤตการณ์เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของโลก (planetary crisis) พร้อมร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวโน้มและการคาดการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นเพื่อวางแผนกลยุทธ์ในการบริหารงานแหล่งเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในอนาคต โดยการประชุมฯ ดังกล่าว จัดขึ้นในวันที่ 14-17 พฤศจิกายน 2566 ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ยูเรก้า (Heureka) สาธารณรัฐฟินแลนด์
เมื่อวันที่ 17 พ.ย. เวลา 14.30 น. ที่องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ(อพวช.) บริเวณลานหน้าอาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ จัดพิธีเคลื่อนขบวน “คาราวานวิทยาศาสตร์ อพวช. สู่ภูมิภาค” โดยมี น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธาน พร้อมด้วย นางสาวสุชาดา แทนทรัพย์ เลขานุการ รมว.อว. ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการ อพวช. นายสุวรงค์ วงษ์ศิริ รองผู้อำนวยการ อพวช. นางสาวสุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวง อว. ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และดร.ทวีศักดิ์ บรรลือสินธุ์ ผู้จัดการฝ่ายกิจกรรมองค์กรและรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท เอ็กซอนโมบิล จำกัด เข้าร่วม ซึ่งบรรยากาศเป็นไปด้วยความคึกคึก โดยมี ขบวนรถคาราวานขนาดใหญ่กว่า 5 คัน พร้อมเจ้าหน้าที่ใส่ชุดแฟนซีวิทยาศาสตร์ ทั้งชุดอวกาศ ชุดเสื้อกาวน์ห้องแล็บ ชุดหุ่นยนต์ในรูปแบบต่าง ๆ ร่วมสร้างสีสัน รวมทั้งผู้แทนจากหน่วยงานพันธมิตรร่วมจัด อาทิ กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.), สํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ.),สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.), สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), TK Park อุทยานการเรียนรู้ และประชาชน นักเรียน เข้าร่วมกว่า 100 คน
13 พฤศจิกายน 2566 / นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เข้าตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยมี นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) และคณะผู้บริหารในสังกัดกระทรวง อว. พร้อมด้วย ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM ให้การต้อนรับ โดย ท่านรองนายกฯ ได้ชมนิทรรศการการจัดแสดงผลงานเด่นของหน่วยงานต่าง ๆ ในกระทรวง อว. ทั้งนี้ อพวช. ได้นำผลงานโครงการศูนย์นวัตกรรมแห่งอนาคต (ฟิวเจอร์เรียม), นิทรรศการ “Taxidermy” สัตว์สตัฟฟ์ และหุ่นยนต์ Smart AI Curator ไปร่วมจัดแสดง ณ อาคารพระจอมเกล้า สำนักงานปลัดกระทรวง อว. ถนนโยธี กรุงเทพฯ
11 พฤศจิกายน 2566 / นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทานกระทรวง อว. ประจำปี 2566 โดยมี นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ ปลัดกระทรวง อว. นางสาวสุชาดา แทนทรัพย์ เลขานุการ รมว.กระทรวง อว. พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร กระทรวง อว. โดยมี นายชนินทร วรรณวิจิตร รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ร่วมในพิธี ฯ ดังกล่าว ณ วัดพรหมนิวาสวรวิหาร ต.ท่าวาสุกรี อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งยอดเงินที่ถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน กระทรวง อว. ประจำปี 2566 เป็นจำนวนยอดเงินรวม 1,600,000 บาท (หนึ่งล้านหกแสนบาทถ้วน)
9 พฤศจิกายน 2566 / นายสุวรงค์ วงษ์ศิริ รองผู้อำนวยการ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM เป็นประธานเปิดกิจกรรม “ค่ายการสื่อสารเสริมและทางเลือกอื่นสำหรับนักเรียนพิการทางร่างกายและการเคลื่อนไหวที่มีข้อจำกัดในการสื่อสารด้วยการพูด (AAC One Day Camp)” โดยมี นางสาวอลิสา สุวรรณรัตน์ นักวิชาการอาวุโส สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และคณะทำงานมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และนางมีนา รอดคล้าย ผู้อำนวยการโรงเรียนศรีสังวาลย์ของมูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ร่วมเปิดกิจกรรมฯ ซึ่งมีนักเรียนจากโรงเรียนศรีสังวาลย์ฯ จำนวน 20 คน เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์และทำกิจกรรมร่วมกัน พร้อมได้รับชุดสื่อการเรียนรู้จาก อพวช. ณ ห้องการแสดง พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
8 พฤศจิกายน 2566 / ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายในงาน “Belt and Road International Science Education Innovation and Practical Achievement Exchange Conference” ในหัวข้อ “STEAM Promotion: From Traditional Toy Making to Space and Aviation Technology” เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมเยาวชนโดยเฉพาะด้านสะเต็มศึกษาไปพร้อมกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ด้านเทคโนโลยีอวกาศผ่านของเล่นภูมิปัญญาไทย ณ นครฉงชิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
7 พฤศจิกายน 2566 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) วีดีโอคอลส่งกำลังใจให้ทีมเยาวชนไทยในการเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์นานาชาติ (World Robot Olympiad 2023) ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 7-9 พฤศจิกายน ณ สาธารณรัฐปานามา โดยท่าน รมว.อว. ได้อวยพรให้เด็ก ๆ เป็นขวัญกำลังใจพร้อมให้ตั้งใจในการแข่งขัน และใช้โอกาสในการสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อน ๆ ต่างชาติ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ในการพัฒนาด้านหุ่นยนต์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่เด็ก ๆ และประเทศชาติต่อไปในอนาคต สำหรับการแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ฯ ครั้งนี้ ถือเป็นหนึ่งในรายการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับเยาวชนที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยในปีนี้มีผู้เข้าร่วมการแข่งขันกว่า 650 ทีม จาก 74 ประเทศ ซึ่งแต่ละประเทศจะมีการจัดการแข่งขันในระดับประเทศและส่งตัวแทนทีมเยาวชนที่ชนะเข้าร่วมการแข่งขันในระดับนานาชาติ ซึ่งในประเทศไทย จัดขึ้นโดย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (NSM) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับ บริษัท แกมมาโก้ (ประเทศไทย) จำกัด โดยปีนี้ได้ส่งตัวแทนทีมเยาวไทยเข้าร่วมการแข่งขันทั้งสิ้น 14 ทีม สามารถรับชมการแข่งขันผ่าน YouTube : World Robot Olympiad
7 พฤศจิกายน 2566 / นางสาวจีรพัชรินทร์ อรรถจินดา ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาธุรกิจและเครือข่าย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM ร่วมแถลงข่าวการจัดงาน Night at the Museum Festival 2023 เทศกาลท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ในยามค่ำคืน ภายใต้แนวคิด “Make your own night with Museum Experiences: ร่วมสัมผัสประสบการณ์เที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืนด้วยตัวคุณ” จัดโดย สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) และเครือข่าย 48 พิพิธภัณฑ์ไทยทั่วประเทศ โดยมี นายจาตุรนต์ ภักดีวานิช อธิบดีกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, นางณัฐพรรณ ตรีเดชา ผู้อำนวยการกองส่งเสริมสินค้าท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, ดร.สุรัชสานุ์ ทองมี ผู้อำนวยการ สำนักส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ ภาคกลาง, นายสิงห์ลิ้ม พิรัตน์ รองผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรมกีฬาและการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร, ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้และนางสาวสุขุมาล ผดุงศิลป์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ร่วมแถลงข่าวฯ ณ ห้องอเนกประสงค์ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม) กรุงเทพฯ
6 พ.ย. 2566 / นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำคณะผู้บริหารในสังกีดกระทรวง อว. เข้าร่วมการประชุม Belt and Road International Science Education Coordinating Consortium (BRISEC) ประจำปี 2566 เพื่อร่วมหารือการดำเนินงานกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม แก่เยาวชน พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมเยาวชนโดยเฉพาะด้านสะเต็มศึกษา โดยมี ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) และดร.พีรนุช กัณหดิลก ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เข้าร่วมการประชุมฯ ในระหว่างวันที่ 5 - 11 พฤศจิกายน 2566 ณ นครฉงชิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับ บริษัท แกมมาโก้ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมส่งตัวแทนทีมเยาวชนไทยเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ ระดับนานาชาติ ประจำปี 2566 (World Robot Olympiad 2023) โดยมี ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) พร้อมด้วย นายนิติ บุณยเกียรติ ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมและการผลิตสื่อ อพวช. และดร.นวลวรรณ ชะอุ่ม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท แกมมาโก้ (ประเทศไทย) ร่วมเดินทางไปเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับน้อง ๆ เยาวชนตัวแทนประเทศไทยชิงแชมป์ในการแข่งขันฯ ในระหว่างวันที่ 7-9 พฤศจิกายน 2566 ณ สาธารณรัฐปานามา
3 พฤศจิกายน 2566 / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) พร้อมด้วย นายนิติ บุณยเกียรติ ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมและการผลิตสื่อ อพวช. เข้าพบและร่วมแสดงความยินดี กับ นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่ ณ อาคารพระจอมเกล้า สำนักงานปลัดกระทรวง อว. (ถนนโยธี)
31 ตุลาคม 2566 / นายสุวรงค์ วงษ์ศิริ รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM เป็นประธานเปิด “นิทรรศการมายาประดิษฐ์” (Fascination of Film Making) ชวนทุกคนออกเดินทางท่องโลกการสร้างภาพยนตร์จากหนังสั้นเรื่องแรกสู่อุตสาหกรรมบันเทิงที่ทรงอิทธิพลระดับโลก มาสัมผัสประสบการณ์เรียนรู้ผ่านพัฒนาการของเทคโนโลยีและกระบวนการผลิตที่เต็มไปด้วยองค์ประกอบของศาสตร์และศิลป์ พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการผลิตภาพยนตร์ให้กับเยาวชน ได้เห็นโอกาสทางการเรียนและประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาประเทศด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ต่อไปในอนาคต พร้อมด้วย ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการ อพวช. นางสาวอุมาภรณ์ เครือคำวัง ผู้อำนวยการสำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ อพวช. ผศ.กิตติพร ชูเกียรติ ประธานหลักสูตรสาขาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคุณชญาณี ฉลาดธัญญกิจ อาจารย์ประจําคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม (ตัวแทนจากเครือข่ายนิเทศศาสตร์) ร่วมพิธีเปิดฯ ดังกล่าว ณ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
26 ตุลาคม 2566 / ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ กับ นายธีรบูลย์ พิศาลอภิพงศ์ คณบดีคณะออกแบบและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เพื่อร่วมมือกันสื่อสารและสร้างทัศนคติเชิงบวกด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยเฉพาะในการพัฒนาพื้นที่ภายในพิพิธภัณฑ์โดยใช้ทักษะด้านกระบวนการคิดเชิงออกแบบซึ่งให้นักศึกษาได้ออกแบบและใช้ความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์ ทั้งในด้านการออกแบบพื้นที่ให้มีความน่าสนใจ สนุกสนาน รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และชิ้นงานนิทรรศการของ NSM ร่วมกัน นำไปสู่การพัฒนาหลักสูตรต่าง ๆ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศต่อไป ณ ห้อง LOUNGE ชั้น G1 อาคาร SPU DSPACE มหาวิทยาลัยศรีปทุม
NSM คว้ารางวัล “Amarin Baby & Kids Awards 2023” สาขาแหล่งเรียนรู้นอกบ้านสำหรับเด็ก
26 ต.ค. 2566 / นางสาวอุมาภรณ์ เครือคำวัง ผู้อำนวยการสำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมการประชุม 50th Conference of CIMUSET ภายใต้แนวคิด "Enhancing the Accessibility to Museums" เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพิพิธภัณฑ์ในแต่ละประเทศ และร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสวันครบรอบ 30 ปี ของการก่อตั้ง Hankook Life Science Institute & 21st Century Life Science Foundation สาธารณรัฐเกาหลี โดยการประชุมฯ ดังกล่าว จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 - 27 ต.ค. 2566 ณ National Aviation Museum of Korea สาธารณรัฐเกาหลี
ผอ.NSM ชูโครงการ Quick Win คาราวานวิทยาศาสตร์ อพวช. ทั่วประเทศ เริ่ม 21 พ.ย.นี้ที่อุบลราชธานี พร้อมจับมือ มศว. สำรวจการสร้างแรงบันดาลใจพบมีเยาวชนกว่า 7 ล้านคนเข้าถึงคาราวานวิทยาศาสตร์ อพวช.
25 ต.ค. 2566 / พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานคณะกรรมการอำนวยการโครงการ “สานใจไทย สู่ใจใต้” เป็นประธานในพิธีปิดโครงการ “สานใจไทย สู่ใจใต้” รุ่นที่ 41 โดยมี ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) และร้อยตำรวจโท อาทิตย์ บุญญะโสภัต กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการอำนวยการโครงการฯ พร้อมด้วยเยาวชนจาก 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมพิธีปิดดังกล่าว ณ พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
24 ตุลาคม 2566 / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ในฐานะประธานชมรมรัฐวิสาหกิจเพื่อสังคม (ชรส.) เป็นประธานการประชุมสมาชิก ชรส. ครั้งที่ 4/2566 โดยมีสมาชิกจากรัฐวิสาหกิจเข้าร่วมประชุมและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นร่วมกันตามวัตถุประสงค์หลักของ ชรส. ที่มุ่งสนับสนุนช่วยเหลือชุมชนและสังคมให้สร้างเครือข่ายระหว่างกันและองค์กรต่าง ๆ โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ของรัฐวิสาหกิจและจากภาคีเครือข่ายมาบูรณาการ เพื่อให้เกิดการดำเนินกิจการเพื่อสังคมอย่างยั่งยืน ณ ห้อง IT Auditorium อาคารพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ อพวช. คลองห้า ปทุมธานี
อพวช. ขอแสดงความยินดี รศ.ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ที่ปรึกษาคณะกรรมการ อพวช.
อพวช. เปิดกิจกรรม “ค่ายเปิดโลกการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สานใจไทยสู่ใจใต้ รุ่นที่ 41”
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม โดย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันอุทยานการเรียนรู้ จัดโครงการแข่งขัน “FameLab Thailand 2023” ขึ้น เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของผู้ที่สนใจด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ให้มีทักษะด้านการสื่อสารเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่สังคมไทยอย่างมีประสิทธิภาพ และได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา บริติช เคานซิล และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยในรอบชิงชนะเลิศ ผลปรากฏว่า คุณปาณิสรา วงศ์ทวีพิทยากุล คว้าแชมป์สุดยอดนักสื่อสารวิทย์ จากการนำเสนอในหัวข้อ “The invisible chef” หรือ เชฟล่อนหน พร้อมเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขัน FameLab International Competition (Online) ต่อไป
ดร.ชนินทร์ สุริยกุล ณ อยุธยา ผู้อำนวยการกองสื่อสารวิทยาศาสตร์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) นำทีมเจ้าหน้าที่ อพวช. นายภาษิต หงษ์ทอง รักษาการ ผอ. กองจัตุรัสวิทยศาสตร์ อพวช. และนายอนล ชวพันธุ์ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ อพวช. ร่วมงาน 5th Belt and Road International Science Popularization Activities โดยมีการนำสื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (Pocket Science) สื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในรูปแบบกระเป๋าพกพา ให้ผู้เข้าชมได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างสนุกสนานและเข้าใจง่าย และกิจกรรมการแสดงทางวิทยาศาสตร์ (Science Show) การแสดงวิทยาศาสตร์ที่ตื่นตาตื่นใจ ให้ผู้เข้าชมได้สัมผัสกับประสบการณ์วิทยาศาสตร์อย่างใกล้ชิด เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับผู้เข้าชมงาน อีกทั้งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์ต่อการพัฒนาอารยธรรมของมนุษย์ รวมถึงประโยชน์ที่มนุษย์ได้รับจากความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยงานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 - 22 ตุลาคม 2566 ณ China Optics Valley Convention & Exhibition Center เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ สาธารณรัฐประชาชนจีน
อพวช. ร่วมพิธีเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” เนื่องใน “วันเทคโนโลยีของไทย”
18 ตุลาคม 2566 / องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM ร่วมงานเปิดตัวหนังสือนิทานชุด "เที่ยวพิพิธภัณฑ์" ซึ่งประกอบด้วยหนังสือ 2 เรื่อง ได้แก่ "กุ๋งกิ๋งเที่ยวพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์" และ "กุ๋งกิ๋งเที่ยวพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์" จากสำนักพิมพ์แฮปปี้คิดส์ โดย บริษัท แปลน ฟอร์ คิดส์ จำกัด ทั้งนี้ มีการเสวนาพิเศษพูดคุยถึงเบื้องหลังของการจัดทำหนังสือชุดดังกล่าว โดยมี นายอานุภาพ สกุลงาม ผู้อำนวยการกองวิชาการวิทยาศาสตร์ อพวช. พร้อมด้วย คุณมณิศา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ผู้เขียนนิทานชุดนี้ เป็นวิทยากรร่วมเสวนาภายในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 28 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
วันที่ 17 ตุลาคม 2566 / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM พร้อมด้วย นางสาวจีรพัชรินทร์ อรรถจินดา ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาธุรกิจและเครือข่าย อพวช. เข้าร่วมการประชุมกลุ่ม ASEAN Sub - Committee on S&T Infrastructure ครั้งที่ 59 (SCIRD - 59) ในการประชุมคณะกรรมการอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ครั้งที่ 84 (The 84th ASEAN Committee on Science and Technology and Innovation: COSTI - 84) ทั้งนี้ ได้นำเสนอโครงการ Science Technology Innovation (STI) Enculturation โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ในการส่งเสริมและสร้างความตระหนักรู้ด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์เพื่อกระตุ้นให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์ รวมถึงเผยแพร่วัฒนธรรมทางวิทยาศาสตร์สู่ชุมชนและสังคม ณ จังหวัดโบโฮล สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
เมื่อวันที่ 12 ต.ค. นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานในพิธีบำเพ็ญกุศลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันนวมินทรมหาราช 13 ตุลาคม 2566 โดยมี นางสาวสุชาดา แทนทรัพย์ เลขานุการ รมว.อว. ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัด อว. รักษาราชการแทนปลัดกระทรวง อว. รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ รองปลัด อว. พร้อมด้วย ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) คณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ในสังกัด อว. ร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลสวดพระพุทธมนต์อุทิศถวายเป็นพระราชกุศลฯ เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐยิ่งของปวงชนชาวไทย ณ ห้องแถลงข่าวชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า สำนักงานปลัดกระทรวง อว.
เมื่อวันที่ 10 ต.ค.ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผอ.องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ(NSM) แถลงข่าวโครงการ Quick Win หรือโครงการเร่งด่วนของ NSM ว่า น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) ให้ความสนใจมาดูงานที่ NSM เป็นหน่วยงานแรกใช้เวลามาชมกิจกรรมถึง 2 วันติดกันในฐานะผู้ชม โดย รมว.อว.อยากเห็นกระทรวง อว.เป็นกระทรวงเศรษฐกิจ ตนจึงพยายามพัฒนา NSM ให้เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อน สิ่งสำคัญคือต้องทำให้ NSM เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลกให้ได้ ไม่ใช่เป็นเพียงแหล่งเรียนรู้เท่านั้น เพราะพิพิธภัณฑ์ระดับโลกในประเทศต่างๆ เป็นหมุดหมายของนักท่องเที่ยวที่ต้องการไปเยือน พิพิธภัณฑ์จึงเป็นเสมือนความภาคภูมิใจและเป็นตัวแทนของประเทศนั้น การทำให้พิพิธภัณฑ์เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลกได้จะเป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชน เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของชุมชน จังหวัดและประเทศ
เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ที่ผ่านมา ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM พร้อมด้วย ดร.นพรัตน์ เทพเทพา ผู้อำนวยการสำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา และนายสาธิต ลาภวุฒิรัตน์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และความเสี่ยงองค์กร เข้าร่วมการประชุม ASTC Annual Conference ประจำปี 2023 เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และสร้างความร่วมมือกับพิพิธภัณฑ์สมาชิกเครือข่าย พร้อมนำเสนอผลงานของ อพวช. ในเวทีระดับนานาชาติ ทั้งนี้ ดร.กรรณิการ์ฯ ได้นำเสนอผลงานใน Lighting session ภายใต้หัวข้อ “STEMspiration: Fostering Curiosity and Learning in Museums through STEM Education and Programs - Engaging Teens in Science Communication: Building a Network of Young Science Communicators in Their Community.” พร้อมด้วย ดร.นพรัตน์ฯ นำเสนอใน Poster palooza session ภายใต้หัวข้อ “Inspiration: The Success Factor of Knowledge Transfer.” และนายสาธิตฯ นำเสนอใน Poster palooza ภายใต้หัวข้อ “Creating an Immersive Technology Based on Planetarium Content and an Informal Learning Context.” โดยการประชุมฯ จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 6 - 10 ต.ค. 2555 ณ เมืองชาร์ล็อต รัฐนอร์ทแคโรไลนา สหรัฐอเมริกา
6 ตุลาคม 2566 / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM พร้อมด้วย นางสาววรลักษณ์ ตุลาภรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มการตลาด บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด, นางระวีพรรณ แก้วเพียงเพ็ญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี และครอบครัวคุณบีม-กวี ตันจรารักษ์ ร่วมเปิดงาน THE MALL LIFESTORE JUNGLE WALK ท่องโลกมหัศจรรย์ แดนสัตว์ป่าพิศวง ทั้งนี้ NSM ได้ขนขบวนสัตว์สตัฟฟ์ในท่าทางเสมือนจริงไปจัดแสดงมากมาย อาทิ เสือโคร่งขาว ยีราฟ กวางรูซ่า วอเตอร์บัค ฟลามิงโก้ นกคาสโซวารี่ หมูป่า พร้อมสนับสนุนชุด “สื่อประดิษฐ์สนุก” ให้เด็ก ๆ และเยาวชนได้เรียนรู้กันอย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน พร้อมหวังให้ทุกคนร่วมกันอนุรักษ์สัตว์ป่า เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในสังคม ซึ่งงานจัดขึ้นตั้งแต่วันนี้ - 15 ตุลาคม นี้ ณ MCC HALL ชั้น 4 เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ งามวงศ์วาน
อพวช. ร่วมแสดงความยินดีเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนากรมบัญชีกลาง ครบรอบ 133 ปี
5 ตุลาคม 2566 / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM พร้อมด้วย ดร.สาธิต วิกรานต์ธนากุล ผู้จัดการทั่วไป ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา พระราม 3 เป็นประธานร่วมเปิดตัวนิทรรศการ “ลึกลับกับอาหารไทย” The Secret of Flavors ที่ชวนทุกคนมาเรียนรู้เรื่องราวและเอกลักษณ์ของรสชาติอาหารไทยในมิติของอาหาร ซึ่งเป็นหนึ่งใน soft power ที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารมาเพิ่มมูลค่าผลผลิตของอาหารไทยให้มีคุณภาพมากขึ้น จัดแสดงตั้งแต่วันนี้จนถึง 31 มีนาคม 2567 ณ ชั้น 6 โซน Living House ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พระราม 3 กรุงเทพฯ
อพวช. เข้ารับโล่แสดงความขอบคุณจากประธานในพิธีเปิดโครงการ “สานใจไทย สู่ใจใต้” รุ่นที่ 41
NSM ลงนามความร่วมมือ สทน. สร้างแรงบันดาลใจในด้านวิทย์ฯ พร้อมขับเคลื่อนเรื่องเทคโนโลยีพลังงานทางเลือก เพื่อคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน
3 ตุลาคม 2566 / นายสุวรงค์ วงษ์ศิริ รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM พร้อมด้วย คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ อพวช. เข้าร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาครบรอบ 21 ปี ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ณ ชั้น 1 อาคารธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
2 ตุลาคม 2566/ ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM พร้อมด้วย ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อํานวยการ อพวช. ร่วมเปิดงาน Sustainability Expo 2023 (SX2023) มหกรรมด้านความยั่งยืนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน โดย NSM ชวนเยาวชนเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ผ่านนิทรรศการและกิจกรรมที่จะชวนมาถอดรหัสการ “ลงมือทำ” เพื่อร่วมสร้าง “สมดุลที่ดี เพื่อโลกที่ดีกว่า” อาทิ “ไขความลับแมลงตัวจิ๋ว” (BUG WONDER) ที่ชวนให้ทุกคนเรียนรู้เกี่ยวกับแมลง สิ่งมีชีวิตตัวน้อยที่คอยช่วยโลกของเราให้อยู่รอดจนถึงทุกวันนี้, Blind Experience ชวนคนไทยเปิดมุมมองใหม่ในการเรียนรู้และเข้าใจโลกของผู้พิการทางสายตา และDigital Experience สนุกและเรียนรู้ไปกับนิทรรศการชุด Plearn Science Explorer และตะลุยโลกแห่งเทคโนโลยีดิจิทัล ผ่านพิพิธภัณฑ์เสมือนแห่งใหม่ ScIAM Meta Museum โดยงานฯ จะจัดตั้งแต่วันนี้-8 ตุลาคม 2566 เวลา 10.00-20.00 น. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
29 กันยายน 2566/ ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM พร้อมด้วย คณะกรรมการ อพวช. และผู้บริหาร อพวช. ร่วมแสดงมุทิตาจิต แก่คณะกรรมการ อพวช. เนื่องในโอกาสเกษียณอายุราชการ ประจำปี 2566 ได้แก่ ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและประธานคณะกรรมการ อพวช., ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ กรรมการ อพวช. และนางสาววีณา ลิ่มสวัสดิ์ กรรมการ อพวช. ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความอุตสาหะ วิริยะ และอุทิศเวลาการทำงานในฐานะคณะกรรมการ อพวช. จนครบวาระเกษียณอายุราชการ ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ชั้น 1 โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพ
22 กันยายน 2566 / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM นำคณะผู้บริหาร อพวช. เข้ารับมอบนโยบายจาก นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมเดินหน้าเตรียมพัฒนาพิพิธภัณฑ์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวชั้นนำระดับประเทศ ณ อาคารพระจอมเกล้า สำนักงานปลัดกระทรวง อว. (ถนนโยธี)
20 กันยายน 2566 / ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM นำคณะเจ้าหน้าที่ อพวช. เข้าร่วมการประชุม "2023 World Conference for Science Literacy" ภายใต้แนวคิด "Enhancing Science Literacy and Working Together for Modernization" ซึ่งจัดโดย China Association for Science and Technology (CAST) ในระหว่างวันที่ 19 - 21 ก.ย. 2566 ณ Shougang Park กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ทั้งนี้ ได้ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ "How to Involve Different Social Entities in the Construction of Science Museums and Centers" และ "Frontier Trends in Exhibition Design" เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการพัฒนานิทรรศการให้ทันสมัยตามกระแสสังคม รวมถึงการสร้างความตระหนักการสื่อสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์พลเมือง (Science Literacy)
20 กันยายน 2566 / นายสุวรงค์ วงษ์ศิริ รองผู้อำนวยการ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM พร้อมด้วย ดร.เอกพงศ์ ศรีเปารยะ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและพัฒนาทักษะอนาคต อพวช. เข้าร่วมการประชุมวิชาการด้านเทคโนโลยีอวกาศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Asia-Pacific Regional Space Agency Forum – APRAF) ครั้งที่ 29 ณ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ในระหว่างวันที่ 19-22 กันยายน 2566 เพื่อแลกเปลี่ยนแนวความคิดและประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีอวกาศในปีที่ผ่านมา ในการจัดกิจกรรมแข่งขันจรวดขวดน้ำของ อพวช. ทั้งนี้ นายสุวรงค์ฯ ร่วมนำเสนอในเรื่อง Futurium “Create a future experience for the next generation” เพื่อประชาสัมพันธ์และหารือความร่วมมือในการเตรียมความพร้อมการเปิดให้บริการศูนย์นวัตกรรมแห่งอนาคต (Futurium) ของ อพวช. ในอนาคต
19 กันยายน 2566 / นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานในการประชุมมอบนโยบายการทำงานของกระทรวง อว. ให้กับคณะผู้บริหารหน่วยงานในสังกัด เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินงานของหน่วยงานให้เป็นไปตามเป้าหมายของกระทรวง อว. โดยชูนโยบาย “เรียนดี มีความสุข มีรายได้ พร้อม “วิจัย-นวัตกรรมดี ตอบโจทย์ ตรงความต้องการ” หนุน SMEs สตาร์ทอัพ นวัตกรรมแก้จน นำชุมชนแก้แล้ง เน้นเอกชนนำ-รัฐสนับสนุน มุ่งเป้า Go Green - ความยั่งยืน ย้ำลดภาระของนักศึกษา ผู้ปกครองและอาจารย์ผู้สอน และเปิดมหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่แห่งโอกาสสำหรับทุกคน พร้อมกำชับทุกหน่วยงานในกระทรวง อว. แต่งตั้งโยกย้าย ต้องโปร่งใสและเป็นธรรมอันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนต่อไป โดยมี ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM เข้าร่วมการประชุมฯ ดังกล่าว ณ ห้องแถลงข่าวชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า สำนักงานปลัดกระทรวง อว.
17 กันยายน 2566 / ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM นำคณะเจ้าหน้าที่ อพวช. เข้าร่วมการประชุม Beijing International Week for Science Literacy: 2023 National Popular Science Day ซึ่งจัดโดย Beijing Association for Science and Technology (BAST) โดยได้ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ Improving Digital Literacy and Skills for All: The Role and Strategies of Science Museums รวมถึงแลกเปลี่ยนองค์ความรู้การจัดกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์พลเมือง(Science Literacy) ใน session: High-end Dialogue II Theme: How can science museums create high-quality digital resources to provide targeted services for different audiences? พร้อมเข้าร่วมการประชุม The Round Table of Beijing Global Network of Science Festivals ภายใต้หัวข้อ “For Bright & Creative Generation” ทั้งนี้ อพวช. ได้นำสื่อมัลติมีเดียด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ใน "โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย" และ "Plearn Thai Toys" มาจัดแสดงในส่วน Project Promotion เพื่อเผยแพร่ให้แก่ผู้เข้าชมในสาธารณรัฐประชาชนจีน ในระหว่างวันที่ 17 - 18 ก.ย. 2566 ณ Shougang Park กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
17 กันยายน 2566 / นางสาวอุมาภรณ์ เครือคำวัง ผู้อำนวยการสำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ นำคณะเจ้าหน้าที่ อพวช. ได้แก่ นายวัชระ สงวนสมบัติ ผู้อำนวยการศูนย์บริหารคลังตัวอย่างทางธรรมชาติวิทยาและสัตว์สตัฟฟ์,นายชลวิทย์ ทองเจริญชัยกิจ นักวิชาการชำนาญการ, นายสมชาย แสงใสแก้ว นักวิชาการชำนาญการ และนางสาวจุฬาลักษณ์ คำแก้ว นักวิชาการ ร่วมพิธีเปิดและกิจกรรมเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย ประจำปี 2566 พร้อมนำเสนอและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ “การจัดการคลังและวัตถุพิพิธภัณฑ์ไทยสู่ความยั่งยืน” โดยกิจกรรมฯ จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 17-19 กันยายน 2566 ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯ
ดร.ชนินทร วรรณวิจิตร รองผู้อำนวยการ NSM นำคณะเจ้าหน้าที่ NSM ไปร่วมจัดแสดงนิทรรศการและกิจกรรมวิทยาศาสตร์ พร้อมขึ้นโชว์กิจกรรม "Science show" การแสดงทางวิทยาศาสตร์ ภายในงาน Guangxi Youth Science Fair 2023 เพื่อร่วมเฉลิมฉลองเนื่องในวัน National Science Popularization Day และส่งเสริมความร่วมมือด้านกิจกรรมเสริมศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ ระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศไทยโดยกิจกรรมดังกล่าวได้รับความสนใจจากเยาวชนชาวจีนเป็นจำนวนมาก
15 กันยายน 2566 / ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM พร้อมด้วย พลอากาศตรี เจษฎา คีรีรัฐนิคม ผู้เชี่ยวชาญด้านจรวดวิถี และนายสุวิทย์ เปานาเรียง ผู้อำนวยการสำนักวิทยาศาสตร์สู่ชุมชน อพวช. ร่วมแสดงความยินดีพร้อมมอบรางวัลให้กับทีมชนะเลิศใน “การแข่งขันจรวดขวดน้ำระดับประเทศ ครั้งที่ 22 ประจำปี 2566” เวทีการแข่งขันการประดิษฐ์จรวดขวดน้ำ การออกแบบ และการบูรณาการทักษะด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและพัฒนาศักยภาพของเยาวชนนำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมให้กับประเทศต่อไปในอนาคต ณ ห้องประชุม IT Auditorium อาคารพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ NSM ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2566 รศ.ดร.ธณัฏฐ์คุณ มงคลอัศวรัตน์ ประธานอนุกรรมการการจัดการความรู้และนวัตกรรมใน อพวช. นายพงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ อนุกรรมการการจัดการความรู้และนวัตกรรมใน อพวช. พร้อมด้วยรองผู้อำนวยการ อพวช. ได้แก่นายสุวรงค์ วงษ์ศิริ และดร.กรรณิการ์ เฉิน ร่วมเปิดงานและเป็นกรรมการตัดสินการประกวด KM & IM Award 2023 “สุดยอดแห่งการจัดการความรู้และนวัตกรรม อพวช.” ณ ห้องแสงเดือนแสงเทียน พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า อพวช.
15 กันยายน 2566 / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM ร่วมให้การต้อนรับ นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) เนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่และเข้าทำงานใน กระทรวง อว. เป็นวันแรกหลังได้รับตำแหน่ง ทั้งนี้ รมว.อว. ได้ถวายสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) และสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวง และสำนักงานปลัดกระทรวง อว. (อาคารโยธีและอาคารศรีอยุธยา) เพื่อความเป็นสิริมงคลก่อนปฏิบัติงานอย่างเป็นทางการ โดยมี ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. พร้อมผู้บริหารกระทรวง อว. ให้การต้อนรับ ณ อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กรุงเทพฯ
10 กันยายน 2566 / ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM พร้อมด้วย ดร.เอกพล ณ สงขลา รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มทรัพยากรบุคคลและสมรรถนะองค์กร บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และนางต้องใจ ธนะชานันท์ กรรมการผู้จัดการ C asean ร่วมแสดงความยินดีพร้อมมอบรางวัลให้กับทีมผู้ชนะการประกวด “การแสดงละครทางวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ 2023” ที่ไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานขึ้นเป็นครั้งแรก ภายใต้หัวข้อ “Producing Green Consuming Clean” หวังสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนไทยและทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญของการผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ณ ห้อง Auditorium ชั้น 10 อาคาร CW Tower กรุงเทพฯ
อพวช. ร่วมพิธีเปิดการแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ ระดับชิงแชมป์ประเทศไทย ประจำปี 2566
ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM เข้าร่วมการประชุมนักวิชาชีพไทยในสหรัฐอเมริกา ร่วมกับ เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และผู้บริหารหน่วยงานในสังกัด เพื่อต่อยอดผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมการร่วมไทย-สหรัฐฯ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย-สหรัฐฯ ครั้งที่ 3 พร้อมทั้งบรรยายพิเศษในหัวข้อ "MUSEUM & STEM Career for the Future" ซึ่งสอดรับกับแผนงานพัฒนาความร่วมมือกับสหรัฐฯ ด้าน STEM Education & Entrepreneurship รวมทั้งเชิญชวนนักวิชาชีพและนักธุรกิจไทยในสหรัฐอเมริกาเข้ามาสนับสนุนการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์แห่งใหม่ของ อพวช. (FUTURIUM) ซึ่งจะเปิดให้บริการในปี 2568 นอกจากนั้น อพวช. จะทำหน้าที่ผู้ประสานงานหลักฝ่ายไทยในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอน STEM ของประเทศให้มีความน่าสนใจและสนุกสนานยิ่งขึ้น ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย และเชื่อมโยงสู่การประกอบอาชีพในอนาคต ในการนี้ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ยังได้ร่วมแลกเปลี่ยนในการประชุมร่วมกับ บริษัท BKV ซึ่งเป็นบริษัทพลังงานสัญชาติไทยในสหรัฐอเมริกาในประเด็นด้านการส่งเสริมผู้ประกอบการรายใหม่ด้าน Science & Technology รวมถึงการสนับสนุนทางวิชาการใน Innovation Zone ของ FUTURIUM ในระหว่างวันที่ 8-9 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา ณ เมืองเดนเวอร์ สหรัฐอเมริกา
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM ร่วมกับ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดกิจกรรม “International Day of Clean Air for blue skies” พร้อมเปิดตัว “นิทรรศการฝุ่นอะไร สู่ลมหายใจเรา” เพื่อสร้างความตระหนักรู้ด้านคุณภาพอากาศและปญหามลพิษทางอากาศของประเทศไทยในปจจุบัน พร้อมชวนลดมลพิษและสร้างคุณภาพที่ดีทางอากาศนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เพื่อแก้ปัญหาด้านมลพิษทางอากาศอย่างยั่งยืนในประเทศไทย ณ พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า NSM ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
7 กันยายน 2566 / ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM เป็นประธานเปิด การประชุมนานาชาติ จีน-ไทย เรื่อง “จากการวิจัยสู่นโยบายการส่งเสริมการสื่อสารวิทยาศาสตร์สู่สังคม” พร้อมบรรยายพิเศษหัวข้อ "สถานภาพและความสำคัญของการวิจัยความตระหนักรู้ด้าน วทน. ของประชาชนไทย" เพื่อร่วมถอดบทเรียนความสำเร็จ ในการสร้างความตระหนักรู้ด้านวิทยาศาสตร์ของประชาชนจีน สู่การขับเคลื่อนประเทศให้เจริญรุดหน้า เพื่อหากลไกส่งเสริม พร้อมสร้างความตระหนักรู้ด้านวิทยาศาสตร์ของประชาชนไทยเพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศในอนาคต โดยมีวิทยากรมาร่วมถ่ายทอดความรู้ อาทิ ดร.สิริพร พิทยโสภณ รองผู้อำนวยการ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สอวช.) เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษในหัวข้อ “การส่งเสริมความตระหนักรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ของประชาชนไทย และการส่งเสริมการพัฒนาประเทศ, Mr.GAO Hongbin Director of Division of Scientific Literacy Research China Research Institute for Science Poppularization (CRISP) บรรยายในหัวข้อ “ความสำคัญของการศึกษาสำรวจความตระหนักรู้ด้าน วทน. ของประชาชนจีนและการส่งเสริมการพัฒนาประเทศ” และMr.Ren Lei Associate Researcher China Research Institute for Science Poppularization (CRISP) บรรยายในหัวข้อ “ความสำคัญของการพัฒนาระบบวัดความตระหนักรู้ด้าน วทน. เพื่อสนับสนุนการกำหนดนโยบายส่งเสริมการพัฒนาประเทศสู่ความสำเร็จในการส่งเสริมการสร้างความตระหนักรู้ด้าน วทน. ของประชาชนจีนให้เพิ่มขึ้น” ณ ห้องกมลทิพย์ 3 ชั้น 2 โรงแรมสุโกศล กรุงเทพฯ
6 กันยายน 2566 / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM เป็นประธานเปิด การประชุมนานาชาติ จีน-ไทย เรื่อง จากการวิจัยสู่นโยบายการส่งเสริมการสื่อสารวิทยาศาสตร์สู่สังคม เพื่อร่วมถอดบทเรียนความสำเร็จ ในการสร้างความตระหนักรู้ด้านวิทยาศาสตร์ของประชาชนจีน สู่การขับเคลื่อนประเทศให้เจริญรุดหน้า เพื่อหากลไกส่งเสริม พร้อมสร้างความตระหนักรู้ด้านวิทยาศาสตร์ของประชาชนไทยเพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศในอนาคต โดยมี ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการ อพวช. ได้ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ "ความสำคัญในการจัดทำระบบวัดและการสำรวจความตระหนักรู้ด้าน วทน. ของประชาชนเพื่อการพัฒนาประเทศและการดำเนินการที่ผ่านมาของประเทศไทย" ให้กับคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ อพวช. ณ ห้องแสงเดือนแสงเทียน พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า NSM ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM ร่วมกับ สมาคมเครื่องบินกระดาษพับ เปิดเวทีการแข่งขันเครื่องบินกระดาษพับชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 17 รอบชิงชนะเลิศ เพื่อเสริมสร้างแรงบันดาลใจ พร้อมเรียนรู้กระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์ ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการผ่านการแข่งขันเครื่องบินกระดาษพับให้สามารถลอยอยู่ในอากาศได้นานที่สุด ณ โรงยิมเนเซียม 5 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จ.ปทุมธานี
1 กันยายน 2566 / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) พร้อมคณะผู้บริหาร อพวช. ร่วมอำลาและมอบของที่ระลึกแก่ ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในการอำลาตำแหน่งหลังหมดวาระ ซึ่งได้ดำรงตำแหน่ง รมว.อว. รวมทั้งสิ้น 3 ปี ณ อาคารพระจอมเกล้า (ถนนโยธี) กระทรวง อว.
28 สิงหาคม 2566 / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM ให้การต้อนรับ นายอรรถพร ศรีเหรัญ ผู้อำนวยการสวนสัตว์แห่งประเทศไทย พร้อมด้วย นายสัตวแพทย์ยงชัย อุตระ ผู้อำนวยการสถาบันอนุรักษ์และวิจัยสัตว์ ในพิธีเปิดการประชุมสัมมนาวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 15 ประจำปี 2566 (The 15th Zoo Animal Conference) ภายใต้หัวข้อ “สร้างสรรค์การเรียนรู้สู่การอนุรักษ์อย่างยั่งยืน” จัดโดย องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (อสส.) และสถาบันอนุรักษ์และวิจัยสัตว์ (สอว.) เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางด้านงานวิจัย การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และการนำเสนอผลงานทางวิชาการพร้อมถ่ายทอดประสบการณ์ร่วมกัน ทั้งนี้ ผศ.ดร.รวินฯ ได้ร่วมเสวนาในหัวข้อ "สร้างสรรค์การเรียนรู้สู่การอนุรักษ์อย่างยั่งยืน" ณ ห้องประชุม IT Auditorium อาคารพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ NSM ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2566 ดร.ชนินทร วรรณวิจิตร รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM ร่วมแสดงความยินดี และเป็นประธานมอบรางวัลในการแข่งขันการพัฒนานวัตกรรมของเล่นวิทยาศาสตร์สู่ศตวรรษที่ 21: บอกเล่าสุภาษิตด้วย Automata Toys รอบชิงชนะเลิศ ณ เวทีกลาง ภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2566 อาคาร 10 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี
26 สิงหาคม 2566 / ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM ร่วมพิธีเปิดงานสื่อสารวิทยาศาสตร์เฟสติวัล 2566 (Science Communication Festival 2023) พร้อมนำนิทรรศการภาพถ่ายวิทยาศาสตร์ (วิทย์ติดเลนส์) และกิจกรรม workshop เรื่อง “การสื่อสารวิทยาศาสตร์สู่สาธารณะ” ไปร่วมจัดแสดงภายในงานฯ และฟังเสวนา เรื่อง “กรุงเทพมหานคร สังคมสื่อสารวิทยาศาสตร์สู่เมืองแห่งการเรียนรู้” โดย นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สามารถเข้าชมงานได้ระหว่างวันที่ 26-27 ส.ค. 2566 ณ อาคารพิพิธภัณฑ์สวนป่าเบญจกิติ สวนเบญจกิติ กรุงเทพฯ
อพวช. ร่วมกับ สมาคมวิทยาศาสตร์ฯ มอบรางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ศูนย์ภาคกลาง ประจำปี 2566
August 14, 2023/ Asst.Prof.Dr.Rawin Rawivongse, president of National Science Museum (NSM) has been a chairman of a debut of “ScIAM Meta Museum (Beta)”, new virtual museum, in the National Science Fair 2023 held at Impact Mueang Thong Thani. The new museum has been created to be a new type of virtual museum with applied technology for new approach of teaching and learning science to serve future Metaverse system. Mr.Niti Boonyakiate, director of engineering and media office, NSM and Dr.Kornchanok Sutaphaha, director of Sribunyanon School have joined in a discussion on development of a kind of virtual museum.
National Science Fair and Techno Mart 2023, two national science and technology events, have been held with a theme of “For Bright and Creative Generations” by Ministry of Higher Education, Science, Research, and Innovation (MHESI) to unveil advanced science, technology, innovation, and research products initiated by MHESI’s agencies, domestic and international networking agencies. The exhibits have presented their research outcomes which have served the BCG Model (bioeconomy, circular economy, and green economy) to move forward the sustainable Thai’s economy and society. Teachers and students whose outstanding science projects have received the Prime Minister’s Science Award 2023 in the opening ceremony.
19 สิงหาคม 2566 / ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) พร้อมด้วย คุณพรฤทัย โชติวิจิตร เจ้าหน้าที่ประสานงานภาคธุรกิจและความหลากหลายทางชีวภาพ IUCN Thailand Programme และคุณศิริพร ศรีอร่าม สมาชิกกรรมาธิการและ Focal Point ประเทศไทย กรรมาธิการด้านการศึกษาและ การสื่อสารขององค์การะหว่างประเทศ เพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN CEC) มาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับการใช้ภาพถ่ายในการปลุกจิตสำนึกของผู้คนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืนของโลก ในงานเสวนา หัวข้อ “พลังภาพถ่ายสู่การรักษ์โลกอย่างยั่งยืน (The Power of Photography to Sustainably Save the World ทั้งนี้ ดร.กรรณิการ์ฯ ยังเป็นประธานมอบรางวัลในการประกวดภาพถ่ายนานาชาติ ประจำปี 2566 ภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2566 ใจกลางเมือง ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
อพวช. จัดพิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะ รัชกาลที่ 4 เนื่องในโอกาส "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ"
อพวช. ให้การต้อนรับ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เข้าเยี่ยมชมงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2566
อพวช. ให้การต้อนรับ สำนักงบประมาณ เยี่ยมชมงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2566
อพวช. ให้การต้อนรับ คุณหญิงกัลยา รมช.ศธ. เยี่ยมชมงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2566
18 สิงหาคม 2566 / ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. นำคณะผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดกระทรวง อว. วางพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระสยามเทวมหามงกุฎวิทยามหาราช รัชกาลที่ 4 เนื่องในโอกาส “วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ” 18 สิงหาคม 2566 โดยมี ผศ.ดรรวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร อพวช. ร่วมในพิธีฯ ดังกล่าว ณ กระทรวง อว. ซอยโยธี กรุงเทพฯ
อพวช. ให้การต้อนรับคุณอัลมา กรีน ผู้ประสานงานฝ่ายการทูตสาธารณะและการศึกษา เยี่ยมชมงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2566
อพวช. ลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกับ ผู้ก่อตั้ง Fun and Education Global Network สาธารณรัฐเคนยา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์
งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2566 ใจกลางเมือง (National Science and Technology Fair 2023 Downtown) จัดโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) โดย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เป็นงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปี และเป็นส่วนหนึ่งในงานเทศกาล “บางกอกวิทยา” ซึ่งในปีนี้ได้นำวิทยาศาสตร์มาผสมผสานให้เข้ากับศิลปะที่เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน ได้รวมรวบทั้งงานนิทรรศการ การแสดงนวัตกรรมและผลงานสิ่งประดิษฐ์ด้านวิทยาศาสตร์ พร้อมงานเสวนา Sci-Talk จากบุคคลหลากหลายวงการ ที่จัดขึ้นในย่านใจกลางเมืองเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ทั้งวัยรุ่นและคนในชุมชนเมือง ภายใต้แนวคิด “For Bright and Creative Generations” ตื่นตาตื่นใจกับ 5 โซนกิจกรรมเด็ดในงาน ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ระหว่าง 17-20 สิงหาคม 2566 นี้ ตั้งแต่เวลา 10.00 - 20.00 น.
10 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) คว้ารางวัลอันดับ 1 จากการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยภาครัฐ (ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ซึ่ง อพวช. ได้คะแนนจากการประเมินทั้งสิ้น 97.29 คะแนน อยู่ในระดับผ่านดี โดยเป็นอันดับที่ 1 ของหน่วยงานในกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ทั้งนี้ อพวช. ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาและยกระดับการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง ด้วยความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาล เพื่อเป็นองค์กรภาครัฐที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศต่อไป
15 สิงหาคม 2566 / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เป็นประธานกล่าวเปิดงานเสวนาวิชาการเรื่อง International Symposium: Museums in Times of Climate and Ecological Crisis พร้อมด้วย ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการ อพวช. ร่วมให้การต้อนรับและแนะนำภาพรวมงานเสวนาฯ โดยมี Professor Dr. Shahbaz Khan Director of UNESCO Multisectoral Regional Office for East Asia and UNESCO Representative to China, DPRK, Japan, Mongolia, and ROK, Chao-Ling KUO Assistant Researcher and Exhibition Coordinator National Taiwan Museum, Jed Fielder Graphic Designer (Artworker) Tate Design Studio, Audiences division, Tate Britain และดร.นพรัตน์ เทพเทพา ผู้อำนวยการสำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ อพวช. เป็นวิทยากรในงานเสวนาฯ เพื่อส่งเสริมศักยภาพและความเข้มแข็งของเครือข่ายความร่วมมือของพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ผ่านการพัฒนาและการจัดการนิทรรศการอย่างยั่งยืน ณ ห้องประชุมฟีนิกซ์ 2 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี จ.นนทบุรี
อพวช. ลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกับ หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) เพื่อส่งเสริมความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม และการผลิตภาพยนตร์ 14 สิงหาคม 2566 / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ลงนามความร่วมมือกับ นางสาวชลิดา เอื้อบำรุงจิต ผู้อำนวยการหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) โดยมี ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการ อพวช. พร้อมด้วย นายสัณห์ชัย โชติรสเศรณี รองผู้อำนวยการหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามฯ ดังกล่าว เพื่อส่งเสริมการจัดกิจกรรมและนิทรรศการ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม และการผลิตภาพยนตร์ ณ ห้องประชุม Business Center ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี จ.นนทบุรี
14 ส.ค. 2566 / ผศ.ดร. รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) พร้อมด้วย ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการ อพวช. ให้การต้อนรับ LIM Tit Meng, Interim President of Asia Pacific Network of Science and Technology Centres (ASPAC) และคณะผู้บริหารเครือข่าย ASPAC ในการเข้าร่วมประชุม ASPAC Executive Council Meeting 2023 ทั้งนี้ คณะผู้บริหารเครือข่าย ASPAC ได้เข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2566 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี
14 สิงหาคม 2566 / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ลงนามความร่วมมือกับ พลโท อภิชาติ ไชยะดา เจ้ากรมการพลังงานทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร โดยมี ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการ อพวช. พร้อมด้วย พลตรี สุกิจ สุเมธาศร รองเจ้ากรมการพลังงานทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามฯ ดังกล่าว เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านพลังงาน พร้อมจัดกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านพลังงานให้แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป ณ ห้องประชุมฟีนิกซ์ 2 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี จ.นนทบุรี
14 สิงหาคม 2566 / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM เป็นประธานในงานแถลงข่าวเปิดตัวพิพิธภัณฑ์เสมือนแห่งใหม่ “ScIAM Meta Museum (Beta)” โดยมี นายนิติ บุณยเกียรติ ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมและการผลิตสื่อ อพวช. พร้อมด้วย ดร.กรชนก สุตะพาหะ ผู้อำนวยการโรงเรียนศรีบุณยานนท์ มาร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิดในการพัฒนาพิพิธภัณฑ์เสมือนรูปแบบใหม่ขึ้นมา และการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้สำหรับการสอนในปัจจุบัน พร้อมชวนทุกคนมาสัมผัสโลกแห่งการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านโลกเสมือน รองรับการพัฒนาเพื่อนำไปสู่ระบบเมตาเวิร์ส (Metaverse) ในอนาคต ภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2566 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี
13 สิงหาคม 2566 / องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ "LET’S COMMUNICATE SCIENCE BY YOUNG THAI SCIENCE AMBASSADOR" จาก "ทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย" ผ่านกิจกรรมการสื่อสารแบบพบเจอหน้ากัน การสื่อสารแบบวิถีใหม่ และการสื่อสารในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อกระตุ้นสังคมให้เข้าใจวิทยาศาสตร์ได้ง่ายขึ้น พร้อมสร้างเครือข่ายนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ในอนาคต ภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2566 ณ เวทีกลาง ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี
ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ( อพวช.) ให้การต้อนรับ คุณชวน หลีกภัย อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร ในโอกาสที่เข้าชมงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2566 โดยท่านให้ความสนใจ นิทรรศการที่เป็นอีกไฮไลท์ของงานอันหาชมได้ยาก คือ นิทรรศการ “สู่สูญพันธุ์ : On the Edge of Extinction” ชมตัวอย่างสัตว์ที่สูญพันธุ์หรือเชื่อว่าอาจจะสูญพันธุ์ไปแล้วหลากหลายชนิด ซึ่งท่านประทับใจ “นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร” เป็นอย่างมาก เพราะนี่เป็นนกสตัฟฟ์ตัวสุดท้ายของประเทศไทยที่จะได้ชมได้ในงานนี้เท่านั้น จึงขอเชิญชวนประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะเยาวชนเข้าชมงานโดยไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ณ อาคาร 9-10 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 11 - 20 สิงหาคม 2566 เวลา 9.00 - 19.00 น.
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (NSM) ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และบริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด มอบรางวัล “โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ประจำปี 2566” เพื่อสร้างโอกาสให้เยาวชนและประชาชนได้แสดงความสามารถด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ผ่านงานเขียนเรื่องสั้น คัดเลือก 14 ผลงานเรื่องสั้น พร้อมจัดพิมพ์เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ เรื่อง “ฝันชั่วนิรันดร์ของแมวศุภลักษณ์” สู่สาธารณชน พร้อมเปิดตัวโครงการประกวดนวนิยายวิทยาศาสตร์ไทย โดยมี ศ.ดร.ม.ร.ว.ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ ประธานโครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ในนามสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมด้วย รศ.ดร.ธณัฏฐ์คุณ มงคลอัศวรัตน์ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์, ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.), ศ.นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล, นางนรีภพ จิระโพธิรัตน์ อุปนายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย และนายวิชชพัชร์ โกจิ๋ว กรรมการบริหาร บริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด ร่วมมอบรางวัลฯ ดังกล่าว ณ งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2566 อิมแพ็ค เมืองทองธานี เมื่อวันที่ 12 ส.ค. ที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ศ.ดร.ม.ร.ว.
12 สิงหาคม 2566 / ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำคณะผู้บริหารในสังกัดกระทรวง อว. ร่วมถวายพระพรชัยมงคล และลงนามถวายพระพร เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2566 โดยมี ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) พร้อมด้วย คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ อพวช. เข้าร่วมในพิธีฯ ดังกล่าว ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง
10 ส.ค. 2566 / ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) น.ส.อุมาภรณ์ เครือคำวัง ผอ.สำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ให้การต้อนรับ Ms. Li Ming, Vice Curator of Guangxi Science and Technology Museum และคณะเจ้าหน้าที่จาก Guangxi Science and Technology Association พร้อมหารือความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนนิทรรศการ พัฒนาองค์ความรู้และบุคลากรด้านการสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ ผ่านกิจกรรมวิทยาศาสตร์ด้านการจัดงาน Science Festival รวมทั้งความร่วมมือในการพัฒนาและส่งเสริมศูนย์การเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ในท้องถิ่น ณ งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ทั้งนี้ ได้เข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานของ อพวช. ณ พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา และพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
กระทรวง อว. พร้อมจัด 2 งานใหญ่แห่งปี “มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2566” ภายใต้แนวคิด “For Bright and Creative Generations” ควบกับงาน “เทคโนมาร์ท 2023” โชว์ศักยภาพผลงานด้านวิทยาศาสตร์ และผลิตภัณฑ์ของกระทรวง อว. และภาคีเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ ภายใต้ BCG Model หนุนวิทยาศาสตร์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่อสังคมอย่างยั่งยืน พร้อมมอบรางวัล Prime Minister’s Science Award 2023 แก่ครูและเยาวชนที่สร้างผลงานด้านวิทยาศาสตร์
8 สิงหาคม 2566 ณ บริเวณโถงกลาง ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำคณะผู้บริหารกระทรวง อว. เข้าพบ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อประชาสัมพันธ์การจัดงาน “มหกรรมวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2566” และงาน “เทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทย ประจำปี 2566 : TechnoMart 2023” โดยมี ดร.ดนุช ตันเทิดทิตย์ เลขานุการ รมว.อว. ดร.บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์ ผู้ช่วย รมว.อว. นายสัมพันธ์ เย็นสําราญ ที่ปรึกษา รมว.อว. น.ส.สุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวง อว. ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ และดร.กรรณิการ์ เฉิน รอง ผอ.อพวช. เข้าร่วมด้วย
4 สิงหาคม 2566 / กระทรวง อว. เตรียมความพร้อมจัด 2 งานใหญ่ โชว์ศักยภาพผลงานด้านวิทยาศาสตร์ ในงาน “มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2566” กิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปี ภายใต้แนวคิด “For Bright and Creative Generations” ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ผสานกับศิลปะ เพื่อการขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน พร้อมอีกหนึ่งงานใหญ่ กับงาน “เทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทย ประจำปี 2566 : TechnoMart 2023” ร่วมชมผลงานและผลิตภัณฑ์ของกระทรวง อว. และภาคีเครือข่าย ภายใต้ BCG Model ที่จะช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการให้สูงขึ้นตอบโจทย์พัฒนาการของเทคโนโลยีและสังคมยุคใหม่
เมื่อวันที่ 28 ก.ค. ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. นำคณะผู้บริหารหน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวง อว. ร่วมพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2566 โดยมี ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) พร้อมด้วย คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ อพวช. เข้าร่วมในพิธีฯ ดังกล่าว ณ บริเวณท้องสนามหลวง จากนั้น ผศ.ดร.รวิน ฯ พร้อมคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ อพวช. ได้ร่วมลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อแสดงความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาประชาราษฎร์ ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง
27 กรกฎาคม 2566 / ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.). พร้อมด้วย ศ.ดร.นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. นำคณะผู้บริหารหน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวง อว. ถวายสัตย์ปฏิญาณ เพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2566 โดยมี ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เข้าร่วมพิธีฯ ดังกล่าว ณ ห้องแถลงข่าวชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า สำนักงานปลัดกระทรวง อว.
26 กรกฎาคม 2566/ ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM ร่วมรับเสด็จสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จพระราชดำเนินไปยังสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เพื่อทรงเปิดอาคารปฏิบัติการเครื่องโทคาแมค พร้อมกดปุ่มปล่อยพลาสมาจากเครื่องโทคาแมคครั้งแรกในประเทศไทยและในอาเซียน ณ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) อ.องครักษ์ จ.นครนายก
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ มอบรางวัล Special Award รางวัลพิเศษจากผู้สนับสนุนภาครัฐและเอกชน ภายใต้โครงการ Prime Minister’s Science Award 2023 คัดเลือก 4 สุดยอดโครงงานวิทย์ฯ ระดับประเทศที่มีความโดดเด่น เพื่อเชิดชูเกียรติและเป็นกำลังใจให้แก่เยาวชนไทยที่สร้างสรรค์ผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์ที่มีความโดดเด่น หวังว่าทุกผลงานจะสามารถนำไปต่อยอดในการพัฒนาและสร้างประโยชน์ให้กับประเทศไทยต่อไป
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดตัวนิทรรศการ “สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ (New Species of Life)” ชวนไปค้นพบความมหัศจรรย์ของเรื่องราวสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ที่ถูกค้นพบ และมาเจาะลึกเรื่องราวกว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ รวมถึงประโยชน์ของการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ชมตัวอย่างจริงทั้งพืชและสัตว์ที่ถูกค้นพบในประเทศไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันซึ่งถูกเก็บรักษาไว้ในคลังตัวอย่างพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ที่พร้อมจุดประกายและสร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่ตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่จะทำให้เกิดความสมดุลและยั่งยืนต่อไปในอนาคต
25 กรกฎาคม 2566 / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ เป็นประธานในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นเจ้าหน้าที่รัฐที่ดีและพลังของแผ่นดิน ประจำปี 2566 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2566 โดยมี คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ อพวช. ร่วมในพิธีฯ ดังกล่าว พร้อมลงนามถวายพระพรชัยมงคล ณ บริเวณโถงทางเข้าสำนักงาน อาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
แจ้งผลการเป็นตัวแทนบริหารพื้นที่จำนายสินค้าในงาน "มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2566"
22 กรกฎาคม 2566 / คุณสุดถนอม กรรณสูต กรรมการ บริษัท อุตสาหกรรมนมไทย จำกัด มอบเงินสนับสนุนเพื่อเป็นกำลังใจให้กับทีมเยาวชนที่ได้รับรางวัลจากในการแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมระดับโลก REGENERON ISEF 2023 ทั้งหมด 7 ทีม ทีมละ 15,000 บาท รวมมูลค่าจำนวน 105,000 บาท ณ ห้อง IT Theater พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ส่งตัวแทนทีมเยาวชนไทยเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันฯ ณ เมืองดัลลัส รัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ในระหว่างวันที่ 13-19 พ.ค. ที่ผ่านมา
เมื่อ 21 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ดร.ชนินทร วรรณวิจิตร รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM พร้อมด้วย ดร.นันทิดา ศรีเปารยะ ผู้อำนวยการกองพัฒนาธุรกิจ อพวช. นำทีมเจ้าหน้าที่ อพวช. ร่วมจัดกิจกรรม “คาราวานวิทยาศาสตร์” ในโครงการ “เอสโซ่ ปันน้ำใจ พาน้องกลับห้องเรียนปีที่ 5” พร้อมร่วมมอบทุนการศึกษาให้กับเด็กนักเรียนผ่านกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและป้องกันปัญหาเด็กเสี่ยงหลุดจากระบบการศึกษา โดยมี ดร.ทวีศักดิ์ บรรลือสินธุ์ ผู้จัดการฝ่ายกิจกรรมองค์กรและรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท เอ็กซอนโมบิล จำกัด ให้การต้อนรับ จัดโดยบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือเอ็กซอนโมบิลในประเทศไทย และพันธมิตรทางธุรกิจ ณ ศาลาประชาคมอ่าวอุดม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
NSM วางรากฐานเพื่อพัฒนาการศึกษาทั้งในและนอกห้องเรียนสำหรับเด็กปฐมวัยอย่างยั่งยืน ผ่านการผลักดัน “โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” มากว่า 12 ปี
เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2566 ดร.ชนินทร วรรณวิจิตร รองผู้อำนวยการองค์พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ให้การต้อนรับ ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช
พิธีรับตราพระราชทาน “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย” ประจำปี 2565
พิธีรับตราพระราชทาน “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย” ประจำปี 2565
พิธีรับตราพระราชทาน “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย” ประจำปี 2565
พิธีรับตราพระราชทาน “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย” ประจำปี 2565
17 กรกฎาคม 2566 / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ลงนามความร่วมมือ กับ นายอรรถพร ศรีเหรัญ ผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย (อสส.) โดยมี ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการ อพวช. พร้อมด้วย นายวันชัย ตันวัฒนะ รองผู้อำนวยการ อสส. ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามฯ ดังกล่าว เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ นิเวศวิทยา ความหลากหลายทางชีวภาพ และสัตวศาสตร์ พร้อมพัฒนาแหล่งการเรียนรู้และผลักดันการท่องเที่ยวเชิงการศึกษาในพื้นที่ในจ.ปทุมธานี ณ ห้องประชุมไอน์สไตน์ ชั้น 2 อาคารสำนักงาน อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เข้ารับประกาศนียบัตรและเข็มเชิดชูเกียรติ ในฐานะเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมภายในองค์กร ในงานเชิดชูเกียรติ CHIEF INNOVATION OFFICER จัดโดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ณ ห้องบอลรูม ชั้น B1 โรงแรมพาร์ค ไฮแอท กรุงเทพฯ
13 กรกฎาคม 2566 /องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (NSM) จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “Active Learning กับการเรียนรู้ STEM และอาชีพวิทยาศาสตร์” ให้กับครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา โดยมี ดร.นันทิดา ศรีเปารยะ ผู้อำนวยการกองพัฒนาธุรกิจ สำนักพัฒนาธุรกิจและเครือข่าย NSM และดร.เอกพงศ์ ศรีเปารยะ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและพัฒนาทักษะอนาคต สำนักวิทยาศาสตร์สู่ชุมชน NSM ร่วมเป็นวิทยากรในการสัมมนาฯ ดังกล่าว โดยมีผู้เข้าร่วมการสัมมนาฯ จำนวน 35 คน ซึ่งจัดขึ้นภายในกิจกรรมคาราวานวิทยาศาสตร์ อพวช. ณ โรงเรียนวัดดอนมะโนรา(รังสิยานุกูล) จ.สมุทรสงคราม
13 กรกฎาคม 2566 / นายสุวรงค์ วงษ์ศิริ รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เป็นประธานเปิดการแข่งขันการประกวดการแสดงวิทยาศาสตร์ (Science Show) ศูนย์ภาคกลางรอบชิงชนะเลิศ ประจำปี 2566 ในระดับประถมศึกษาตอนปลายและมัธยมศึกษาตอนต้น ภายใต้หัวข้อ “มหัศจรรย์วิทยาศาสตร์” เพื่อคัดเลือกเยาวชนเป็นตัวแทนศูนย์ภาคกลางเข้าร่วมการประกวดฯ ระดับประเทศต่อไป ณ ห้อง IT Auditorium พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยในปีนี้มีผู้เข้าร่วมการประกวดฯ จำนวน 49 ทีม ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 13 -14 กรกฎาคม 2566 ณ อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
11 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (NSM) จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “Active Learning กับการเรียนรู้ STEM และอาชีพวิทยาศาสตร์” ให้กับครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา โดยมี ดร.นันทิดา ศรีเปารยะ ผู้อำนวยการกองพัฒนาธุรกิจ สำนักพัฒนาธุรกิจและเครือข่าย NSM และดร.เอกพงศ์ ศรีเปารยะ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและพัฒนาทักษะอนาคต สำนักวิทยาศาสตร์สู่ชุมชน NSM ร่วมเป็นวิทยากรในการสัมมนาฯ ดังกล่าว โดยมีผู้เข้าร่วมการสัมมนาฯ จำนวน 29 คน ซึ่งจัดขึ้นภายในกิจกรรมคาราวานวิทยาศาสตร์ อพวช. ณ โรงเรียนบ้านดอนไก่ดี จ.สมุทรสาคร
12 กรกฎาคม 2566 / ดร.จันทร์เพ็ญ เมฆาอภิรักษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เข้าตรวจเยี่ยมราชการตามแผนการตรวจราชการ อว. ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมี รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ทั้ง 3 ท่านให้การต้อนรับ ประกอบด้วย นายสุวรงค์ วงษ์ศิริ พร้อมด้วย ดร.กรรณิการ์ เฉิน และดร.ชนินทร วรรณวิจิตร พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ อพวช. ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุม 1 อาคารสำนักงาน อพวช. ซึ่งได้เข้าตรวจเยี่ยมในโครงการศูนย์นวัตกรรมแห่งอนาคต (Futurium) และโครงการยกระดับคุณภาพการบริหารจัดการและบริการพิพิธภัณฑ์ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ณ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ และพิพิธภัณฑ์พระรามเก้า อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
เมื่อวันที่ 11 ก.ค.ตั้งแต่ช่วงเช้าที่ทำเนียบรัฐบาล ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในฐานะประธานคณะกรรมการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (NSM) นำคณะผู้บริหาร NSM เข้าพบพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อนำเสนอโครงการ "ของเล่นวิทยาศาสตร์" ซึ่งถือเป็นเครื่องมือสำคัญของภาครัฐที่จะช่วยส่งเสริมจินตนาการและการเรียนรู้ในวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กและเยาวชน โดยกระทรวง อว. พร้อมเปิดเวที "การแข่งขันการพัฒนานวัตกรรมของเล่นวิทยาศาสตร์สู่ศตวรรษที่ 21 " ต่อยอดสร้างเป็นอาชีพให้กับประชาชนในอนาคต โดยมี ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผอ.NSM และ ดร.กรรณิการ์ เฉิน รอง ผอ. NSM ร่วมนำเสนอโครงการ ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ และ ครม.ให้ความสนใจโครงการ "ของเล่นวิทยาศาสตร์" อย่างมาก
8 กรกฎาคม 2566/ ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (NSM) ให้การต้อนรับ ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ กรรมการ อพวช. ตรวจเยี่ยมการดำเนินงาน จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. เชียงใหม่ ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
4 กรกฎาคม 2566 / ศ.ดร.นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมร่วมแสดงความยินดีพร้อมเป็นประธานมอบรางวัลให้แก่ทีมเยาวชนอาเซียนในเวที “การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์เยาวชนกลุ่มประเทศอาเซียน ครั้งที่ 9” (The 9th ASEAN Student Science Project Competition, ASPC 2023) โดยมี ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (NSM) พร้อมด้วย ดร.กรรณิการ์ เฉิน ผู้แทนนายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และคณะผู้บริหาร NSM ให้การต้อนรับและร่วมแสดงความยินดี ณ ห้องประชุมแสงเดือน-แสงเทียน พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า NSM ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ซึ่งผลปรากฏว่า ทีมเยาวชนไทยจากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (มอดินแดง) จ.ขอนแก่น คว้าสุดยอดรางวัล Project Of the Year 2023 ไปครองในโครงงานเรื่อง “การศึกษาการเลียนแบบพฤติกรรมการสื่อสารด้วยการกระพริบแสงในหิ่งห้อยสายพันธุ์ Abscondita terminalis (Olivier, 1833) เพื่อการเพิ่มประชากรหิ่งห้อยในพื้นที่อนุรักษ์ (ม.ขอนแก่น)”
2 กรกฎาคม 2566 / นายสุวรงค์ วงษ์ศิริ รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM พร้อมด้วย รศ.ดร.ธณัฏฐ์คุณ มงคลอัศวรัตน์ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมเปิดเวที “การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์เยาวชนกลุ่มประเทศอาเซียน ครั้งที่ 9” (The 9th ASEAN Student Science Project Competition, ASPC 2023) เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนในกลุ่มประเทศอาเซียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 รวมทั้งสร้างเครือข่ายระหว่างเยาวชนและครู ในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยการประกวดฯ ดังกล่าว จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 - 4 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องประชุมแสงเดือน-แสงเทียน พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า NSM ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
July 2, 2023/ Mr.Suwarong Wongsiri, vice president, National Science Museum (NSM) and Assoc.Dr.Thanuttkul Mongkolaussavarat, president, the Science Society of Thailand Under the Patronage of His Majesty the King (STT), have collaborated to arrange The 9th Student Science Project Competition or ASPC 2023 during July 1-4, 2023 at Sangdean-Sangthien Hall, Rama 9 museum, NSM, Klong 5, Klong Luang, Pathum Thani province. The aim of ASPC 2023 is to strengthen the youth groups in ASEAN to increase higher scientific learning performance and develop skills for the 21st century development. The ASPC 2023 also creates networks among youth groups and teachers to exchange their experience and culture of ASEAN countries.
1 กรกฎาคม 2566 /ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (NSM) พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ให้การต้อนรับ คณะเยาวชนและคุณครูใน “การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์เยาวชนกลุ่มประเทศอาเซียน ครั้งที่ 9” (The 9th ASEAN Student Science Project Competition, ASPC 2023) เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนในกลุ่มประเทศอาเซียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 รวมทั้งสร้างเครือข่ายระหว่างเยาวชนและครูในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศอาเซียน ณ ห้องประชุมแสงเดือน-แสงเทียน พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า โดยการประกวดฯ ดังกล่าว จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 - 4 กรกฎาคม 2566 ณ NSM ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
จัดหาตัวแทนบริหารพื้นที่จำหน่ายสินค้างานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2566
เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผอ.องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ หรือ NSM เปิดเผยว่า NSM ให้ความสำคัญกับของเล่นวิทยาศาสตร์ เพราะสามารถสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ให้กับคนในทุกช่วงวัย ถือเป็นสื่อหรือเครื่องมือที่จะช่วยในเรื่องการเรียนการสอน ช่วยสร้างความสนใจในวิทยาศาสตร์ ที่สำคัญตนมองว่าของเล่นวิทยาศาสตร์สามารถจะนำไปสู่อุตสาหกรรมการผลิตของเล่นวิทยาศาสตร์ในระดับประเทศและในระดับโลกได้ เพราะปัจจุบันของเล่นวิทยาศาสตร์ ยังไม่มีหน่วยงานเจ้าภาพที่จะมาดูแลอย่างจริงจัง อย่างในต่างประเทศ เช่น จีนหรือประเทศทางตะวันตก ของเล่นวิทยาศาสตร์หรือ STEM Toy เป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับความสนใจมาก เพราะไม่ได้สนุกสนานเพลิดเพลินเฉพาะกับเด็กเล็ก ทุกวันนี้มีของเล่นวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กโตและเด็กมหาวิทยาลัย แนวโน้มของเล่นจะไปในทิศทางของ STEM Toy และ Science Toy มากขึ้น ถ้ามองในแง่ของโอกาสในการขยายตัวสู่อุตสาหกรรม ถือว่ายังมีโอกาสอีกมาก เพราะกลุ่มลูกค้ากว้างมาก ดังนั้น ตนจึงคิดว่ามันเป็นโอกาสมากสำหรับอุตสาหกรรมของเล่นวิทยาศาสตร์ไทย
27 มิถุนายน 2566 / ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM ให้การต้อนรับ นายกฤษดา คงอยู่ วิทยากร ระดับ 9 พร้อมด้วย นายจักรพล ป้อมปราณี หัวหน้าแผนกเสริมสร้างทัศนคติการใช้ไฟฟ้า และนายอาทิตย์ นาคสวัสดิ์ วิทยากร จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และคณะเยาวชนผู้เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการ EGAT Green Learning Academy ประจำปี 2566 รุ่นที่ 2 ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อส่งเสริมศักยภาพเยาวชนให้มีพื้นฐานที่ดีในการพัฒนาตนเองสู่การเป็นนักสื่อสารที่สามารถถ่ายทอดเรื่องราวการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมสู่สังคม ตลอดจนส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของพลังงานให้กับเยาวชน พร้อมสร้างเครือข่ายเยาวชนนักสื่อสารหัวใจอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ณ ห้องแสงเดือน-แสงเทียน พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า NSM คลองห้า จ.ปทุมธานี โดยการอบรมฯ จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 27-30 มิถุนายน 2566 ณ NSM ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี และการไฟฟ้าฝ่ายผลิต เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี
26 มิถุนายน 2566 / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM พร้อมด้วย ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการ NSM และนายถิรพงศ์ เกียรตินันทน์ ผอ.สำนักบริการผู้เข้าชม และคณะเจ้าหน้าที่ NSM เข้าพบหารือความร่วมมือกับ เรืออากาศเอก อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ สพฉ. ในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการการช่วยเหลือและการแพทย์ฉุกเฉิน และการนำองค์ความรู้มาจัดแสดง เพื่อเผยแพร่ให้แก่เยาวชนและประชาชน ผ่านนิทรรศการและกิจกรรมของ NSM อีกทั้งคณะของ NSM ได้เยี่ยมชมการดำเนินงานของ สพฉ. ณ ห้องประชุมสัตตบุษย์ ชั้น 6 อาคารพัฒนาบุคลากรการแพทย์ฉุกเฉิน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ จ.นนทบุรี
26 มิถุนายน 2566 / ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองอำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM ร่วมแสดงความยินดี และเป็นประธานมอบรางวัล พร้อมด้วย ผศ.ดร.อนุชา ทีรคานนท์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมมอบรางวัลในการประกวดฯ ในการประกวดการแสดงละครวิทยาศาสตร์ (ภาษาอังกฤษ) ประจำปี 2566 รอบชิงชนะเลิศ (Thailand Science Drama Competition 2023) เวทีของการสื่อสารเรื่องราววิทยาศาสตร์ผ่านรูปแบบละครเวที ณ โรงละคอนแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จ.ปทุมธานี พร้อมคัดเลือกทีมชนะเลิศเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการประกวดการแสดงละครวิทยาศาสตร์ในระดับนานาชาติ ในเดือนก.ย. 66 ต่อไป
เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2566 ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (NSM) เข้าร่วมการสัมมนา “Science Literacy in Digital Era” ซึ่งจัดโดย Indonesian Academy of Sciences พร้อมทั้งนำเสนอภายใต้หัวข้อ Curiosity WINS & Science Communication in the New Landscape of Digital Era: NSM Thailand Experience ณ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
21 มิถุนายน 2566 / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM ร่วมพิธีเปิดงาน “รักชาติ เฟสติวัล” ครั้งที่ 7 โดยมี พลเอก ทรงวิทย์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานเปิดงานฯ โดยปีนี้จัดขึ้นในธีม "ศึกษาอดีต เรียนรู้ปัจจุบัน สรรค์สร้างอนาคต" และNSM ได้นำนิทรรศการคาราวานวิทยาศาสตร์ และกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์ไปจัดแสดงภายในงาน ซึ่งงานจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 21-23 มิถุนายน 2566 เวลา 09.00-16.00 น. ณ อาคารต้อนรับ อนุสรณ์สถานแห่งชาติ จ.ปทุมธานี
เมื่อวันที่ 15-17 มิถุนายน 2566 นายสุวรงค์ วงษ์ศิริ รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM และน.ส.จีรพัชรินทร์ อรรถจินดา ผอ.สำนักพัฒนาธุรกิจและเครือข่าย อพวช. เข้าร่วมประชุมประจำปีเครือข่ายศูนย์วิทยาศาสตร์และพิพิธภัณฑ์แห่งยุโรป (The European Network of Science Centres and Museums; ECSITE) เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลการดำเนินงานและสร้างความร่วมมือด้านพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้กับหน่วยงานสมาชิกกว่า 900 คนจาก 50 ประเทศทั่วโลก ณ เมืองวัลเลตตา สาธารณรัฐมอลตา
20 มิถุนายน 2566 / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM พร้อมด้วย ดร.จินตนันท์ ชญาต์ร ศุภมิตร กรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน (กตป.) ด้านกิจการโทรทัศน์ และผศ.ดร. สุดาวรรณ สมใจ หัวหน้าโครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลตามนโยบายที่สำคัญ ด้านกิจการโทรทัศน์ ประจำปี 2565 ร่วมเปิดนิทรรศการ (Open House) การนำเสนอผลการศึกษา การจ้างที่ปรึกษาเพื่อการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลตามนโยบายที่สำคัญ ด้านกิจการโทรทัศน์ ประจำปี 2565 การติดตามและประเมินผลการให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัลด้วยเทคโนโลยี 4K และการติดตามประสิทธิภาพและประเมินผลการบริหารจัดการ ของกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) พร้อมร่วมฟังเสวนาในหัวข้อ “มองอนาคตต่อทิศทางกิจการโทรทัศน์ไทย” ณ จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. ณ เดอะสตรีท รัชดา ชั้น 5 ศูนย์การค้า เดอะสตรีท รัชดา กรุงเทพฯ
20 มิถุนายน 2566 / ดร.ชนินทร วรรณวิจิตร รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM ให้การต้อนรับ และนายจักรพล ป้อมปราณี หัวหน้าแผนกเสริมสร้างทัศนคติในสถานศึกษา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และคณะเยาวชนผู้เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการ EGAT Green Learning Academy ประจำปี 2566 รุ่นที่ 1 ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย เพื่อส่งเสริมศักยภาพเยาวชนให้มีพื้นฐานที่ดีในการพัฒนาตนเองสู่การเป็นนักสื่อสารที่สามารถถ่ายทอดเรื่องราวการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมสู่สังคม ตลอดจนส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของพลังงานให้กับเยาวชน พร้อมสร้างเครือข่ายเยาวชนนักสื่อสารหัวใจอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ณ ห้องแสงเดือน-แสงเทียน พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า NSM คลองห้า จ.ปทุมธานี โดยการอบรมฯ จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 20-23 มิถุนายน 2566 ณ NSM คลองห้า จ.ปทุมธานี และการไฟฟ้าฝ่ายผลิต เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี
16 มิถุนายน 2566 / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM และประธานมูลนิธิวิทยาศาสตร์ ดร.ปรีชา-ประไพ อมาตยกุล ร่วมงานพิธีเปิดกิจกรรมปาฐกถา ดร.ปรีชา อมาตยกุล ประจำปี 2566 Science Talk หัวข้อ “วิทยาศาสตร์กับโอกาสที่ท้าไทย” เพื่อสนับสนุนให้เกิดพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กระตุ้นและส่งเสริมให้ประชาชนคนไทยสนใจและเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์ สร้างแรงบันดาลใจในการศึกษาต่อทางด้านวิทยาศาสตร์ รวมถึงเป็นการสร้างกิจกรรมการสื่อสารวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายให้กับสาธารณะ ณ ศาลาผกาภิรมย์ โรงเรียนจิตรลดา กรุงเทพฯ
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “Active Learning กับการเรียนรู้ STEM และอาชีพวิทยาศาสตร์” ให้กับครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา โดยมี ดร.นันทิดา ศรีเปารยะ ผู้อำนวยการกองพัฒนาธุรกิจ สำนักพัฒนาธุรกิจและเครือข่าย อพวช. และดร.เอกพงศ์ ศรีเปารยะ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและพัฒนาทักษะอนาคต สำนักวิทยาศาสตร์สู่ชุมชน อพวช. ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ "แนวโน้มและโอกาสของอาชีพ STEM ในอนาคต" และหัวข้อ "วางแผนชีวิต พิชิตเป้าหมาย กับ Enjoysciencecareers.nsm.or.th แพลตฟอร์ม" ปูเส้นทางสู่อาชีพ STEM แห่งอนาคต ในการสัมมนาฯ ดังกล่าว ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมสัมมนาฯ ได้เข้าเยี่ยมชมนิทรรศการและกิจกรรมณ จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. เชียงใหม่ ในระหว่างวันที่ 15 - 16 มิถุนายน 2566
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) พร้อมเคลื่อนพลความสนุก “คาราวานวิทยาศาสตร์ อพวช.” ซีซั่นใหม่ กับนิทรรศการและกิจกรรมที่สนุกสนานที่จะสร้างประสบการณ์ และแรงบันดาลใจกับการค้นพบความมหัศจรรย์ของวิทยาศาสตร์ เตรียมกระจายความสนุกกว่า 5 จังหวัด เริ่ม 15-16 มิ.ย. นี้ ที่โรงเรียนวัดศีรษะทอง จ.นครปฐม
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดแสดงนิทรรศการ “ดาวเคราะห์น้อยเฉียดโลก” (Asteroid Passes Close to Earth Exhibition) ชวนเรียนรู้และค้นพบเรื่องราวอันน่าอัศจรรย์ของดาวเคราะห์น้อย พร้อมรู้เท่าทันการรับมือกับดาวเคราะห์น้อยอันตรายที่อาจเข้าใกล้โลกในมุมมองของนักดาราศาสตร์ โดยนิทรรศการฯ จัดแสดง ณ บริเวณชั้น 1 พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ NSM ต.คลองห้า จ.ปทุมธานี ตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2566 เป็นต้นไป
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “Active Learning กับการเรียนรู้ STEM และอาชีพวิทยาศาสตร์” รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ให้กับครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา โดยมี ดร.นันทิดา ศรีเปารยะ ผู้อำนวยการกองพัฒนาธุรกิจ สำนักพัฒนาธุรกิจและเครือข่าย อพวช. และดร.เอกพงศ์ ศรีเปารยะ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและพัฒนาทักษะอนาคต สำนักวิทยาศาสตร์สู่ชุมชน อพวช. ร่วมเป็นวิทยากรในการสัมมนาฯ ดังกล่าว ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมสัมมนาฯ ได้เข้าเยี่ยมชมนิทรรศการและกิจกรรม ณ จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. โคราช ในระหว่างวันที่ 12 - 13 มิถุนายน 2566
9 มิถุนายน 2566 / รศ.ดร.ธนัฏฐ์คุณ มงคลอัศวรัตน์ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ และกรรมการ อพวช. เป็นประธานเปิด ค่าย Thai Science Camp ครั้งที่ 15 โดยมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ม.ร.ว.ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ พร้อมด้วย ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM รศ.ดร.ฤดี สุราฤทธิ์ ประธานคณะกรรรมการการจัดค่าย Thai Science Camp และดร.โชติมา หนูพริก รองผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมพิธีเปิดค่ายฯ ดังกล่าว โดยกิจกรรมจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 9 - 12 มิถุนายน 2566 โดยมีเยาวชนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนกว่า 150 คนจากทั่วประเทศ ณ ห้องแสงเดือน-แสงเทียน พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า NSM จ.ปทุมธานี
9 มิถุนายน 2566 /ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM เป็นประธานกล่าวต้อนรับพร้อมบรรยายพิเศษ หัวข้อ “แนวโน้มและโอกาสของอาชีพ STEM ในอนาคต” ในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “Active Learning กับการเรียนรู้ STEM และอาชีพวิทยาศาสตร์” ให้กับครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา และผู้สนใจ ณ ห้อง IT Auditorium พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ NSM จ.ปทุมธานี
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM เผยผลการแข่งขัน “NSM Junior Science Influencers 2023” รอบชิงชนะเลิศ ผลปรากฏว่า ผู้คว้ารางวัลนำเสนอยอดเยี่ยมระดับประถมศึกษาตอนปลาย ได้แก่ ด.ช.วิวัฒน์เดช เลาหวิศิษฏ์ และด.ช.วรอัศว์ เต็มบุญศรัณย์ และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ได้แก่ ด.ญ.บุญญิศา ศิริใจสมบุญ และด.ช.อภิชพัฒน์ เต็มบุญศรัณย์ เตรียมพัฒนาต่อยอดสู่การเป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์สู่สาธารณชนอย่างมืออาชีพต่อไปในอนาคต
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM นำนิทรรศการ “สนุกกับอาชีพวิทย์” ไปจัดแสดงภายในงาน JOB EXPO THAILAND 2023 โดยการสนับสนุนจาก กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เพื่อสร้างแรงบันดาลด้านอาชีพ STEM ให้เยาวชนและประชาชนทั่วไป โดยนิทรรศการฯ จะจัดแสดงระหว่างวันที่ 8 - 10 มิถุนายน 2566 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา Hall EH 100 – 102
7 มิถุนายน 2566 / องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM ให้การต้อนรับคณะนักศึกษาจากโครงการฝึกงาน Singha Biz Course รูปแบบพิเศษ ที่ดำเนินการจัดโดย บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มีโอกาสทำงานจริงฝึกความกล้าคิดกล้าทำ กล้าแสดงออก และประสบการณ์จริง พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญ ระดับประเทศในหลากหลายสาขาวิชา ทั้งนี้ ดร.นันทิดา ศรีเปารยะ ผู้อำนวยการกองพัฒนาธุรกิจ สำนักพัฒนาธุรกิจและเครือข่าย อพวช. ได้ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายเเนะนำภาพรวมของ NSM ณ ห้องประชุมยูเรก้า ชั้น 2 อาคารสำนักงาน NSM คลองห้า จ.ปทุมธานี
3 มิถุนายน 2566 / นายสุวรงค์ วงษ์ศิริ รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM เป็นประธานเปิดการแข่งขัน “NSM Junior Science Influencers 2023” รอบชิงชนะเลิศ เพื่อสร้างโอกาสและแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนในการถ่ายทอดเรื่องราววิทยาศาสตร์สู่สาธารณชนได้อย่างมืออาชีพ ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายเยาวชนนักสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ของประเทศ พร้อมชิงเงินรางวัลรวมมูลค่ากว่า 100,000 บาท ณ ห้องการแสดงทางวิทยาศาสตร์ พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ NSM คลองห้า จ.ปทุมธานี
3 มิถุนายน 2566 / ศาสตราจารย์ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ รองปลัดกระทรวง อว. นำคณะผู้บริหารกระทรวง อว. เข้าร่วมลงนามถวายพระพรชัยมงคลสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี 3 มิถุนายน 2566 โดยมี ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM ร่วมพิธีฯ ดังกล่าว ณ ศาลาสหทัยสมาคมในพระบรมมหาราชวัง
2 มิถุนายน 2566 / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร นำคณะเจ้าหน้าที่ ร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2566 พร้อมลงนามถวายพระพรชัยมงคล ณ ห้องประชุมยูเรก้า ชั้น 2 อาคารสำนักงาน ทั้งนี้ คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ ได้ร่วมทำบุญตักบาตรแด่พระภิกษุสงฆ์ จำนวน 9 รูป เนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันวิสาขบูชา ณ ลานด้านหน้าพิพิธภัณฑ์พระรามเก้า NSM คลองห้า จ.ปทุมธานี
28 พฤษภาคม 2566 /องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM นำกิจกรรมคาราวานวิทยาศาสตร์ อพวช. จัดแสดง ณ โรงเรียนบ้านบาตร(ชัยทัตราษฎร์บำรุง) จ.บุรีรัมย์ โดยการสนับสนุนจาก บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) ในโครงการ "NER ส่งสุขความรู้ สู่ดวงใจพนักงาน ผ่านรถคาราวาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ และสร้างแรงบันดาลใจด้านวิทยาศาสตร์ให้กับน้อง ๆ เยาวชน และบุตรหลาน ของพนักงานภายใน บริษัท นอร์ทอีสฯ
1 มิถุนายน 2566 / ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำคณะผู้บริหารหน่วยงานของกระทรวง อว. ร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2566 พร้อมลงนามถวายพระพร โดยมี ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM เข้าร่วมพิธีฯ ดังกล่าว ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า สป.อว. (ถนนโยธี) กระทรวง อว. กรุงเทพฯ
31 พฤษภาคม 2566 / นายสุวรงค์ วงษ์ศิริ รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM เป็นประธานเปิด "การอบรมพัฒนาทักษะการแสดงละคร" เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับทีมที่ผ่านการคัดเลือกจากโครงการประกวดละครวิทยาศาสตร์ (ภาษาอังกฤษ) ประจำปี 2566 (Thailand Science Drama Competition 2023) จำนวน 6 ทีม ทั้งหมด 64 คน มาร่วมพัฒนาทักษะการแสดงละครให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการสื่อสารเรื่องราววิทยาศาสตร์ผ่านรูปแบบละครเวที และสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์สู่สังคมไทยอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการอบรมฯ จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม - 2 มิถุนายน 2566 ณ ห้องประชุม IT Auditorium พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ NSM คลองห้า จ.ปทุมธานี
เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2566 ดร.ชนินทร วรรณวิจิตร รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM เป็นตัวแทนรับมอบเครื่องหมาย “มาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวทางศิลปวิทยาการ” ระดับดีเยี่ยม จากกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยมี นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นผู้มอบ ณ ห้องแกรนด์บอลรูม ชั้น 3 โรงแรม เซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพฯ
28 พฤษภาคม 2566 / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผอ.องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM เข้าร่วมการประชุม ZGC Forum 2023: Science, Technology and Innovation for the Sustainable Development of Natural History Museums Forum พร้อมนำเสนอผลงานในหัวข้อ Citizen Science: Public Participation that Leads to the Sustainability จัดขึ้นโดย Beijing Academy of Science and Technology (BAST) ในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Live Streaming
25 พฤษภาคม 2566 / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผอ.องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM ลงนามความร่วมมือกับสถาบันวิจัยและสถาบันการศึกษา ภายใต้กระทรวง อว. และภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมและพัฒนาหลักสูตรใหม่ Future Graduate Platform หรือ บัณฑิตวิทย์สมรรถนะสูง โดยใช้ Non-conventional Future Graduate Platform เพื่อเป็นโครงการนำร่องในการผลิตกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูงที่มีทักษะหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ร่วมกันตามความต้องการของสถาบันวิจัยและภาคอุตสาหกรรมของประเทศ (TAS educational sandbox) พร้อมร่วมเปิดตัว “ธัชวิทย์” วิทยสถานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (Thailand Academy of Sciences : TAS) โดยมี ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานและสักขีพยาน ซึ่งดำเนินการโดย หน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า สป.อว. (ถนนโยธี) กระทรวง อว. กรุงเทพฯ
เมื่อวันที่ 24 พ.ค. ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมแสดงความยินดีพร้อมมอบโอวาทแก่คณะเยาวชนไทยที่คว้ารางวัลสร้างชื่อในเวทีโลกจากการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์สำหรับเยาวชน ระดับโลก REGENERON ISEF 2023 ณ เมืองดัลลัส รัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมี ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM ดร.จุฬารัตน์ ตันประเสริฐ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ( สวทช.) นางสาวสตตกมล เกียรติพานิช ผู้อำนวยการกองบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม 2 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) รศ.ดร.ธณัฏฐ์คุณ มงคลอัศวรัตน์ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และนางสาวอารยา ภู่พานิช รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานกิจกรรมเพื่อสังคม ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมแสดงความยินดี ที่ห้องโถงนิทรรศการ อาคาร 12 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี
21 พฤษภาคม 2566 / รศ.ดร.ธนัฏฐ์คุณ มงคลอัศวรัตน์ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ และกรรมการ อพวช. พร้อมด้วย ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการ อพวช. (NSM) ให้การต้อนรับพร้อมแสดงความยินดีแก่คณะเยาวชนไทยจากการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมสำหรับเยาวชน ระดับโลก REGENERON ISEF 2023 ในระหว่างวันที่ 13-19 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ณ เมืองดัลลัส รัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่สามารถคว้ารางวัลใหญ่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย ในการเดินทางกลับถึงประเทศไทย ณ สนามบินสุวรรณภูมิ
20 พฤษภาคม 2566 นายสุวรงค์ วงษ์ศิริ รอพ. เป็นประธานเปิดการอบรมนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ NSM Junior Science influencers 2023 เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสาร พร้อมเรียนรู้การถ่ายทอดเรื่องราววิทยาศาสตร์สู่สาธารณชนอย่างมืออาชีพ โดยการอบรมฯ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 - 21 พฤษภาคม 2566 ณ ห้องประชุมยูเรก้า อาคารสำนักงาน ชั้น 2 อพ.
ความสามารถไม่แพ้เด็กชาติใด เยาวชนไทยจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพฯ สร้างชื่อเสียงให้ประเทศ คว้ารางวัลสุดยอดนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ Regeneron Young Scientists Awards สนับสนุนโดย Regeneron and Society for Science รับเงินรางวัลมูลค่ากว่า 1.7 ล้านบาท พร้อมคว้ารางวัล Grand Awards อันดับ 1 สาขาสัตวศาสตร์ในการแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมระดับโลก REGENERON ISEF 2023 ที่สหรัฐฯ เฉือนคู่แข่งจาก 63 ประเทศทั่วโลก ขณะที่ทีมเยาวชนไทยคว้าอีก 8 รางวัลบนเวทีระดับโลก รวม 10 รางวัล
19 พฤษภาคม 2566 / ดร.ชนินทร วรรณวิจิตร รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM พร้อมด้วย ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และรศ.ดร.วรวรรณ พันธุมนาวิน กรรมการและผู้ช่วยนายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ ร่วมแสดงความยินดีกับ 2 ทีมเยาวชนไทย จากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จ.เชียงใหม่ และโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพฯ ที่สามารถคว้ารางวัล Special Award จากการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมสำหรับเยาวชน ระดับโลก REGENERON ISEF 2023 จัดโดย Society for Science & the Public ณ เมืองดัลลัส รัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ในระหว่างวันที่ 13-19 พฤษภาคม 2566 โดยในปีนี้มีนักเรียนกว่า 1,600 คน จาก 63 ประเทศ และมลรัฐต่างๆ ทั่วประเทศสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมประกวด
ประกาศผลผู้ได้รับเลือกให้รับประกันภัยประจำปี 2566
16 พฤษภาคม 2566 / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM พร้อมด้วย ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการ อพวช. และคณะผู้บริหาร ให้การต้อนรับ ดร.หวัง จุนเว่ย Executives Director พร้อมด้วย คุณพิชญาภัทร สนแจ้ง ผู้ช่วยดำเนินงานโครงการฯ จาก Chinese Academy of Sciences Innovation Cooperation Center (Bangkok) เพื่อหารือความร่วมมือในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการลดมลภาวะ pm 2.5 ภายในพื้นที่ อพวช. และการจัดแสดงนิทรรศการภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2566 ณ ห้องคำหวาน พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า NSM คลองห้า จ.ปทุมธานี
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM จัดเต็มนิทรรศการและกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้อย่างยั่งยืน เพื่อร่วมเฉลิมฉลองวันพิพิธภัณฑ์สากล (International Museum Day) ชวนสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่สนุกสนาน แรงบันดาลใจด้านวิทยาศาสตร์ ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ผ่านพิพิธภัณฑ์ตลอดเดือน พ.ค. นี้
13 พฤษภาคม 2566 / ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM พร้อมด้วย คุณกุลกิตต์ ชัยอำนวย ผู้แทนผู้ช่วยทูตฝ่ายวัฒนธรรมและสื่อมวลชน สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย เป็นประธานมอบรางวัลการประกวดในโครงการ University Students’ Science, Technology and Innovation Talk (UniTi Talks) รอบชิงชนะเลิศ เวทีสร้างนักสื่อสารวิทยาศาสตร์อย่างสร้างสรรค์ ระดับอุดมศึกษา ผลปรากฏว่า นางสาวหทัยธนิต ธงทอง นิสิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คว้ารางวัลชนะเลิศไปครอง ในหัวข้อ “Ride the green wave: รถกระป๊อ transformed into electric carpool heroes” ณ ห้องประชุม IT Auditorium พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ NSM คลองห้า จ.ปทุมธานี
12 พฤษภาคม 2566 / รองศาสตราจารย์ ดร. ธนัฏฐ์คุณ มงคลอัศวรัตน์ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และกรรมการ อพวช. เดินทางมาให้กำลังใจและส่งเยาวชนไทย ทั้ง 8 ทีม ที่จะเดินทางไปร่วมในการแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม ระดับโลก REGENERON ISEF 2023 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 13-19 พฤษภาคม 2566 ณ เมืองดัลลัส รัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมี ดร.ชนินทร วรรณวิจิตร รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM ร่วมเดินทางไปกับเยาวชนในครั้งนี้ ณ สนามบินสุวรรณภูมิ
NSM จับมือ แกมมาโก้ เปิดเวทีการแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ ประจำปี 2566 ร่วมเฟ้นหาสุดยอดเยาวชนไทยแข่งหุ่นยนต์ระดับโลก
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM ร่วมด้วย สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย ศูนย์ข้อมูลและวัฒนธรรมอเมริกัน (American Corner) 4 แห่ง และศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) เปิดเวทีการประกวดในโครงการ University Students’ Science, Technology and Innovation Talk (UniTi Talks) รอบชิงชนะเลิศ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจสู่การเป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ที่พร้อมเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างสร้างสรรค์ ชิงรางวัลและทุนการศึกษารวมมูลค่ากว่า 100,000 บาท ณ ห้องประชุม IT Auditorium พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ NSM คลองห้า จ.ปทุมธานี
น.ส.กรพินธุ์ ศรีศศินานนท์ โรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี คว้าชัยในการแข่งขัน “SiT Talks: Science Inspired by Teen 2023”
4 พฤษภาคม 2566 / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM เป็นประธานเปิด “ค่ายนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ไทยรุ่นเยาว์” (Junior Thai Science Communicator Camp) เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีในการสื่อสารวิทยาศาสตร์ให้กับเยาวชนจากกิจกรรม “ต้นกล้านักวิทย์” ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนของโรงเรียนที่ NSM จัดงานคาราวานวิทยาศาสตร์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ มาร่วมพัฒนาทักษะการสื่อสารวิทยาศาสตร์ในด้านต่าง ๆ จากวิทยากรชั้นนำระดับประเทศ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการสื่อสารกับนักสื่อสารวิทยาศาสตร์แถวหน้าของประเทศไทย โดยค่ายฯ จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 4-6 พฤษภาคม 2566 ณ อพ
เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2566 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมบันทึกเทปถวายพระพร เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 3 มิถุนายน 2566 นำโดย ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. พร้อมด้วย ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว., ดร.บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว., นายสัมพันธ์ เย็นสำราญ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว., ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. โดยมี ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM พร้อมด้วยผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดเข้าร่วม ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 (ททบ. 5)
มอบโอกาสการเรียนรู้ พร้อมสร้างความสมานฉันท์ ปิดฉากโครงการ “สานใจไทย สู่ใจใต้” รุ่นที่ 40
NSM จัดกิจกรรม “ปฏิบัติการสำรวจธรรมชาติในเมือง” (City Nature Challenge 2023)
เมื่อวันที่ 29 เม.ย. ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM พร้อมด้วย พลเอก ชูชาติ บัวขาว ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ และนายกวิน เลขานนท์ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายวิศวกรรม บริษัท ซีเกทเทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด เป็นประธานมอบรางวัลในการแข่งขัน “Thailand CANSAT - ROCKET Competition 2023” เวทีเฟ้นหาทีมชนะเลิศการออกแบบและประดิษฐ์ดาวเทียมขนาดเล็ก (CANSAT) และจรวดประดิษฐ์ (ROCKET) ผลปรากฏทีมโรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ จ.พัทลุง คว้ารางวัลชนะเลิศ CANSAT – ROCKET Award ไปครอง พร้อมรับทุนการศึกษา 15,000 บาท ณ ห้อง IT Auditorium พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ อพวช. คลองห้า จ.ปทุมธานี
NSM จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ "การออกแบบของเล่นวิทยาศาสตร์ Automata Toys"
29 เมษายน 2566 / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM เป็นประธานเปิดกิจกรรม “ค่ายเปิดโลกการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สานใจไทยสู่ใจใต้ รุ่นที่ 40” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสานใจไทย สู่ใจใต้ เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ให้กับเยาวชนจาก 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 320 คน ในการสร้างแรงบันดาลใจด้านวิทยาศาสตร์ด้วยความสนุกสนาน พร้อมเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน โดยค่ายฯ จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 29 เมษายน - 1 พฤษภาคม 2566 ณ อพวช. คลองห้า ปทุมธานี
NSM และ กฟผ. ร่วมจัดกิจกรรม “Low Carbon Day Camp 2023 ค่ายเยาวชนคนลดคาร์บอน”
เมื่อวันที่ 27 เม.ย. ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM พร้อมด้วย นาวาอากาศเอก คมสันต์ ประพันธ์กาญจน์ รองผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) เป็นประธานเปิดการแข่งขัน “Thailand CANSAT - ROCKET Competition 2023 หวังสร้างแรงบันดาลใจและพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอวกาศให้กับเยาวชน ในระหว่างวันที่ 27 – 29 เมษายน 2566 ห้อง IT Auditorium พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ อพวช. คลองห้า จ.ปทุมธานี
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมสนับสนุน โคโลญเมสเซ่ และเมสเซ่ สตุ๊ตการ์ท จัดงานนิทรรศการและการประชุมด้านการศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในโลก “didacta asia (ดิแดคต้า เอเชีย)” ครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในธีม Shaping the Future of Skills เป็นการผสานระหว่าง เวทีที่รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา สร้างการแลกเปลี่ยนความรู้ ไอเดีย ประสบการณ์ รวมถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา และการจัดแสดงสินค้าในอุตสาหกรรมสื่อการศึกษา ภายใต้การสนับสนุนจากหน่วยงานชั้นนำ พร้อมกิจกรรมเวิร์คช้อป โซนสาธิต และการฝึกทักษะมากมายตลอด 3 วัน ในระหว่างวันที่ 24-26 ตุลาคม 2566 ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ คาดมีผู้เข้าร่วมงาน 6,000 รายจาก 20 ประเทศ ผู้จัดแสดงสินค้ากว่า 200 บริษัททั่วโลก หัวข้อสัมมนาและเวิร์คช้อปกว่า 25 เซสชั่น สร้างศักยภาพให้การศึกษาไทยและภูมิภาคฯ ให้เติบโตไปอีกขั้น
ทีมโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 12 (บ้านเอก) จ.เชียงใหม่ คว้าชัยโครงงานวิทยาศาสตร์ด้านธรรมชาติวิทยา ประจำปี 2566
24 เมษายน 2566 / นายสุวรงค์ วงษ์ศิริ รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM เป็นประธานเปิดการประกวดแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์ด้านธรรมชาติวิทยา ระดับประเทศ ประจำปี 2566 รอบชิงชนะเลิศ ภายใต้หัวข้อ “ธัญพืช ของขวัญจากธรรมชาติ” เพื่อเปิดเวทีให้เยาวชนได้มีโอกาสแสดงศักยภาพด้านการสื่อสารและถ่ายทอดเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ผ่านการจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ด้านธรรมชาติวิทยาและสิ่งแวดล้อม พร้อมสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนคนรุ่นใหม่หันมาสนใจงานด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติมากยิ่งขึ้น ณ ห้อง IT Auditorium พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ อพวช. คลองห้า ปทุมธานี
อพวช.ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการขับเคลื่อนธรรมาภิบาลและบรรษัทภิบาล
20 เมษายน 2566 / นายสุวรงค์ วงษ์ศิริ รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM เป็นประธานเปิด “โครงการวิทยาศาสตร์ต้านภัยยาเสพติด ปี 2566” โดยมี นางสาวศิริประกาย วรปรีชา รองอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน พร้อมด้วย นางสาววัชริน แม่นยำ ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านสิรินธร ให้การต้อนรับ ซึ่งโครงการฯ ดังกล่าว ได้นำกิจกรรมคาราวานวิทยาศาสตร์ไปจัดแสดง พร้อมมอบชุดของเล่นภูมิปัญญาไทย และยาดมสมุนไพร ณ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านสิรินธร จ.นครปฐม เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้ประสบการณ์แสนสนุกกับความมหัศจรรย์ของวิทยาศาสตร์ พร้อมต่อยอดเป็น “พลังสร้างสรรค์” และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและสังคมได้ต่อไปในอนาคต
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM จับมือ บริษัท ไบเออร์ไทย จํากัด มอบสื่อการเรียนรู้ พร้อมจัดอบรมครูในเขตพื้นที่ภาคกลางและเขตปริมณฑล กว่า 20 โรงเรียน ในโครงการ “Better Science for Better Life (วิทย์ก้าวหน้า ชีวิตก้าวไกล)” ภายใต้แนวคิด “Plant Ranger : ขบวนการพิทักษ์พืช” เพื่อสานต่อความมุ่งมั่นในการส่งเสริมและสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเยาวชนไทย ณ พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า อพวช. คลองห้า ปทุมธานี
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM ร่วมกับ ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์คและสเปลล์ ชวนน้องๆ เยาวชนไปสนุกกับกิจกรรม SUMMER PLAY สนุกคิดส์ รับปิดเทอม ในงาน Future Summer Carnival ตื่นตาตื่นใจไปกับการค้นพบความมหัศจรรย์ของวิทยาศาสตร์ผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย เริ่ม 21 เม.ย. – 2 พ.ค. 66 นี้ เต็มพื้นที่ชั้น G ฟิวเจอร์พาร์ค และสเปลล์
NSM ร่วมกับ สทป. จัดพิธีลงนามความร่วมมือโครงการ “THAILAND CANSAT - ROCKET COMPETITION 2023”
18 เมษายน 2566 / นายสุวรงค์ วงษ์ศิริ รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM เป็นประธานเปิด “โครงการวิทยาศาสตร์ต้านภัยยาเสพติด ปี 2566” โดยมี นางสาวศิริประกาย วรปรีชา รองอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน พร้อมด้วย นายรัตนะ วรบัณฑิต ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต 3 ให้การต้อนรับ ณ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต 3 จ.นครราชสีมา ซึ่งโครงการฯ ดังกล่าว ได้นำกิจกรรมคาราวานวิทยาศาสตร์ไปจัดแสดงให้เยาวชนได้เรียนรู้ประสบการณ์แสนสนุกกับความมหัศจรรย์ของวิทยาศาสตร์ พร้อมต่อยอดเป็น “พลังสร้างสรรค์” และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและสังคมได้ต่อไปในอนาคต
เมื่อวันที่ 10 เม.ย. เวลา 10.30 น. พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานคณะกรรมการอำนวยการโครงการ "สานใจไทย สู่ใจใต้" เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ "สานใจไทย สู่ใจใต้" รุ่นที่ 40 โดยมี ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผอ.องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (NSM) และนางสาวสุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมงาน ที่สโมสรกองทัพบก กรุงเทพฯ
5 ภาคีเครือข่ายผนึกกำลัง เปิด “ศูนย์การเรียนรู้ศิลปะโบราณและวิทยาศาสตร์ล้านนา” พาย้อนอดีตชมภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดอุโมงค์ฯ เก่าแก่ที่สุดในภาคเหนือแสดงภูมิปัญญาด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เสมือนจริงเมื่อ 500 ปีก่อน NSM โชว์นิทรรศการ “วิทยาศาสตร์กับวัดอุโมงค์”
10 เมษายน 2566 / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร อพวช. เข้าร่วมในพิธีสรงน้ำพระและรดน้ำขอพร เนื่องในวันสงกรานต์ ประจำปี 2566 โดยมี ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานในพิธี และคณะผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ อว. ร่วมพิธีฯ ดังกล่าว ที่ห้องโถงชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า สำนักงานปลัดกระทรวง อว. (ถนนโยธี)
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เปิดความสนุกบุกใจกลางเมือง ในงาน Science Caravan in the City สาด (ศาสตร์) สนุก บุกเมือง ที่ชวนน้อง ๆ เยาวชน ไปหรรษาคลายร้อนในช่วงสงกรานต์และสนุกกับความมหัศจรรย์ของวิทยาศาสตร์ผ่านนิทรรศการและกิจกรรมที่หลากหลาย พร้อมลุ้นรับของรางวัลมากมายภายในงาน เริ่มตั้งแต่วันนี้ – 16 เมษายน นี้ ณ จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. ณ เดอะ สตรีท รัชดา กรุงเทพฯ
วันที่ 8 เมษายน 2566 / ดร.เอกพงศ์ ศรีเปารยะ ผอ.กองการส่งเสริมและพัฒนาทักษะอนาคต สำนักวิทยาศาสตร์สู่ชุมชน องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM พร้อมด้วย นายอนันต์พล สุดทรัพย์ เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ชำนาญการ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา นครราชสีมา สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ นายนิคม เหาะสูงเนิน ผอ.ส่วนส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เทศบาลนครราชสีมา และนายเชษฐา มั่นคง ผู้จัดการแผนพื้นที่เรียนรู้เพื่อความสุขของเด็ก มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “โคราชเมืองสร้างสรรค์ เมืองแห่งการเรียนรู้“ ในงานเทศกาลโคราชเดินยิ้มเล่นเบ่งบาน "ปิดเทอมสร้างสรรค์... อัศจรรย์วันเล่น” พร้อมนำตัวอย่างกิจกรรมจาก จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. โคราช ร่วมจัดแสดงภายในงาน ณ ศูนย์การค้าเดอะมอล์ลโคราช (มอล์ล พาร์ค)
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ชวนน้อง ๆ หนู ๆ ฉลองเทศกาลสงกรานต์เปิดประสบการณ์แสนสนุกสุดท้าทาย ในกิจกรรม “Challenge yourself @NSM Science Square ChiangMai” ในระหว่างวันที่ 14-16 เมษายน นี้ ที่ จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. เชียงใหม่ ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2566 / ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM พร้อมด้วย ดร.พีรนุช กัณหดิลก ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์แห่งชาติ NSM และ รศ.ธีรวัฒน์ ประกอบผล อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายหัวข้อ "สร้างสรรค์ แรงบันดาลใจสำหรับเด็ก ด้วยกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์" ในงาน "Kind + Jugend ASEAN 2023" นอกจากนี้ NSM ยังได้นำนิทรรศการและกิจกรรมร่วมจัดแสดงภายในงานตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 8 เมษายน 2566 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา
5 เมษายน 2566 / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM ร่วมเปิดงาน “Kind + Jugend ASEAN 2023” งานแสดงสินค้านานาชาติที่เกี่ยวเนื่องกับผลิตภัณฑ์และของใช้จำเป็นสำหรับเด็กแห่งภูมิภาคอาเซียน ทั้งนี้ NSM ยังได้นำผลิตภัณฑ์ นิทรรศการ และกิจกรรม มาร่วมจัดแสดงภายในงานฯ ในระหว่างวันที่ 5 - 8 เมษายน 2566 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค (BITEC) บางนา กรุงเทพฯ
4 เมษายน 2566 / ดร.กรรณิการ์ เฉิน รอพ. ให้การต้อนรับ นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ในการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดปทุมธานี 20 ปี พ.ศ. 2566 - 2585 ระหว่างวันที่ 4-5 เมษายน 2566 ณ ห้องประชุมแสงเดือนแสงเทียน พพก.
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม จัดงาน Science Caravan in the City สาด (ศาสตร์) สนุก บุกเมือง ในรูปแบบของฐานกิจกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ ที่ชวนน้อง ๆ เยาวชน ไปหรรษาคลายร้อนในช่วงสงกรานต์และสนุกกับความมหัศจรรย์ของวิทยาศาสตร์ผ่านนิทรรศการและกิจกรรมที่หลากหลาย พร้อมลุ้นรับของรางวัลมากมาย 10 – 16 เมษายน นี้ ณ จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. ณ เดอะ สตรีท รัชดา กรุงเทพฯ
ร่วมแสดงความยินดี – ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานมอบเกียรติบัตร “คนดีศรี อว." ประจำปี 2565 ให้กับ นางสาวศิริรัตน์ พรหมแก้ว ผู้อำนวยการกองบริการลูกค้าสัมพันธ์ สำนักบริการผู้เข้าชม และนายชวกร กัณหดิลก เจ้าหน้าที่เทคนิค สำนักวิศวกรรมและการผลิตสื่อ พนักงานและลูกจ้างดีเด่นประจำปี 2565 ขององค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) โดยมี ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) และคณะผู้บริหาร อพวช. ร่วมแสดงความยินดี ณ ที่ห้องประชุมภูมิบดินทร์ชั้น 6 อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ กรมวิทยาศาสตร์บริการ
National Science Museum (NSM) welcomed a group of Digital Economy and Society Fund, Office of the National Digital Economy and Society Commission, Ministry of Digital Economy, and Society. The visit aimed to observe development of an application: NSM:AR Adventure in Cubic Building in Digital Science Museum Guides Program. The program will help to extend more channels of new learning in science museum, improve the youth’s capability and create equality in all science learning in the areas of NSM cluster of museums.
National Science Museum (NSM), Ministry of Higher Education, Science, Research, and Innovation has arranged its NSM Science Caravan for holiday break at Nuea Khlong Pracha Bamrung School, Krabi Province, with full fun activities and knowledge to raise an inspiration of amazing science discovery. NSM has closed its first season of the caravan here and will keep on its mission to extend learning opportunity in May or the next semester.
29 มีนาคม 2566 / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) พร้อมด้วย ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการ อพวช. และคณะผู้บริหาร อพวช. ให้การต้อนรับ นายอาเรียล ไซด์มัน รองหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต จากสถานเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย และคณะ ในการประชุมหารือความร่วมมือการจัดแสดงนิทรรศการภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2566 พร้อมเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ และพิพิธภัณฑ์พระรามเก้า คลองห้า จ.ปทุมธานี
28 มีนาคม 2566 / ดร.ชนินทร วรรณวิจิตร รองผู้อำนวยการ อพวช. พร้อมด้วย นางสาวจีรพัชรินทร์ อรรถจินดา ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาธุรกิจและเครือข่าย อพวช. ให้การต้อนรับคุณแอฟว์ ลูแบ็ง (Ms.Eve Lubin) ที่ปรึกษาฝ่ายวัฒนธรรมและความร่วมมือ สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย (Counsellor, Head of the Cooperation and Cultural Affairs Section) และคณะ ในการประชุมหารือความร่วมมือการจัดแสดงนิทรรศการภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2566 พร้อมทั้งเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์พระรามเก้า คลองห้า จ. ปทุมธานี
เมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2566 ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผอ.องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ หรือ NSM พร้อมพันธมิตร ประกอบด้วย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) ได้นำนิทรรศการและกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรมเข้าร่วมงาน “วันวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม” (1st NATIONAL Science, Technology and Innovation Day : STI 2023) ที่ราชอาณาจักรกัมพูชา ระหว่างวันที่ 26 – 28 มี.ค. 2566 ที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมเกาะเพชร (Koh Pich Exhibition and Convention Center) กรุงพนมเปญ โดยมีสมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา เป็นประธานเปิดงาน กล่าวว่า การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะหลังสถานการณ์โควิด-19 จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาขับเคลื่อน การจัดงาน STI 2023 จึงเป็นโอกาสครั้งสำคัญของประเทศกัมพูชา ที่จะสร้างโอกาสใหม่ให้กับทุกคน ทั้งการสร้างความตระหนักรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้กับประชาชน การพัฒนาเทคโนโลยีและองค์ความรู้ใหม่ สร้างอาชีพใหม่ ทักษะใหม่ การต่อยอดทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ ตลอดจนแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่ในการผลิตผลงานวิจัยเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศ
เมื่อวันที่ 24 มี.ค. ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM พร้อมด้วย รศ.ดร.ทิพาพร ลิมปเสนีย์ อุปนายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้การต้อนรับ พร้อมมอบช่อดอกไม้แสดงความยินดี กับ 2 ทีมเยาวชนไทย ณ อาคารผู้โดยสาร ชั้น 2 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หลังคว้า 2 รางวัลใหญ่ ในการแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมระดับนานาชาติ ครั้งที่ 2 (The International Festival of Engineering Science and Technology (I - FEST2)) วันที่ 16 – 22 มี.ค. ที่สาธารณรัฐตูนิเซีย
24 มีนาคม 2566 / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM ร่วมการประชุม The Museum Summit 2023 เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านพิพิธภัณฑ์หลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และการก้าวข้ามผ่านการเปลี่ยนแปลงของโลก เวลา และผู้คน ภายใต้ธีมหลัก “Between” พร้อมนำเสนอในหัวข้อ “Museum in the Time of Transformation” ซึ่งจัดโดย The Leisure and Cultural Services Department (LCSD) of the Government of the Hong Kong Special Administrative Region (HKSAR) โดยมีผู้เข้าร่วมจากนานาชาติกว่า 17 ประเทศ ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 24 – 25 มีนาคม 2566 ณ ศูนย์การประชุมและนิทรรศการฮ่องกง เขตปกครองพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM ร่วมกับ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ส่งเยาวชนไทยเข้าร่วมในการแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับนานาชาติ The 2nd International Festival of Engineering Science and Technology (I - FEST2) ระหว่างวันที่ 16 – 22 มีนาคม 2566 โดยมีเยาวชนมากกว่า 1,200 คน จาก 40 ประเทศเข้าร่วม ณ สาธารณรัฐตูนิเซีย ผลปรากฏว่า 2 ทีมเยาวชนไทยคว้า 2 รางวัลมาครอง ได้แก่รางวัล Gold Medal Award จากโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย จ.ภูเก็ต โดยมีนายนราวิชญ์ เก้าแสง นายศุภวิชญ์ ณ ถลาง นายธีรภัทร์ มะลิวัลย์ ครูที่ปรึกษานายวีรภัทร์ โปณะทอง จากโครงงาน Environmental Study of the Difference Factors Affecting Thermoacoustic Cooling System และรางวัล Silver Medal Award จากโรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ จ.เชียงราย โดยมีนายจารุกิตติ์ กอบแก้ว นางสาวรติพร บุญล้วนวรุณพร ครูที่ปรึกษานายดุสิต แก้วหลา จากโครงงาน An Environmental and Vegan Friendly Dental Floss Made from Plant Fiber โดยเยาวชนทั้ง 2 ทีม จะเดินทางถึงประเทศไทย ในวันศุกร์ที่ 24 มีนาคม 2566 เวลา 12.00 น. ณ สนามบินสุวรรณภูมิ จ.สมุทรปราการ
16 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM ร่วมกับสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ นำคณะนักเรียนจากโรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย เดินทางเข้าร่วมการแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับนานาชาติ The 2nd International Festival of Engineering Science and Technology (I - FEST2) ซึ่งมีเยาวชนมากกว่า 1,200 คน จาก 40 ประเทศ เข้าร่วมการแข่งขันระหว่างวันที่ 16 – 22 มีนาคม 2566 ณ สาธารณรัฐตูนิเซีย
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ เอ็นเอสเอ็ม (NSM) ขอแสดงความยินดีกับ ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เนื่องในโอกาสที่ได้รับคัดเลือกเป็นนิสิตเก่าแพทย์จุฬาฯ ดีเด่น รางวัลเชิดชูเกียรติแพทย์จุฬา ต้นแบบแห่งความสำเร็จ เนื่องในโอกาสครบรอบ 75 ปี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
19 มีนาคม 2566 /ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)หรือ เอ็นเอสเอ็ม (NSM) เป็นประธานในพิธีปิดการอบรมพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ส่วนหนึ่งในโครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ประจำปี 2566 ที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจและรักงานเขียน มาร่วมฝึกทักษะด้านการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์จากผู้เชี่ยวชาญ โดยหวังผู้เข้าร่วมการอบรมจะนำความรู้และประสบการณ์ไปปรับใช้ในงานเขียน พร้อมผลิตผลงานส่งเข้าประกวดในโครงการฯ ต่อไป ณ อาคารพิพิธภัณฑ์พระรามเก้า อพวช. ต.คลองห้า จ.ปทุมธานี
อพวช. ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตร จัดอบรมพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์
รศ.ว่าที่ร้อยตรี ดร.นพพร ลีปรีชานนท์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการ อพวช. ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของ อพวช.
“รวิน” พลิกโฉม อพวช.ใหม่ สู่ NSM “ดินแดนแห่งการค้นพบความมหัศจรรย์ของวิทยาศาสตร์” เข้าถึงได้ที่ทุกที่ ทุกเวลา เตรียมเปิดตัว “ฟิวเจอร์เรียม” ศูนย์ทดสอบด้านอาชีพและทักษะแห่งแรกของประเทศไทยสำหรับเยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษาที่จะต้องเตรียมตัวเข้าสู่อาชีพในอนาคต
เมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2566 นายภูษิต ศศิธรานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็กซ์โปลิงค์ โกลบอล เน็ทเวอร์ค จำกัด ตัวแทน โคโลญเมสเซ่ ประเทศไทย พร้อมด้วย ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) และคุณอุไรวรรณ บุนนาค นายกสมาคมการค้าของเล่นและผลิตภัณฑ์เด็กไทย แถลงเตรียมจัดงาน “Kind + Jugend ASEAN 2023” ที่พร้อมจัดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบในวันที่ 5-8 เมษายน 2566 นี้ ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค (BITEC) คาดมีผู้ประกอบการร่วมงานจากในและต่างประเทศ กว่า 200 แบรนด์จาก 15 ประเทศ ดึงดูดผู้ร่วมงานกว่า 3,000 คนจากทั่วทั้งภูมิภาค พร้อมจัดเวทีสำคัญมากมาย อาทิ โปรแกรม Business Matching เจรจาจับคู่ทางธุรกิจ สร้างโอกาสเติบโตในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เวทีสัมมนา Trend Forum กว่า 10 หัวข้อ โดยผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม, การประกวดนวัตกรรมสินค้าสำหรับเด็ก Innovation Award คาดมีมูลค่าการซื้อขายไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท พร้อมช่วยสร้างศักยภาพให้ตลาดผลิตภัณฑ์แม่และเด็กภูมิภาคอาเซียนเติบโตไปอีกขั้น
11 มีนาคม 2566 / องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ร่วมด้วย กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พร้อมภาคีเครือข่าย จัดเปิดตัวกิจกรรม “ปิดเทอมสร้างสรรค์” อัศจรรย์วันว่าง ประจำปี 2566 เพื่อเปิดพื้นที่ให้เด็ก เยาวชนเข้าถึงกิจกรรมเรียนรู้ตามความสนใจช่วงวันว่าง 150 วัน/ปี ที่กระจายสู่พื้นที่ใกล้บ้าน โดยมี นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) นายสมหวัง พ่วงบางโพ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลา นางสาวตติยา สาครพันธ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและประชาสัมพันธ์องค์การการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และนางสาวมาริสา จงคงคาวุฒิ หัวหน้ากิจกรรมสังคมเพื่อความยั่งยืน ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี ร่วมเปิดตัวกิจกรรมฯ ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
อพวช. ผนึกกำลังในงาน Southeast Asian STEM Education Fair and Exposition 2023 มุ่งขยายผลโครงการ Chevron Enjoy Science ยกระดับสะเต็มศึกษาของชาติ
อพวช. จัดประชุมสมาชิกชมรมรัฐวิสาหกิจเพื่อสังคม (ชรส.) ครั้งที่ 2/2566 เพื่อรวมพลังสร้างสรรค์สังคมแห่งการแบ่งปันให้ยั่งยืน
อพวช. จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Explaining Electricity
7 มีนาคม 2566 / ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ตึกสันติไมตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และคณะรัฐมนตรีเยี่ยมชมกิจกรรม “ปิดเทอมสร้างสรรค์” ปี 66 กิจกรรมเปิดพื้นที่ให้เด็ก เยาวชนเข้าถึงกิจกรรมเรียนรู้ตามความสนใจช่วงวันว่าง 150 วัน/ปี ที่กระจายสู่พื้นที่ใกล้บ้าน โดยมี ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) นายสหัสวรรษ สิงห์ลี อดีตสภารอง สภาเด็กและเยาวชน น.ส.ศศิวมล เสียงแจ้ง ผู้ก่อตั้ง Daywork นายณภัทร (เค้ง) อัสสันตชัย ศิลปิน Doodle Art และน.ส.ธัญญรัตน์ วัฒนธรรม TikToker ร่วมนำเสนอกิจกรรม
2 มีนาคม 2566 / ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมบรรยายในหัวข้อ "Life-long learning for older people : มหาวิทยาลัยชีวิต" ในการประชุมวิชาการประจำปี 2566 เรื่อง "Healthy aging in the new era" โดยสมาคมพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุไทย ณ โรงแรมเดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพฯ
2 มีนาคม 2566 / ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานเปิดการประชุม “President Forum” และกล่าวปาฐกถาพิเศษ “โลกที่เปลี่ยนไปกับพลังใจของผู้นำ” พร้อมมอบนโยบายและทิศทางของดำเนินงานของกระทรวง อว. ในอนาคต และศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. ร่วมกล่าวในประเด็น “อุดมศึกษาไทย: ก้าวไปพร้อมกัน” เพื่อให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวง อว. เกิดการบูรณาการร่วมกันอันนำไปสู่การเป็นกระทรวงแห่งการพัฒนาในทุกภาคส่วนต่อไป โดย ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เข้าร่วมการประชุมฯ ดังกล่าว ณ โรงแรมโนโวเทลมารีน่า ศรีราชา แอนด์ เกาะสีชัง จ.ชลบุรี
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ขอแสดงแสดงความยินดีกับ รศ.ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา และที่ปรึกษาคณะกรรมการ อพวช. เข้ารับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “โพธิ์ทองคนต้นแบบ” จาก พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เนื่องในโอกาสครบรอบ 90 ปี แห่งการก่อตั้งพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ขอแสดงแสดงความยินดีกับ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ประธานกรรมการบริหาร อพวช. เข้ารับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “โพธิ์ทองคนต้นแบบ” จาก พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมี พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบโล่ฯ เนื่องในโอกาสครบรอบ 90 ปี แห่งการก่อตั้งพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสมาคมนักวิจัยรุ่นใหม่ (Thai Young Scientists Academy: TYSA) เปิดเวทีเฟ้นหาเยาวชนร่วมการแข่งขัน “SiT Talks: Science inspired by Teen 2023” เล่าวิทย์ให้ว้าวกับเรื่องราวที่สนใจใน 3 นาที เพื่อสนับสนุนและพัฒนาบุคลากรด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ และพัฒนาศักยภาพของเยาวชนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อให้ก้าวต่อไปเป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพให้กับประเทศในอนาคต ชิงทุนการศึกษามูลค่ารวมกว่า 150,000 บาท เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ – 19 มีนาคม 2566
24 กุมภาพันธ์ 2566 / ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร อพวช. ให้การต้อนรับ พ.อ.สมดุลย์ ศิลป์เจริญ ผู้อำนวยการกองพลังงานทดแทน กรมการพลังงานทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร และคณะ ร่วมประชุมหารือความร่วมมือถึงแนวทางด้านการดำเนินงานพิพิธภัณฑ์และการจัดแสดงนิทรรศการพลังงาน พร้อมทั้งเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และพิพิธภัณฑ์พระรามเก้า ณ อพวช. คลองห้า ปทุมธานี
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) จัดงาน “คาราวานวิทยาศาสตร์ อพวช.” ณ โรงเรียนเหนือคลองประชาบำรุง จ.กระบี่ ส่งท้ายก่อนปิดเทอม ขนขบวนความสนุกคู่ความรู้ให้กับเยาวชนผ่านการสร้างแรงบันดาลใจกับค้นพบความมหัศจรรย์ด้วยวิทยาศาสตร์
15 กุมภาพันธ์ 2566 / ว่าที่ร้อยตรีนพดล รักษ์แก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช เป็นประธานเปิดงาน “คาราวานวิทยาศาสตร์ อพวช. จ.นครศรีธรรมราช” โดยมี ดร.ชนินทร วรรณวิจิตร รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) พร้อมด้วย ดร.สุภาพ เต็มรัตน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนปากพนัง ให้การต้อนรับ พร้อมนำชมนิทรรศการและกิจกรรมภายในงาน ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 - 17 กุมภาพันธ์ 2566 ณ โรงเรียนปากพนัง อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช
อพวช. เปิดงาน “คาราวานวิทยาศาสตร์ อพวช.มิตรภาพลาว-ไทย” ที่นครเวียงจันทน์ สปป.ลาว คึกคัก นักเรียนแห่ร่วมกิจกรรม “ดร.ดนุช” เลขานุการ รมว.อว. ชี้เป็นการสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ให้เยาวชนอาเซียน เตรียมเคลื่อนขบวนไปยังประเทศกัมพูชา ขณะที่ ผอ.อพวช. เผยเป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปีที่นำคาวานวิทยาศาสตร์ฯ มาจัดแสดงนอกประเทศ เชื่อทุกปัญหาแก้ได้ด้วยวิทยาศาสตร์
10 กุมภาพันธ์ 2566 / นางสาวอ้อนฟ้า เวชชาชีวะ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และกรรมการ อพวช. เยี่ยมชมและติดตามการดำเนินงานกิจกรรม "คาราวานวิทยาศาสตร์ อพวช. จ.ชลบุรี"โดยมี นายสุวรงค์ วงษ์ศิริ รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ พร้อมด้วย คณะผู้บริหารโรงเรียนสัตหีบวิทยาคม ให้การต้อนรับและนำชมนิทรรศการภายในงานฯ ณ โรงเรียนสัตหีบวิทยาคม อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
9 กุมภาพันธ์ 2566 / ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) พร้อมด้วย ดร.พีรนุช กันหดิลก ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ (ศพช.) และ นายธนากร พลาชัย ที่ปรึกษา “โครงการคิด (KIDS) เพื่อพลังงานแห่งอนาคต” ให้การต้อนรับพร้อมนำเสนอภาพรวม “โครงการคิด (KIDS) เพื่อพลังงานแห่งอนาคต” แก่คณะอนุกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ซึ่ง อพวช. ได้รับการสนับสนุนงบประมาณพัฒนาโครงการจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ณ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ อพวช. ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
7 กุมภาพันธ์ 2566 / ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ให้การต้อนรับ Prof. Per-Edvin Persson ประธานบริษัท Oy Per Edvin Persson Consulting และอดีตผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ Heureka สาธารณรัฐฟินแลนด์ ในการบรรยายพิเศษ เรื่อง “The Challenges Museums Face Today and Future” ให้กับเจ้าหน้าที่ อพวช. เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองในการพัฒนาและบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ ณ ห้องประชุมยูเรก้า อพวช. ต.คลองห้า จ.ปทุมธานี
7 กุมภาพันธ์ 2566 / นายสมศักดิ์ ทองเนียม ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง เป็นประธานเปิดงาน “คาราวานวิทยาศาสตร์ อพวช. จ.ชลบุรี” โดยมี นายปิยะ เย็นจันทร รักษาการผู้อำนวยการกองคาราวานวิทยาศาสตร์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) พร้อมด้วย นางณัฐชา จันทร์ดา ผู้อำนวยการโรงเรียนสัตหีบวิทยาคม ให้การต้อนรับ พร้อมนำชมนิทรรศการและกิจกรรมภายในงาน ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-10 กุมภาพันธ์ 2566 ณ โรงเรียนสัตหีบวิทยาคม อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ให้การต้อนรับ กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ตรวจเยี่ยมโครงการ “โปรแกรมการชมพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ดิจิทัล” (Digital Science Museum Guides Program) ในการพัฒนาแอปพลิเคชัน “NSM : AR ผจญภัยในตึกลูกเต๋า” เพื่อเพิ่มช่องทางการเรียนรู้ที่แปลกใหม่ในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ และส่งเสริมศักยภาพของเยาวชน พร้อมสร้างความเท่าเทียมอย่างทั่วถึงในการเรียนรู้สาระวิทยาศาสตร์ในพื้นที่พิพิธภัณฑ์ของ อพวช. อย่างสนุกสนาน
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมด้วย สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย และศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) เปิดเวทีการประกวดในโครงการ University Students’ Science, Technology and Innovation Talk (UniTi Talks) ในหัวข้อ “UniTi Talks on STI for Sustainable Community ฉากทัศน์ชุมชนที่ฉันอยากเห็น ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม” เพื่อค้นหานิสิต นักศึกษา มาร่วมสร้างสังคมนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคมและขับเคลื่อนชุมชนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต ชิงรางวัลและทุนการศึกษารวมมูลค่ากว่า 100,000 บาท
4 กุมภาพันธ์ 2566 / องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับ บริษัท แกมมาโก้ (ประเทศไทย) จำกัด จัดพิธีเปิดโครงการแข่งขันหุ่นยนต์ FIRST®LEGO®League Thailand 2022/23 โดยมี ดร.ชนินทร วรรณวิจิตร รองผู้อำนวยการ อพวช. พร้อมด้วย นางสาวนวลวรรณ ชะอุ่ม ประธานโครงการจัดการแข่งขัน FIRST®LEGO®League ประจำประเทศไทย เปิดการแข่งขันฯ ภายใต้หัวข้อการแข่งขัน SUPERPOWEREDSM Challenge ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 รุ่น ได้แก่ FLL Challenge และ FLL Explore โดยมีเยาวชนอายุระหว่าง 8 - 16 ปี เข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 57 ทีม กว่า 700 คน ทั้งนี้ ทีมผู้ชนะเลิศจะได้เป็นตัวแทนประเทศไทยไปเข้าร่วมการแข่งขันในระดับนานาชาติต่อไป โดยการแข่งขันฯ จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 3 - 4 กุมภาพันธ์ 2566 ณ พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า อพวช. คลองห้า จ.ปทุมธานี
4 กุมภาพันธ์ 2566 / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ให้การต้อนรับพร้อมบรรยายแนะนำหน่วยงานแก่คณะผู้อบรมหลักสูตร "ผู้นำการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital CEO) รุ่นที่ 6" โดยมี รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม อดีตปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) มาร่วมบรรยายหัวข้อ “เปลี่ยนอย่างไรให้เป็นองค์กรดิจิทัลรับภาวะปกติใหม่ (Smart Organizations for New Normal)” และนายสุวรงค์ วงษ์ศิริ รองผู้อำนวยการ อพวช. ร่วมบรรยายในหัวข้อ "การใช้เครื่องมือดิจิทัล เพื่อการศึกษาในยุควิถีใหม่" โดยมีคณะผู้อบรมหลักสูตรฯ เข้าร่วมกว่า 90 คน ได้เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ อพวช. ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
National Science Museum in association with the the US Embassy Bangkok and Center for SDG Research and Support: SDG Move have debuted UniTi Talks or University Students’ Science, Technology, and Innovation Project to seek for qualified science communicator students and inspiring them in applying science, technology and innovation for better development of quality of life and communities to create more sustainable changes in the future. The students who join in the competition will present their scenario on the topic “UniTi Talks on STI for Sustainable communit.”. The winners will receive rewards and scholarship in amounts of 100, 000 TH Baht.
2 ก.พ. 2566 / ไบเทค บางนา -- องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ชวนเที่ยวบูธ อพวช. “NSM Maker Space จากสิ่งประดิษฐ์สู่นวัตกรรม” ในงาน “วันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2566” (Thailand Inventors’ Day 2023) ระหว่างวันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09.00-17.00 น. ณ อีเว้นท์ ฮอลล์ 100-102 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 24 เพื่อน้อมรำลึกถึงวันประวัติศาสตร์ การทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ “กังหันน้ำชัยพัฒนา” แด่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย” โดย ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปาฐกถาพิเศษภายในงาน ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กล่าวว่า “สำหรับนิทรรศการที่ อพวช. นำไปจัดแสดงภายในงาน “วันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2566” (Thailand Inventors’ Day 2023) นั้น เป็นการเสริมสร้างกระบวนการการสร้างนวัตกรรมอย่างง่ายโดยมุ่งเน้นการลงมือทำ เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ สร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ขั้นพื้นฐานและพัฒนาต่อยอดสู่นวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ และแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน โดยสร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ระหว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรม และยังมีการนำผู้สูงอายุในวัยเกษียณจากโครงการส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุด้วยการถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ซึ่ง อพวช. ร่วมกับ วช. พัฒนาทักษะมาอย่างต่อเนื่อง ร่วมทำหน้าที่เป็นอาสาอาวุโสแนะนำนิทรรศการและแชร์ประสบการณ์สร้างสรรค์สิงประดิษฐ์ ภายในนิทรรศการ “NSM Maker Space จากสิ่งประดิษฐ์สู่นวัตกรรม” ระหว่างวันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09.00-17.00 น. ณ อีเว้นท์ ฮอลล์ 100-102 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา อีกด้วย
องค์การพิพิภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมจัดกิจกรรมในวันนักประดิษฐ์ 2566 : THAILAND INNOVATIONS' DAY 2023 จัดเต็มกิจกรรมเวิร์คช็อป อาทิ กิจกรรม Mechanical Linkages, กิจกรรม Hydraulic Toys, กิจกรรม Bug Battle Bot, กิจกรรมนกตกรัง และกิจกรรม Syringe Rocketyringe Rocket ที่ขนความสนุกวิทย์กระจายไป 3 แห่ง ได้แก่ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ, จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. เดอะ สตรีท รัชดา ชั้น 5 ศูนย์การค้า เดอะ สตรีท รัชดา กรุงเทพฯ และพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ อพวช. คลองห้า จ.ปทุมธานี ซึ่งกิจกรรมฯ จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2566 ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://inventorsdayregis.com
1 กุมภาพันธ์ 2566 / นางสาวจีรพัชรินทร์ อรรถจินดา ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาธุรกิจและเครือข่าย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) พร้อมด้วย นายซาช่า ฟาบริ (Mr. Sascha Fabri) รองผู้อำนวยการและหัวหน้าแผนกภาษาและวิชาการ สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย ร่วมเปิดนิทรรศการ "UMI" จักรวาล มนุษย์ สติปัญญา ที่ผสมผสานการถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ กับการนำเสนองานวิจัยจากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีที่ทันสมัย และแสดงให้เห็นถึงโอกาสในการวิจัยต่าง ๆ ที่วิทยาศาสตร์นั้นได้กลายเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมและมรดกท้องถิ่น โดยนิทรรศการฯ ชุดนี้ จะจัดแสดงตั้งแต่วันนี้ - 28 กุมภาพันธ์ 2566 ณ จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. ณ เดอะ สตรีท รัชดา ชั้น 5 ศูนย์การค้า เดอะ สตรีท รัชดา กรุงเทพฯ
February 7, 2023/ Dr.Ganigar Chen, vice president, National Science museum (NSM) has welcomed Prof.Dr. Per-Edvin Persson, president, Oy Per Per-Edvin Persson and former director, Heureka Science Center, Finland in his special talk on “The Challenges Museums Face Today and Future” at Eureka Conference Room, NSM Klong 5, Pathumthani. He has shared his experience and discussed with NSM staffs about management and development of museum.
31 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา นายสมศักดิ์ ทองเนียม ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง เป็นประธานเปิดงาน “คาราวานวิทยาศาสตร์ อพวช. จ.ระยอง” โดยมี นายนิติ บุณยเกียรติ ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมและการผลิตสื่อ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) พร้อมด้วย นางอัญชลี อิสสรารักษ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนแกลง "วิทยสถาวร" ให้การต้อนรับ พร้อมนำชมนิทรรศการและกิจกรรมภายในงาน ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 มกราคม - 3 กุมภาพันธ์ 2566 ณ โรงเรียนแกลง "วิทยสถาวร" อ.แกลง จ.ระยอง
บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือเอ็กซอนโมบิลในประเทศไทย ให้การสนับสนุน องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ดำเนินงานจัดกิจกรรมและผลิตสื่อวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ พร้อมสร้างแรงบันดาลใจด้วยความมหัศจรรย์ทางด้านวิทยาศาสตร์สู่เยาวชนและประชาชนทั่วประเทศ
31 มกราคม 2566 /ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พระราชทาน ส.ค.ส. เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ 2566 แด่ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) นำโดย รศ.นารถธิดา ตุมราศวิน ผู้อำนวยการสำนักวิจัย สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ พร้อมคณะ เป็นผู้แทนพระองค์ มอบ ส.ค.ส. โดยมี ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ เป็นผู้รับมอบ ส.ค.ส. พระราชทานดังกล่าว ณ อาคารสำนักงาน อพวช. ต.คลองห้า จ.ปทุมธานี
ร่วมแสดงความยินดี - เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2566 ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) มอบโล่เกียรติยศให้แก่ นางสาวศิริรัตน์ พรหมแก้ว ผู้อำนวยการกองบริการลูกค้าสัมพันธ์ สำนักบริการผู้เข้าชม และนายชวกร กัณหดิลก เจ้าหน้าที่เทคนิค สำนักวิศวกรรมและการผลิตสื่อ พนักงานและลูกจ้างดีเด่นประจำปี 2565 ขององค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) โดยมีคณะผู้บริหาร พนักงานและลูกจ้าง อพวช. ร่วมแสดงความยินดี ณ ห้องแสงเดือน-แสงเทียน พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า อพวช. คลองห้า ปทุมธานี
30 มกราคม 2566 / องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) จัดกิจกรรมครบรอบ 28 ปี วันคล้ายวันสถาปนา อพวช. โดยมี ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ อพวช. ร่วมถวายสักการะพระบรมรูปและพระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฎวิทยมหาราช (รัชกาลที่ 4) บริเวณอาคารสำนักงาน อพวช. พร้อมจัดพิธีทำบุญถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ 9 รูป และมอบเกียรติบัตรให้กับพนักงานและลูกจ้างดีเด่นประจำปี 2565 ทั้งนี้ ได้จัดการบรรยายพิเศษ เรื่อง “จริยธรรมและจรรยาบรรณในการทำงาน” โดยได้รับเกียรติจากนางสาวอ้อนฟ้า เวชชาชีวะ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการ อพวช. เป็นวิทยากร โดยมีคณะผู้บริหาร พนักงานและลูกจ้าง อพวช. เข้าร่วมกิจกรรมฯ ดังกล่าว ณ ห้องแสงเดือน-แสงเทียน พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า อพวช. นอกจากนี้ เนื่องในโอกาสครบรอบ 28 ปี วันคล้ายวันสถาปนา อพวช. ยังได้จัดกิจกรรมการบริจาคโลหิต เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ณ บริเวณลานด้านหน้าพิพิธภัณฑ์พระรามเก้า อพวช. คลองห้า ปทุมธานี
26 มกราคม 2566 / นายออลีวีเย แบ็ชต์ (H.E. Mr. Olivier Becht) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกิจการยุโรปและการต่างประเทศ สาธารณรัฐฝรั่งเศส นายตีแยรี มาตู (H.E. Mr. Thierry Mathou) เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย พร้อมด้วย ดร.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมเปิดงานปีแห่งนวัตกรรมฝรั่งเศส-ไทย 2023 (France-Thailand Year of Innovation 2023 (YOI)) มุ่งเน้นความสำคัญของนวัตกรรมที่จะเป็นวาระสำคัญของความสัมพันธ์ฝรั่งเศส-ไทย โดยมี นายสุวรงค์ วงษ์ศิริ รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ เข้าร่วมพิธีเปิดงานฯ ซึ่งทาง อพวช. ร่วมจัดแสดงนิทรรศการและกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมด้านอากาศยาน ภายในงาน ณ สวนเบญจกิติ กรุงเทพฯ
อพวช. ร่วมงาน "เสวนาวิชาการธัชชา : TASSHA TALK" การขับเคลื่อนเครือข่ายวิทยสถานสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์กับวิทยาศาสตร์
24 มกราคม 2566 / นายนรเสฎฐ์ ศิริโรจนกุล รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานเปิดงาน “คาราวานวิทยาศาสตร์ อพวช. จ.นครราชสีมา” โดยมี นางสาวนพรัตน์ เทพเทพา ผู้อำนวยการสำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) พร้อมด้วย นายศิริพงศ์ มกรพงศ์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา อำเภอสีคิ้ว เขต 1 และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนสีคิ้ว “สวัสดิ์ผดุงวิทยา” ให้การต้อนรับ พร้อมนำชมนิทรรศการและกิจกรรมภายในงาน ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24 - 27 มกราคม 2566 ณ โรงเรียนสีคิ้ว “สวัสดิ์ผดุงวิทยา” อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย และบริษัท ทรู คอปเปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) คัดตัวแทน 4 นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยมระดับประเทศ ใน โครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 18 (Young Thai Science Ambassador, YTSA#18) เพื่อสร้างนักสื่อสารด้านวิทยาศาสตร์ในระดับอุดมศึกษา พร้อมก้าวเข้าสู่การเป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์สู่สังคมที่พร้อมผลักดันสังคมวิทยาศาสตร์ของประเทศให้เข้มแข็งต่อไป พร้อมเตรียมลัดฟ้าร่วมกิจกรรมด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ ณ ประเทศเยอรมนี ในเดือน ก.ค. 66 ต่อไป
23 มกราคม 2565 / ดร.ชนินทร วรรณวิจิตร รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ อพวช. ร่วมประชุมหารือถึงแนวทางความร่วมมือในการดำเนินงานด้าน การส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในจังหวัดปทุมธานี กับ พลตำรวจโท คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี พร้อมด้วย นายชยุต สินพูนภักดิ์ รองนายกเทศมนตรีนครรังสิต ณ ห้องประชุมมหาหงส์ ชั้น 3 อาคารสำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี
20 มกราคม 2566 / องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับ มูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ จัดกิจกรรม Nature Trail with Naturalist @Wangtakrai เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้และศึกษาเส้นทางธรรมชาติกับนักวิชาการด้านธรรมชาติวิทยาของ อพวช. พร้อมจุดประกายให้เกิดความสนใจและสร้างแรงบันดาลใจด้านธรรมชาติวิทยาแก่เยาวชนในอนาคต โดยมีเยาวชนจาก โรงเรียนหัวเขาแก้ว และโรงเรียนบ้านดงวิทยาคาร จำนวน 32 คน เข้าร่วมกิจกรรมฯ ดังกล่าว ณ อุทยานวังตะไคร้ จ.นครนายก
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จำกัด จัดโครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 18 (Young Thai Science Ambassador, YTSA#18) ภายใต้หัวข้อ “วิทยาศาสตร์ โอกาสที่เท่าเทียม -Equal Opportunities is Science” ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนมีทักษะในการสื่อสารทางด้านวิทยาศาสตร์ และสร้างเครือข่ายเยาวชนนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ในระดับอุดมศึกษาให้มีส่วนร่วมในการช่วยเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์สู่สังคมและสร้างจิตสำนึกในการเป็นทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ พร้อมคัดเลือกเยาวชนลัดฟ้าไปร่วมกิจกรรมด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ ณ ประเทศเยอรมนี
เมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2566 – ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดงาน “คาราวานวิทยาศาสตร์ อพวช.” โดยมี ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ พร้อมด้วย ดร.ไพฑูรย์ มนตรีผู้อำนวยการโรงเรียนเสลาภูมิพิทยาคม ให้การต้อนรับและนำชมนิทรรศการภายในงานฯ ณ หอประชุมหนามคอม โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม จ.ร้อยเอ็ด
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เปิดรับสมัคร "อาสาสมัคร" มาปฏิบัติงาน ณ อพวช. คลองห้า ปทุมธานี , จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. เดอะ สตรีท รัชดา กรุงเทพฯ และจัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. จ.เชียงใหม่ หากท่านเป็นคนรุ่นใหม่ที่มีใจรักและเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์ สนใจสร้างสรรค์กิจกรรมสื่อสารวิทยาศาสตร์ ขอเชิญชวนผู้สนใจ ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จนถึง ปริญญาตรี หรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน เพื่อช่วยเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้วยความมุ่งมั่นและเข้มแข็ง มาร่วมเป็นทีมงานคุณภาพกับ อพวช. ดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ https://sites.google.com/view/volunteer-nsm/ หรือ QR Code
ปทุมธานี – 14 มกราคม 2566 - องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เปิดเวทีให้เยาวชนได้แสดงความสามารถและส่งเสริมให้เยาวชนเห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อม ผ่านจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบและประดิษฐ์เครื่องแต่งกายกับกิจกรรมการประกวดชุดแฟนซี “หนูน้อยมหัศจรรย์พรรณพืช” ภายในงาน “ถนนสายวิทยาศาสตร์ รับวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2566” ณ อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ซึ่งกิจกรรมการประกวดฯ ในครั้งนี้ บริษัท จีเคอี จำกัด สนับสนุนเงินรางวัลให้แก่ผู้ชนะในกิจกรรมเป็นจำนวนเงินมูลค่า 20,000 บาท โดยมีคุณกานต์ หะวานนท์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท จีเคอี จำกัด เป็นตัวแทนขึ้นมอบรางวัลให้แก่ผู้ชนะในแต่ละรุ่น โดยผลการประกวดฯ ในแต่ละรุ่น มีดังนี้ รุ่นอายุ 3 - 7 ปี
ปทุมธานี – 14 มกราคม 2566 - องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) จัดกิจกรรมการประกวดแข่งขัน “NSM Competition boy band & girl group” ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา ในงาน “ถนนสายวิทยาศาสตร์ รับวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2566” เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ กล้าคิดกล้าทำกล้าแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ ณ อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
ออนไลน์ - 16 มกราคม 2566 - ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ร่วมบรรยายในงานประชุมนานาชาติ “The 1st International Forum on Children and Youth Education for Sustainable Development” ในหัวข้อ “Sustainable Education in Museum: Raising Awareness and Call for Action.” เพื่อสร้างความตระหนักในด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมในการศึกษา ผ่านทางระบบออนไลน์ Voov Meeting ซึ่งจัดโดย The China Soong Ching Ling Science & Culture Centre for Young People และ Research Institute of Science Education of Beijing Normal University ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีประเทศที่ร่วมนำเสนอผลงาน ได้แก่ ประเทศไทย สาธารณรัฐประชาชนจีน สหราชอาณาจักร และสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
ปทุมธานี – 14 มกราคม 2566 - องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานกรุงเทพมหานคร และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จัดกิจกรรมประกวดคลิปวิดีโอ “NSM TikTok Challenge ชุด A Day @ NSM” ภายใต้แนวความคิด “ดินแดนแห่งการค้นพบความมหัศจรรย์ของวิทยาศาสตร์” ซึ่งมีผู้ส่งผลงานเข้าประกวดกว่า 80 ผลงาน ผลปรากฏว่า เด็กชายปัทวิณ ปัญญารัตนากร คว้ารางวัลชนะเลิศ ในประเภทเด็กและเยาวชน นักเรียน – นักศึกษา อายุไม่เกิน 18 ปี และนายวุฒิชัย พึ่งแม้น คว้ารางวัลชนะเลิศ ในประเภทประชาชนทั่วไป อายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยมีพิธีมอบรางวัล ณ อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) นำกิจกรรมด้านเทคโนโลยีอวกาศ อาทิ กิจกรรมจรวดหลอด กิจกรรมเครื่องบินกระดาษพับ และกิจกรรมเครื่องเล่นร่อน ที่ให้น้อง ๆ เยาวชน ได้สนุกกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านการลงมือทำด้วยตนเองอย่างสนุกสนาน โดยงานฯ ดังกล่าวจัดขึ้นตั้งแต่วันนี้ - 31 ม.ค. 66 ณ ศูนย์การค้าเดอะพรอมานาด รามอินทรา กรุงเทพฯ
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับ ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ จัดงาน Kid's Venture ผจญภัยสุดมันส์ ที่ชวนน้อง ๆ เยาวชนเหล่านักวิทยาศาสตร์รุ่นจิ๋วเพลิดเพลินไปกับกิจกรรมสุดพิเศษ พร้อมต่อยอดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ โดยงานฯ ดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-15 มกราคม 2565 ณ ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ กรุงเทพฯ
14 มกราคม 2566 / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ พร้อมด้วย นางสาวสุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เป็นตัวแทนนำกิจกรรม BCG มาจัดแสดงภายในงานวันเด็กแห่งชาติ 2566 ให้เด็ก ๆ และเยาวชนได้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน ณ ทำเนียบรัฐบาล
อพวช. ร่วมจัดกิจกรรมวันเด็กในงาน Thai PBS คิดส์เดย์ 2566 สวนสนุกแห่งการเรียนรู้
อพวช. ร่วมจัดกิจกรรมวันเด็กในงาน“Children's Carnival Arrives In Fortune Town 2023” องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) นำกิจกรรมตะลุยฐานวิทยาศาสตร์ มาจัดแสดงภายในงาน“Children's Carnival Arrives In Fortune Town 2023” ให้น้อง ๆ สนุกกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างสนุกสนานและเข้าใจง่าย พร้อมชวนสนุกไปกับการทดลองด้านวิทยาศาสตร์ที่หลากหลาย ณ ลานฟอร์จูนสตรีท ฟอร์จูนทาวน์ รัชดา-พระราม 9 กรุงเทพฯ
14 มกราคม 2566 / นายสุวรงค์ วงษ์ศิริ รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เป็นประธานเปิดงาน “ถนนสายวิทยาศาสตร์ รับวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2566” ภายใต้แนวคิด “KIDS SCIENCE คิดส์สร้างโลก อย่างสร้างสรรค์” โดยมีกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์ให้น้อง ๆ และเยาวชนได้สนุกสนานกันอย่างมากมาย ณ อพวช. คลองห้า ปทุมธานี
13 มกราคม 2566 / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) พร้อมด้วย ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการ อพวช. ให้การต้อนรับ ศ.พญ.จิรพร เหล่าธรรมทัศน์ ผู้ช่วยเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เยี่ยมชมภายในงาน “ถนนสายวิทยาศาสตร์ รับวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2566” ณ จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. ณ เดอะ สตรีท รัชดา กรุงเทพฯ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม โดย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ผนึกกำลังภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ เปิดงาน “ถนนสายวิทยาศาสตร์ รับวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2566” ภายใต้แนวคิด “KIDS SCIENCE คิดส์สร้างโลก อย่างสร้างสรรค์” ดังคำขวัญวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2566 ที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มอบไว้ว่า “รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่ความดี” ที่จะชวนเด็ก ๆ สนุกไปกับสถานีแห่งการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ และความมหัศจรรย์ของวิทยาศาสตร์ผ่านนิทรรศการและกิจกรรมที่หลากหลาย ในรูปแบบ Onsite On Hands และ Online โดยมี ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดงานฯ พร้อมด้วย ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) และนายพงษ์ศักดิ์ นันตวรรณกุล กรรมการผู้จัดการ ศูนย์การค้า เดอะ สตรีท รัชดา ร่วมเปิดงานฯ ดังกล่าว ณ จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. ณ เดอะ สตรีท รัชดา กรุงเทพฯ
“2023 Science Avenue” has been organized for the National Children Day at NSM Science Square @ the Street Ratchada by Ministry of Higher Education, Science, Research, and Innovation (MHESRI), by National Science Museum (NSM) in association with public and private alliance institutions. It has been held under a theme: Kids Science: World Creativity which is in accordance with the Prime Minister General Prayuth Chan-o-cha’s slogan- “Know your responsibility, be disciplined and perform good deeds”. In the opening ceremony, Dr.Danuch Tanterdtid, secretary to MHESRI Minister has presided over the 2023 Science Avenue with Asst.Prof.Dr.Rawin Raviwongse, NSM director and Mr.Pongsak Nuntawannakul, managing director, the Street Ratchada Mall. The audience of the event will enjoy the Science Avenue with science games in science stations, science activities and get amazed with science exhibitions both in on-site and on-line activities.
12 มกราคม 2566 / คุณโยฮันเนส แคร์เนอะ ที่ปรึกษาทูต ฝ่ายเศรษฐกิจและการค้า สถานเอกอัครราชทูต สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี กรุงเทพฯ พร้อมด้วย ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ คุณไพรัช วิเศษศิริลักษณ์ ผู้บริหารสายงานบริการลูกค้า บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด คุณชุตินันท์ กังวานโอฬารรัตน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โซลิด เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด เปิดงาน “THE ICONIC CHILDREN’S PLAYGROUND 2023” โดยมี ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ เข้าร่วมพิธีเปิดงานฯ ดังกล่าว ซึ่งทาง อพวช. ได้นำนิทรรศการชุด Science For Fun และกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์เข้าร่วมจัดแสดง ณ บริเวณพื้นที่ รัษฎา ฮอลล์ ชั้น 1 ไอคอนสยาม ตั้งแต่วันที่ 11 – 15 มกราคม 2566
11 มกราคม 2566 / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ พร้อมด้วย นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการด้านงานโบราณคดีและการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ หวังสร้างมาตรฐานและพัฒนาองค์ความรู้ในด้านการจัดการพิพิธภัณฑ์ เพื่อเป็นการให้บริการแก่เยาวชนและประชาชนในการมาใช้ประโยชน์จากพิพิธภัณฑ์ให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมทั้ง ร่วมดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับกิจการพิพิธภัณฑ์ อาทิ การเก็บรักษาและจัดทำคลังวัตถุพิพิภัณฑ์ อันนำไปสู่ความร่วมมือด้านอื่น ๆ ต่อไปในอนาคต ณ ห้องประชุมกรมศิลปากร เทเวศร์ กรุงเทพฯ
อพวช. ให้การต้อนรับคณะจาก Department of Science, Technology and Innovation Corporation ราชอาณาจักรกัมพูชา
อพวช. ร่วมลงนามถวายพระพร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ 3 รอบ 8 มกราคม 2566
อพวช. เข้าสวัสดีปีใหม่ 2566 รศ.ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
4 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) พร้อมด้วย ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการ อพวช. และดร.ชนินทร วรรณวิจิตร รองผู้อำนวยการ อพวช. ให้การต้อนรับ Dr. Ioannis Miaoulis ประธานมหาวิทยาลัย Roger Williams รัฐโรดไอแลนด์ สหรัฐอเมริกา พร้อมด้วยคุณ Heidi Maes ร่วมหารือความร่วมมือแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านสะเต็มศึกษา (STEM Education) และเยี่ยมชม พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ และพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ณ อพวช. ต.คลองห้า จ.ปทุมธานี
วันที่ 1 มกราคม 2566 ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ในสังกัด อว. ลงนามถวายพระพร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช 2566 โดยมี นายสุวรงค์ วงษ์ศิริ รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ได้ร่วมลงนามถวายพระพร เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพฯ
27 ธันวาคม 2565 / นายนิติ บุณยเกียรติ ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมและการผลิต พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ อพวช. เข้าเยี่ยมชม อมตะ คาสเซิล โดยมี คุณสมศรี กรมดิษฐ์ ผู้จัดการมูลนิธิอมตะ และคณะให้การต้อนรับ พร้อมหารือการสร้างความร่วมมือในโครงการพัฒนาอมตะคาสเซิล ณ นิคมอุตสาหกรรมอมตะ ซิตี้ จ.ชลบุรี
24 ธันวาคม 2565 / ดร.ชนินทร วรรณวิจิตร รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ให้การต้อนรับ ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืนในงาน NSM Night at the Museum Festival 2022 ณ อพวช. ต.คลองห้า จ.ปทุมธานี
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม มอบของขวัญปีใหม่ 2566 ส่งความสุขให้กับ เด็ก เยาวชน และประชาชน จัดแคมเปญสนุกกับ กิจกรรมห้องทดลองวิทยาศาสตร์ และกิจกรรมการแสดงทางวิทยาศาสตร์ ฟรี! เพื่อร่วมสร้างสังคมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเสริมสร้างแรงบันดาลใจด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ถือเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับคนไทยทุกคน เริ่มตั้งแต่ 27 ธันวาคม 2565 ถึง 8 มกราคม 2566
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม โดย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) จัดกิจกรรม “ถนนสายวิทยาศาสตร์ รับวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2566” ชวนน้อง ๆ เยาวชน ไปสนุกกับความมหัศจรรย์ของวิทยาศาสตร์ผ่านนิทรรศการและกิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งรูปแบบ Onsite On Hands และ Online วันที่ 13-14 มกราคม 2566 ณ จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. ณ เดอะ สตรีท รัชดา กรุงเทพฯ และวันที่ 14 มกราคม 2566 ณ อพวช. คลองห้า ปทุมธานี
21 ธันวาคม 2565 / ดร.พีรนุช กัณหดิลก ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์แห่งชาติ อพวช. ร่วมกับคุณตติยา สาครพันธ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและประชาสัมพันธ์องค์กรศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง คุณปิติรัชต์ จูช่วย ผู้จัดการโครงการพิพิธภัณฑ์ วิลล่า มูเซ่ เขาใหญ่ คุณพัทธ์ธีรา อนันต์โชติพัชร ผู้บริหารแผนก KTC World Travel Service และคุณประชา สุขสบาย ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) ร่วมพูดคุยผ่าน Facebook: Museum Thailand กับกิจกรรมออนไลน์ Museum Live Talk ในหัวข้อ Night at the Museum Festival 2022
21 ธันวาคม 2565 / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ให้การต้อนรับ ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เข้าเยี่ยมชม จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. เชียงใหม่ ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
20 ธันวาคม 2565 ณ ห้องประชุม SD-601 อาคารสราญวิทย์ สวทช. อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี / ดร.นพรัตน์ เทพเทพา ผู้อำนวยการสำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา เป็นตัวแทนรับมอบต้นกล้าราชพฤกษ์ที่ปลูกโดยใช้เมล็ดที่ผ่านการท่องอวกาศนาน 7 เดือน และต้นกล้าราชพฤกษ์ปลูกโดยเมล็ดปกติ จาก ดร.จุฬารัตน์ ตันประเสริฐ รองผู้อำนวยการ สวทช. โดย อพวช. จะนำมาปลูกต่อในพื้นที่บริเวณสวนป่า ภายในพิพิธภัณฑ์พระรามเก้า อพวช. เพื่อต่อยอดสู่การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากการศึกษาเปรียบเทียบการเติบโตระหว่างต้นราชพฤกษ์อวกาศที่ปลูกด้วยเมล็ดจากอวกาศกับต้นราชพฤกษ์ที่ปลูกด้วยเมล็ดปกติ
20 ธันวาคม 2565 / นายประทาน หาดยาว ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน “คาราวานวิทยาศาสตร์ อพวช. จ.เพชรบูรณ์” โดยมี ดร.ชนินทร วรรณวิจิตร รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) และนายเริงฤทธิ์ แก้วยศ ผู้อำนวยการโรงเรียนนิยมศิลป์อนุสรณ์ ให้การต้อนรับ พร้อมนำชมนิทรรศการและกิจกรรมภายในงาน ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 - 23 ธันวาคม 2565 ณ โรงเรียนนิยมศิลป์อนุสรณ์ อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์
19 ธันวาคม 2565 / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผอพ. ร่วมแสดงความยินดี กับ ศาสตราจารย์ ดร. บังอร เบ็ญจาธิกุล ที่ปรึกษาคณะกรรมการ อพวช. เนื่องในโอกาสได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ สังกัดคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ณ อาคารสปอร์ตคอมเพลส มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
20 ธันวาคม 2565 / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) นำคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ อพวช. ร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคลสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา พร้อมสวดมนต์โพชฌังคปริตรเพื่อถวายพระพรชัยมงคลแด่พระองค์ท่านให้ทรงหายจากพระอาการประชวรในเร็ววัน พร้อมกับทุกหน่วยงานในสังกัด อว. ที่ร่วมกันจัดกิจกรรมถวายพระพรฯ พร้อมเพรียงกันทั่วประเทศทั้งในสถานที่ และผ่านระบบออนไลน์ ณ ห้องประชุมยูเรก้า อาคารสำนักงาน อพวช. ต.คลองห้า จ.ปทุมธานี
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดตัวกิจกรรม Research Show by Naturalist 2023 ภายใต้หัวข้อ “Women in Science” ผ่านนักวิทยาศาสตร์ผู้หญิงทั้ง 12 ท่าน มาเป็นตัวแทนบอกเล่าเรื่องราวของการทำงานด้านธรรมชาติวิทยา ผ่านประสบการณ์อันน่ามหัศจรรย์ในธรรมชาติที่คุณไม่อาจรู้ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนหันมาสนใจอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติมากยิ่งขึ้น และเห็นคุณค่าของนักวิทยาศาสตร์ผู้หญิงในสังคม นำไปสู่การจุดประกายให้เด็กผู้หญิงรุ่นต่อไปได้กลายเป็นพลังรุ่นใหม่ในโลกวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในอนาคต ซึ่งจัดขึ้นทุกวันเสาร์แรกของเดือน เริ่มเสาร์แรกวันที่ 7 มกราคม 2566 ณ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา อพวช. คลองห้า ปทุมธานี
15 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) พร้อมด้วย ดร.นพรัตน์ เทพเทพา ผู้อำนวยการสำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา และนายสุวิทย์ เปานาเรียง ผู้อำนวยการสำนักวิทยาศาสตร์สู่ชุมชน ร่วมหารือเตรียมการจัดงานคาราวานวิทยาศาสตร์ อพวช. เพื่อขยายโอกาสการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ พร้อมเสริมสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างไทย-ลาว ร่วมกับ นายพิมพา อุดทะจัก ผู้อำนวยการสถาบันค้นคว้าวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา แห่ง สปป.ลาว และผู้บริหารกรมสามัญศึกษา สปป.ลาว ทั้งนี้ โดยกำหนดจัดกิจกรรมคาราวานวิทย์ฯ ขึ้น ในระหว่างวันที่ 14-17 กุมภาพันธ์ 2566 ณ โรงเรียนมัธยมศึกษาสมบูรณ์เวียงจันทน์ สปป.ลาว ต่อไป
16 ธันวาคม 2565 / ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) นำคณะผู้บริหารกระทรวง อว. พร้อมด้วย ดร.ชนินทร วรรณวิจิตร รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ลงนามถวายพระพร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ก่อนถวายแจกันดอกไม้ ณ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรมดี ๆ ที่หนึ่งปีมีเพียงครั้งเดียว “NSM Night at the Museum Festival 2022” ปีนี้มาในธีม Colorful Night สาดสีสันส่งความสุขท้ายปีให้กับทุกคน โดย อพวช. เนรมิตรความสนุกขึ้น 2 แห่งด้วยกัน ณ จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. ณ เดอะ สตรีท รัชดา ชั้น 5 ศูนย์การค้า เดอะ สตรีท รัชดา กรุงเทพฯ ตั้งแต่วันที่ 17–18 ธันวาคม 2565 เวลา 17.00 - 20.00 น. และพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ และพิพิธภัณฑ์พระรามเก้า ณ อพวช. ต.คลองห้า จ.ปทุมธานี ตั้งแต่วันที่ 23 -24 ธันวาคม 2565 เวลา 17.00 - 22.00 น. ขอเชิญชวนเยาวชนและประชาชนมาร่วมสัมผัสความมหัศจรรย์ของแสงสีสะท้อนความสุขส่งท้ายปีไปด้วยกัน พร้อมกิจกรรมสุดปังมากมายที่รอทุกคนมาร่วมสนุก
13 ธันวาคม 2565 / ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) คณะผู้บริหาร อพวช. ให้การต้อนรับ Dr. CHO Sook - Kyoung รองผู้อำนวยการเครือข่าย The Network for the Public Communication of Science and Technology (PCST Network) จากมหาวิทยาลัย Korea Institute of Energy Technology สาธารณรัฐเกาหลี และดร.พิชัย สนแจ้ง ประธานกรรมการมูลนิธิสมุทธาภิพัฒน์ พร้อมร่วมหารือความร่วมมือด้านการให้ความรู้และสร้างความตระหนักทางพลังงาน ในโอกาสนี้ Dr. CHO Sook - Kyoung รองผู้อำนวยการเครือข่าย PCST ให้เกียรติเป็นวิทยากรในการบรรยายพิเศษ เรื่อง “Why do science museum and history of science matter” พร้อมเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ ณ อพวช. คลองห้า จ.ปทุมธานี
บริษัท ไบเออร์ไทย จํากัด โดยความร่วมมือกับองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เปิดตัวโครงการ “Better Science for Better Life (วิทย์ก้าวหน้า ชีวิตก้าวไกล)” ภายใต้แนวคิด “Plant Rangers : ขบวนการพิทักษ์พืช” ในปี 2565 สานต่อความมุ่งมั่นในการส่งเสริมและสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ให้กับเยาวชนไทย ในระหว่างการจัดกิจกรรมคาราวานวิทยาศาสตร์ อพวช. ที่โรงเรียนแม่จันวิทยาคม จังหวัดเชียงราย
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับโรงเรียนแม่จันวิทยาคม จัด “คาราวานวิทยาศาสตร์ อพวช.” พร้อมนำเยาวชนในจังหวัดเชียงรายและจังหวัดใกล้เคียงมาค้นพบความมหัศจรรย์ด้วยวิทยาศาสตร์ ผ่านนิทรรศการและกิจกรรมที่สนุกสนาน ระหว่างวันที่ 13 – 16 ธ.ค. 2565
7 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) จัดกิจกรรมในโครงการสุขสนุกวิทย์ เพื่อสร้างเสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียนให้แก่นักเรียนในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี มาเรียนรู้วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ในพิพิธภัณฑ์ของ อพวช. โดยมีเยาวชนจากโรงเรียนบึงเขาย้อน (คงพันธ์ุอุปถัมภ์) จ.ปทุมธานี จำนวน 65 คน เข้าร่วมกิจกรรม Science Walk Rally เรื่อง ปริศนาอวกาศ พร้อมชม โดมภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ (Science Dome) ณ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ อพวช. ต.คลองห้า จ.ปทุมธานี
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด และศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษาขององค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO STEM-ED) สานต่อความสำเร็จโครงการ “Enjoy Science Careers: สนุกกับอาชีพวิทย์” เตรียมพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ แนะนำข้อมูลด้านอาชีพสะเต็มกว่า 50 อาชีพ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชน ในการเรียนรู้และค้นพบตนเองได้ทุกที่ทุกเวลาไม่มีข้อจำกัด พบกัน ม.ค. 66 นี้แน่นอน
6 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมบรรยายในงานประชุมนานาชาติ “4th Belt and Road International Science Communication Seminar” ใน Session 1: Belt and Road” International Science Popularization Seminar: Sci-Tech Innovation and Science Popularization-Science Communication and Global Factors Flow พร้อมด้วย ดร. กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการ อพวช. นำเสนอผลงานใน Session 2: International Science Communication Workshop: Science Communication in Social Innovative Cultures ภายใต้หัวข้อ Social Innovation and Science Communication ผ่านทางระบบออนไลน์ Zoom Meeting ซึ่งจัดโดย China Science and Technology Exchange Center เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์และการมีส่วนร่วมทางด้านวิทยาศาสตร์ของสาธารณะ โดยมีประเทศที่ร่วมนำเสนอผลงาน ได้แก่ ประเทศไทย สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐสิงคโปร์ สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร ประเทศโรมาเนีย และราชอาณาจักรสเปน
6 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา นางโสภา ชวนวัน รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน เป็นประธานเปิดงาน “คาราวานวิทยาศาสตร์ อพวช. จ.น่าน” โดยมี นายสุวรงค์ วงษ์ศิริ รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ และว่าที่ร้อยตรี อดุลย์ อะทะยศ ผู้อำนวยการโรงเรียนสา ให้การต้อนรับ พร้อมนำชมนิทรรศการและกิจกรรมภายในงาน ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 - 9 ธันวาคม 2565 ณ โรงเรียนสา จังหวัดน่าน
วันที่ 6 ธันวาคม 2565 / ก่อนการประชุมคณรัฐมนตรี (ครม.) ที่ตึกสันติไมตรี ท่านนายกฯ และคณะรัฐมนตรี เยี่ยมชมผลงานเยาวชนที่คว้าแชมป์ในการแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ระดับนานาชาติ ประจำปี 2565 (World Robot Olympiad 2022) โดยมี ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผอ.องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) นายชัชวาลย์ ฉายะบุตร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง และนายจักรริน จันทรวิสูตร ประธานกรรมการผู้จัดการ บริษัท แกมมาโก้ (ประเทศไทย) จำกัด ให้การต้อนรับ
วันที่ 6 ธันวาคม 2565 / ก่อนการประชุมคณรัฐมนตรี (ครม.) ที่ตึกสันติไมตรี ท่านนายกฯ และคณะรัฐมนตรี เยี่ยมชมผลงานเยาวชนที่คว้าแชมป์ในการแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ระดับนานาชาติ ประจำปี 2565 (World Robot Olympiad 2022) โดยมี ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผอ.องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) นายชัชวาลย์ ฉายะบุตร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง และนายจักรริน จันทรวิสูตร ประธานกรรมการผู้จัดการ บริษัท แกมมาโก้ (ประเทศไทย) จำกัด ให้การต้อนรับ
5 ธันวาคม 2565 / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผอพ. เป็นผู้แทนกระทรวง อว. พร้อมด้วย ดร.ชนินทร วรรณวิจิตร รอพ. และคณะผู้บริหาร อว. ร่วมรับชมการแสดงดนตรีและมอบช่อดอกไม้เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณ ให้กับวงKBU Band จากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต และวง RMUTR Band จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ในงานดนตรี อว. เทิดพระเกียรติ 5 ธันวาคม 2565 “ดนตรีในสวน : H.M.Song อว. บรรเลงเพลงของพ่อ” จัดขึ้นเนื่องในวันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ประจำปี 2565 และเพื่อเทิดพระเกียรติและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณและพระอัจฉริยภาพทางด้านดนตรีของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ สวนเบญจกิติ กรุงเทพฯ
5 ธันวาคม 2565 / ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.). นำคณะผู้บริหารกระทรวง อว. ร่วมพิธีทำบุญตักบาตร เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ โดยมี ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมพิธีฯ ดังกล่าว ณ ท้องสนามหลวง
2 ธันวาคม 2565 / ปทุมธานี -- ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองศ์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ชื่นชม ด.ช.ศรัณย์ภัทร อุ่ยละพันธุ์ อายุเพียงแค่ 12 ปี ร่วมส่งผลงานวิจัยในหัวข้อ “ความสนใจไดโนเสาร์ในเด็กไทย” Children's interest in dinosaur museums ใน “งานสัมมนาวิชาการนานาชาติ “วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ครั้งที่ 3 : ความยั่งยืนทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและความรับผิดชอบต่อสังคม” (The 3rd International Seminar on Natural Science: Natural Resource Sustainability and People’s Responsibility for Society) ซึ่งมีผู้ให้ความสนใจจากหลายภาคส่วนเข้าร่วมงานมากกว่า 150 คน และร่วมนำเสนอผลงาน จำนวน 53 ผลงาน ระหว่างวันที่ 1 – 2 ธันวาคม 2565 ณ อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
1 ธันวาคม 2565 / องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นเจ้าภาพจัดงานสัมมนาวิชาการนานาชาติ “วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ครั้งที่ 3: ความยั่งยืนทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและความรับผิดชอบต่อสังคม” (The 3rd International Seminar on Natural Science: Natural Resource Sustainability and People’s Responsibility for Society) เพื่อเปิดเวทีให้นักวิจัยระดับนานาชาติและผู้ที่มีความสนใจด้านธรรมชาติวิทยา ได้แสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ พร้อมสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างพิพิธภัณฑ์และหน่วยงานต่างๆ นำไปพัฒนางานวิจัยให้เป็นมาตรฐานในระดับสากล และสร้างความตระหนักรู้ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติต่อสังคม โดยงานจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 1-2 ธันวาคม 2565 ณ พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า อพวช. คลองห้า ปทุมธานี
วันนี้ 30 พ.ย. 65 – ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เข้ารับพระราชทานเกียรติบัตรเบื้องหน้าพระฉายาลักษณ์ พลเอกหญิง สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานวันนิทรรศการวิชาการ รร.จปร. ครั้งที่ 15 ประจำปี 2565 พร้อมนำผลงานวิชาการร่วมจัดแสดงภายในงาน ณ โรงเลี้ยงนักเรียนนายร้อย โรงเรียนพระจุลจอมเกล้า จ.นครนายก
30 พฤศจิกายน 2565 / ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) พร้อมด้วย นางสาวอุมาภรณ์ เครือคำวัง ผู้อำนวยการสำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ อพวช. ให้การต้อนรับ Prof. Shih, Shen-Guan จากคณะสถาปัตยกรรม National Taiwan University of Science and Technology ไต้หวัน ในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการออกแบบและพัฒนานิทรรศการ พร้อมเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ และพิพิธภัณฑ์พระรามเก้า ณ อพวช. คลองห้า ปทุมธานี
30 พฤศจิกายน 2565 / นายสุวรงค์ วงษ์ศิริ รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) พร้อมด้วย ดร.สุภรา กมลพัฒนะ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการเรียนรู้ นายดรงค์ ยิ่งชล ผู้อำนวยการกองโครงการพิเศษ และคณะเจ้าหน้าที่ อพวช. ให้การต้อนรับ Ms. Noor Ain Samat และ Mr. Muhammad Arashy bin Mohd Azim คณะจากศูนย์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประเทศมาเลเซีย (Pusat Sains Negara Kuala Lumpur) ในการหารือแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการจัดการและการดำเนินงานพิพิธภัณฑ์ รวมถึง การออกแบบและพัฒนานิทรรศการ พร้อมทั้งเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ และพิพิธภัณฑ์พระรามเก้า ณ อพวช. คลองห้า ปทุมธานี
29 พฤศจิกายน 2565 / ดร.กนก ยนต์ชัย ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุทัยธานี ชัยนาท เป็นประธานเปิดงาน “คาราวานวิทยาศาสตร์ อพวช. จ.ชัยนาท” โดยมี นางสาวศิริรัตน์ เสริมวิฑูรย์ ผู้อำนวยการสำนักบริการกลาง องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) และนายชูชาติ พารีสอน ผู้อำนวยการโรงเรียนชัยนาทพิทยาคม ให้การต้อนรับ พร้อมนำชมนิทรรศการและกิจกรรมภายในงาน ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน – 2 ธันวาคม 2565 ณ โรงเรียนชัยนาทพิทยาคม อ.เมืองชัยนาท จ.ชัยนาท
29 พฤศจิกายน 2565 / องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมจัดแสดงผลงานด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมในงานเสวนาวิชาการ Rangsit Smart City 2022 (RSSC 2022) “ทิศทางการพัฒนาเทศบาลนครรังสิต สู่เมืองอัจฉริยะน่าอยู่เพื่อชาวนครรังสิต” โดยมี พลตำรวจโท คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี เป็นประธานเปิดงานฯ ภายในงาน อพวช. นำนิทรรศการและกิจกรรมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล อาทิ NSM AR ผจญภัยในตึกลูกเต๋า Plearn Science: หลักสูตรการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ และ การสื่อสารความรู้ความเข้าใจด้าน Digital Literacy ผ่านนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศใน ชุด Digital Pops และ Digital City ณ Alive Park Hall ชั้น G ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต
วันนี้ (28 พ.ย. 2565 วว. เทคโนธานี) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ร่วมแถลงข่าวการค้นพบสัตว์ชนิดใหม่ของโลก ในพื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ “มด แตนเบียน และโคพีพอด” พร้อมผนึกกำลังความร่วมมือระหว่าง วว./อพวช. ร่วมศึกษา วิจัย และถ่ายทอดความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม นิเวศวิทยาป่าเขตร้อน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพให้ยั่งยืน
เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 65 ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) พร้อมคณะผู้บริหาร อพวช. เข้าพบเพื่อแสดงความยินดีกับ รองศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ เนื่องในโอกาสที่ได้รับพระราชทานปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วิทยาศาสตร์ศึกษา) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประจำปี 2565 ณ สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
“ห้องเรียนเคมีดาว” ชูผลสำเร็จลดเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา ผ่านเวที DOW-CST AWARD ประกาศผลประกวดปฏิบัติการเคมีย่อส่วน
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ชวนค้นพบความมหัศจรรย์ของโครงกระดูกสัตว์นานาชนิด ในนิทรรศการ “Skeleton Tales โครงร่างเล่าเรื่อง” ผ่านการร้อยเรียงเรื่องราวความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต เพื่อบอกเล่าถึงโครงสร้างที่ค้ำจุนร่างกายของสิ่งมีชีวิตนำไปสู่การพัฒนาสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสู่การสร้างแรงบันดาลใจด้านธรรมชาติวิทยา พบโครงกระดูก อาทิ กระดูกยีราฟ กระดูกงู กระดูกไดโนเสาร์ และโครงกระดูกต่าง ๆ อีกมากมาย โดยนิทรรศการฯ จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
เมื่อวันที่ 23 พ.ย. / ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. และรศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ รองปลัดกระทรวง อว. แสดงความยินดีและให้กำลังใจกับเยาวชนไทยที่คว้า 2 รางวัลใหญ่ 1 เหรียญทอง 1 เหรียญทองแดง ในการแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ระดับนานาชาติ ประจำปี 2565 (World Robot Olympiad 2022) ในระหว่างวันที่ 17 – 19 พฤศจิกายน 2565 ณ เมืองดอร์ทมุนต์ ประเทศเยอรมนี โดยมี ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผอ.องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) พร้อมด้วย นายจักรริน จันทรวิสูตร ประธานกรรมการผู้จัดการ บริษัท แกมมาโก้ (ประเทศไทย) จำกัด นำทีมเยาวชนเข้าพบ ณ ห้องประชุมรัฐมนตรี ชั้น 2 อาคารพระจอมเกล้า สำนักงานปลัดกระทรวง อว.
22 พฤศจิกายน 2565 / ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กล่าวเปิดงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ หัวข้อ "การประชุมกระชับความสัมพันธ์ระดับภูมิภาคเอเชียและงานสัมมนาวิชาการวิทยาการ แบบเปิดและการใช้ข้อมูล" (The Asia Regional Engagement meeting and Symposium on Open Science & Data Use) เพื่อแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของโครงสร้างพื้นฐานของข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพที่ครอบคลุมทั่วโลก เช่น GBIF โดยสามารถนำข้อมูลไปใช้เพื่อการอนุรักษ์ การพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ การศึกษาวิจัยและจัดทำฐานข้อมูลต่อไปในอนาคต ณ อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (จามจุรี 10) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
22 พฤศจิกายน 2565 / ดร.อัจฉรา ช่วยนุ่ม ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี เป็นประธานกล่าวเปิดงาน “คาราวานวิทยาศาสตร์ อพวช. จ.ลพบุรี” โดยมี นายถิรพงศ์ เกียรตินันทน์ ผู้อำนวยการสำนักบริการผู้เข้าชม องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กล่าวความเป็นมา และนายสำรวย วัฒนวงศ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนโคกสำโรงวิทยา ให้การต้อนรับ พร้อมเยี่ยมชมนิทรรศการและกิจกรรมภายในงาน ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 - 25 พฤศจิกายน 2565 ณ โรงเรียนโคกสำโรงวิทยา อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี
อพวช. ร่วมลงนามถวายพระพร สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
22 พฤศจิกายน 2565 / ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เข้าพบและร่วมแสดงความยินดีกับศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่ ณ สวทช. (โยธี) ถ.พระรามที่ 6 กรุงเทพฯ
21 พฤศจิกายน 2565 / นายนิติ บุณยเกียรติ ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมและการผลิตสื่อ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ให้การต้อนรับมอบช่อดอกไม้แสดงความยินดี กับทีมเยาวชนไทย ณ อาคารผู้โดยสาร ชั้น 2 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หลังคว้าแชมป์ 2 รางวัลใหญ่ 1 เหรียญทอง 1 เหรียญทองแดง ในการแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ระดับนานาชาติ ประจำปี 2565 (World Robot Olympiad 2022) ในระหว่างวันที่ 17 – 19 พฤศจิกายน 2565 ณ เมืองดอร์ทมุนต์ ประเทศเยอรมนี
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมแสดงความยินดีกับทีมเยาวชนไทย คว้า 2 รางวัลใหญ่ 1 เหรียญทอง 1 เหรียญทองแดง ในการแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ระดับนานาชาติ ประจำปี 2565 (World Robot Olympiad 2022) ในระหว่างวันที่ 17 – 19 พฤศจิกายน 2565 ณ เมืองดอร์ทมุนต์ ประเทศเยอรมนี ซึ่งมีเยาวชนจาก 73 ประเทศ รวม 365 ทีมเข้าร่วมแข่งขันฯ ทั้งนี้ ผศ. ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ พร้อมด้วย นายนิติ บุณยเกียรติ ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมและการผลิตสื่อ อพวช. และดร.นวลวรรณ ชะอุ่ม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท แกมมาโก้ (ประเทศไทย) จำกัด ประธา
18 พฤศจิกายน 2565 / องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับ มูลนิธิวิทยาศาสตร์ ดร.ปรีชา-ประไพ อมาตยกุล จัดกิจกรรมเสวนาในหัวข้อ "ประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ไทยร่วมสมัย" โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ ราชบัณฑิตแห่งสำนักงานราชบัณฑิตยสภา โดยมี ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรมเสวนาฯ และดำเนินรายการโดย ดร.ชนินทร์ สุริยกุล ณ อยุธยา ผู้อำนวยการกองสื่อสารวิทยาศาสตร์ ศูนย์ความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์แห่งชาติ อพวช. โดยกิจกรรมฯ ดังกล่าวจัดขึ้น ณ จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. ณ เดอะ สตรีท รัชดา กรุงเทพฯ
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมส่งตัวแทนเยาวชนไทย เข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ ระดับนานาชาติ ประจำปี 2565 ณ ประเทศเยอรมนี ซึ่งมีเยาวชนจาก 73 ประเทศ รวม 365 ทีมเข้าร่วมแข่งขัน โดยมี ผศ. ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ พร้อมด้วย นายนิติ บุณยเกียรติ ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมและการผลิตสื่อ อพวช. ร่วมเดินทางไปเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับน้อง ๆ เยาวชน ตัวแทนประเทศไทย ชิงแชมป์ในการแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ระดับนานาชาติ ประจำปี 2565 (World Robot Olympiad 2022) ในระหว่างวันที่ 17 – 19 พฤศจิกายน 2565 ณ ประเทศเยอรมนี
A Junior Naturalist project held by National Science Museum (NSM) and Chumbhot-Pantip Foundation on November, 11, 2022 at Wang Takhrait National Park, Nakhon Nayok encouraged youth groups to learn and investigate organisms in nature with a team of NSM naturalists. The project inspired the young participants to get more knowledge and interest in nature science.
A Science Caravan Project of 2023 has been launched by National Science Museum (NSM) on November 22-25, 2022 at Khoksamrong Witthaya School, Lopburi. A group of youth has been invited to enjoy science exhibitions and fun activities and got inspiration of the amaze of science. The caravan will further move to other provinces in regions to extend scientific learning and experience of youth and people.
15 พฤศจิกายน 2565 /ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) และคณะผู้บริหาร อพวช. เข้าพบและร่วมแสดงความยินดี กับ รองศาสตราจารย์ธีระเดช เจียรสุขสกุล ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่ ณ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กรุงเทพฯ
อพวช. ร่วมกับ มูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ สร้างแรงบันดาลใจด้านธรรมชาติ ในกิจกรรมนักธรรมชาติรุ่นเยาว์ : Junior Naturalist ณ อุทยานวังตะไคร้ จ.นครนายก
อพวช. ร่วมประชุมวิชาการด้านบรรพชีวินระดับนานาชาติ ครั้งที่ 6
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เปิดศักราชใหม่จัดกิจกรรม “คาราวานวิทยาศาสตร์ อพวช.” ประจำปี 2566 ที่จะชวนเยาวชนมาสร้างแรงบันดาลใจและค้นพบความมหัศจรรย์ด้วยวิทยาศาสตร์ ผ่านนิทรรศการและกิจกรรมที่สนุกสนาน พร้อมเคลื่อนพลเพื่อขยายโอกาสการเรียนรู้ไปยังภูมิภาคต่างๆ ให้กับเยาวชน และประชาชนทั่วประเทศ เริ่มที่แรก 22 - 25 พฤศจิกายน 2565 นี้ ณ โรงเรียนโคกสำโรงวิทยา จังหวัดลพบุรี
5 พฤศจิกายน 2565 / นายฌาณภัทร ผ่อนผัน ตัวแทนเยาวชนไทยจากโรงเรียนท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษา จ.นครศรีธรรมราช คว้าที่ 2 ในการแข่งขันจรวดขวดน้ำนานาชาติ APRSAF -28 : Online Water Rocket Event ด้วยสถิติวัดใกล้จากระยะเป้า 0.05 เมตร โชว์ศักยภาพและทักษะวิทยาศาสตร์คำนวณของเด็กไทย พร้อมสร้างเครือข่ายสำหรับเยาวชนในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกที่มีความสนใจในกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ด้านเทคโนโลยีอวกาศ
อพวช. ร่วมเปิดเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 18 สร้างสรรค์ ทันยุค รุกสตรีมมิ่ง “โอกาสที่เท่าเทียมกันในวิทยาศาสตร์” ความหลากหลายและมีส่วนร่วมของกลุ่มที่ถูกมองข้าม ชมฟรีหนังดีจากนานาชาติ ฉายแล้วตั้งแต่บัดนี้ถึง 20 ธันวาคม 256
28 ตุลาคม 2565 / นายสุวรงค์ วงษ์ศิริ รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับ นายพีระ อุดมกิจสกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท ไปรษณีย์ไทยดิสทริบิวชั่น จำกัด (ปณด) จัดส่งชุดสื่อการเรียนรู้ความสนุกและความมหัศจรรย์ด้านวิทยาศาสตร์ Science Delivery Boxset ให้กับแหล่งเรียนรู้ 50 แห่งทั่วประเทศ เพื่อสนับสนุนส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ทั่วประเทศในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์แบบสนุกสนานให้กับเยาวชน ณ อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี