องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตัดสินคัดเลือก 11 นักสื่อสารวิทย์ฯ เข้ารอบสุดท้ายของ FameLab Thailand 2022
ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองศ์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ กล่าวว่า “โครงการแข่งขัน “FameLab Thailand 2022” ถือเป็นการผนึกกำลังกับหลายภาคส่วนโดยจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 เพื่อเปิดเวทีเฟ้นหานักสื่อสารวิทยาศาสตร์ มาแข่งขันสื่อสารวิทยาศาสตร์ ภายใน 3 นาที และมุ่งเน้นการสื่อสารที่ทำให้วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องเข้าใจง่ายผ่านการถ่ายทอดนำเสนองานวิจัยที่น่าสนใจ โดยมีนิสิต นักศึกษา และผู้เชี่ยวชาญที่มีความเกี่ยวข้องผ่านเข้ารอบ Semi-Final Competition ประเภทภาษาไทย 10 คน และประเภทภาษาอังกฤษ 10 คน โดยคณะกรรมการได้คัดเลือก 11 คนที่สื่อสารได้โดดเด่นเข้าสู่รอบ Final ต่อไป ซึ่งหวังว่ากิจกรรมนี้จะสามารถสร้างเครือข่ายของกลุ่มนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ในสังคม และพร้อมจะสร้างบุคลากรด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ เพื่อที่จะได้ก้าวต่อไปเป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพให้กับประเทศไทยและระดับนานาชาติต่อไป”
เผยรายชื่อผู้เข้ารอบการแข่งขัน 11 คนสุดท้าย ที่สามารถสื่อสารวิทยาศาสตร์ได้น่าสนใจภายใน 3 นาที ได้แก่
ประเภทภาษาไทย
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นายชานนท์ สมจิตรกุล ในหัวข้อ “พัฒนาไคโตซาน คอลลาเจน ไฮโดรเจลที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและมีคุณสมบัติต้านแบคทีเรียโดยใช้อนุภาคนาโนเงินที่สังเคราะห์ขึ้นจากสารสกัดน้ำกระชายเหลือง เพื่อการปลูกถ่ายกระดูก”
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นางสาววิลาสินี คุปต์นิรัติศัยกุล ในหัวข้อ อยากกินตามใจ “ไส้”
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นายพิชญุตม์ ธนัญชยะกุล ในหัวข้อ “การวิจัยและพัฒนาโซลาร์เซลล์”
รางวัลชมเชย ได้แก่ นายธนกฤต ศรีวิลาศ ในหัวข้อ “ข้อมูลดิจิทัลกำลังจะอัปโหลดเข้าสารพันธุกรรม”
รางวัลชมเชย ได้แก่ นายณัฐพล คงสิบ ในหัวข้อ “เปลี่ยนความร้อนจากร่างกายเป็นไฟฟ้า”
ประเภทภาษาอังกฤษ
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาวปาณิสรา หมวดสง ในหัวข้อ “Nano-drug delivery: It’s not just about riding a great car, but a car that brings you to your destination.”
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นายนุติ หุตะสิงห ในหัวข้อ “เทคนิคการลดประมาณไขมันในอาหารทอดด้วยไฮโดรคอลลอยด์”
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นายปริญญ์ ไชยกิจ ในหัวข้อ “Dementia”
รางวัลชมเชย ได้แก่ นายอัครพันธ์ ทวีศักดิ์ ในหัวข้อ “Recycled Steel Fiber for Concrete Reinforcement”
รางวัลชมเชย ได้แก่ นางสาวจรรยพร โกฏิมนัสวนิชย์ ในหัวข้อ “WATCH•YOUR•HEART”
รางวัลชมเชย ได้แก่ นายธรรมฤทธิ์ ลิขิตธีรเมธ ในหัวข้อ “Caching: the strategy that optimises websites and improves your life”
สามารถติดตามผลงานของผู้เข้ารอบทั้ง 11 คนได้ทาง Facebook : NSM Thailand โดยทั้ง 11 คน ที่ผ่านเข้ารอบจะได้เข้าร่วม Masterclass Training การอบรมเทคนิคการสื่อสารวิทยาศาสตร์โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญการสื่อสารวิทยาศาสตร์จากสหราชอาณาจักร เพื่อเตรียมความพร้อมพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ก่อนการแข่งรอบชิงชนะเลิศระดับประเทศ ในรอบ Final Competition ในวันที่ 15 ตุลาคม 2565 นี้ ซึ่งในรอบนี้ผู้เข้าแข่งขันจะต้องนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น เพื่อค้นหาผู้ชนะเลิศเพื่อเป็นตัวแทนประเทศไทย เข้าร่วมการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศในงานเทศกาลวิทยาศาสตร์ระดับโลก Cheltenham Science Festival ณ สหราชอาณาจักร ต่อไป