NSM มอบรางวัลในงานการสัมมนาวิชาการนานาชาติ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ครั้งที่ 4: วาระแห่งการฟื้นฟูระบบนิเวศ

NSM มอบรางวัลในงานการสัมมนาวิชาการนานาชาติ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ครั้งที่ 4: วาระแห่งการฟื้นฟูระบบนิเวศ

23-12-2023
TSTS021

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM ร่วมกับ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม จัดพิธีปิดพร้อมมอบรางวัลในงาน “การสัมมนาวิชาการนานาชาติพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ครั้งที่ 4: วาระแห่งการฟื้นฟูระบบนิเวศ” (The 4th International Symposium on Natural History Museums: Era of Ecosystem Restoration) ณ ห้องแสงเดือน-แสงเทียน พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี

NSMTSR01

นายสุวรงค์ วงษ์ศิริ รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM กล่าวว่า “การสัมมนาวิชาการนานาชาติพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ครั้งที่ 4: วาระแห่งการฟื้นฟูระบบนิเวศ” (The 4th International Symposium on Natural History Museums: Era of Ecosystem Restoration) ในปีนี้ผู้ให้ความสนใจจากหลายภาคส่วนเข้าร่วมงานมากกว่า 150 คน โดยมีการนำเสนอผลงาน ภาคบรรยายทั้งหมด 58 เรื่อง จาก 10 ประเทศ โดยแบ่งเป็น 11 กลุ่มย่อย และภาคโปสเตอร์ 23 เรื่อง จาก 4 ประเทศ เพื่อเป็นการส่งเสริมการให้บริการด้านวิชาการ ยกระดับการจัดการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือในงานวิจัยและงานสื่อสารวิทยาศาสตร์ระหว่างสถาบันต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งนำไปสู่ความยั่งยืนของการพัฒนา เผยแพร่ และเก็บรักษาองค์ความรู้ด้านธรรมชาติวิทยาต่อไป โดยงานจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 21 - 22 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา ถือว่าเป็นเวทีสำหรับนักธรรมชาติวิทยารุ่นใหม่ทั้งในและต่างประเทศได้มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน ทั้งยังช่วยส่งเสริมให้งานวิจัยเป็นไปตามมาตรฐานสากลมากขึ้น ซึ่งกิจกรรมครั้งนี้จะเป็นแรงผลักดันให้ประเทศไทยได้ยกระดับองค์ความรู้ของนักวิจัยด้านธรรมชาติวิทยาให้เป็นที่ยอมรับในระดับโลก และผลงานวิจัยเหล่านี้สามารถนำไปต่อยอดได้ อันจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถและความเข้มแข็งในด้านต่าง ๆ ของประเทศไทยต่อไป”

การสัมมนาฯ ครั้งนี้ ได้มอบรางวัลให้กับผู้นำเสนอผลงานทางวิชาการใน 3 ประเภท คือ รางวัล Best Oral Presentation, รางวัล Best Poster Presentation และรางวัล Popular Vote Poster Presentation ดังนี้

รางวัล Best Oral Presentation มีดังนี้
-สาขา Taxonomy and Biodiversity (Botany) ได้แก่ เรื่อง Mushroom Collection for Education, Research, and Exhibition from the Natural Medicinal Mushroom Museum โดย คุณขวัญุเรือน นาคสุวรรณ์กุล จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นำเสนอผลงานเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมตัวอย่างเห็ดในพิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยา ประกอบด้วยชนิดที่รับประทานได้  ชนิดที่เป็นพิษ ชนิดที่มีสรรพคุณทางการแพทย์ และชนิดที่ย่อยสลาย เพื่อการศึกษาวิจัย และถ่ายทอดองค์ความรู้ ตลอดจนพัฒนาแอปพิเคชั่นในการระบุชนิดเห็ด

ZOO01

-สาขา Taxonomy and Biodiversity (Invertebrate Zoology I) ได้แก่ เรื่อง Preliminary Study of the Zooplankton Community in Mae Klong Estuary, Samut Songkram โดย คุณธนาธร เทียนโพธิ์ทอง จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำเสนอผลงานเกี่ยวกับการศึกษาความหลากหลายของแพลงก์ตอนสัตว์บริเวณปากแม่น้ำแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม พบว่ากลุ่มแพลงก์ตอนสัตว์ที่พบมากที่สุดคือ คาลานอยด์โคพีพอด ปูวัยอ่อน และปลาวัยอ่อน

ZOO0231

-สาขา Taxonomy and Biodiversity (Vertebrate Zoology I) ได้แก่ เรื่อง An Undescribed Rheophilic Cyprinid Species of the Genus Poropuntius (Actinopterygii: Cypriniformes) from the Khek River, Chao Phraya River System, North-central Thailand, with Notes on Its Biogeographyโดย คุณปรัชญา มุสิกสินธร จากคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำเสนอผลงานเกี่ยวกับการค้นพบปลาจาด (ปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน) ชนิดใหม่ของโลกจากลำน้ำเข็ก จังหวัดพิษณุโลก

-สาขา Taxonomy and Biodiversity (Invertebrate Zoology II) ได้แก่ เรื่อง Behavioral Investigation of Virgin Dealate Queens of Harpegnathos venator โดย คุณสุนิตรา อุปนันท์ จากคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นำเสนอผลงานเกี่ยวกับการศึกษาพฤติกรรมของราชินีมดเขี้ยวโง้งที่ไม่ได้รับการผสมจากมดเพศผู้

ZOO02314

-สาขา Taxonomy and Biodiversity (Vertebrate Zoology II) ได้แก่ เรื่อง The First Preliminary Observational Field Survey on the Diversity and Ecology of Fishes in the Ma Basin, Laos PDR โดย คุณสมภาร พิลาวงษ์ จากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี นำเสนอผลงานเกี่ยวกับการศึกษาที่เสนอข้อมูลใหม่ของความหลากหลายทางชีวภาพของปลาในแม่น้ำมา สปป. ลาว

ZOONJUY01

-สาขา Taxonomy and Biodiversity (Invertebrate Zoology III) ได้แก่ เรื่อง Taxonomy of the Ant Genus Meranoplus Smith, 1853 in Thailand (Hymenoptera: Formicidae: Myrmicinae) โดย คุณกัญทิมา ยอดประสิทธิ์ จากคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำเสนอผลงานเกี่ยวกับการศึกษาอนุกรมวิธานของมดสกุล Meranoplus ในประเทศไทย โดยพบมดทั้งหมด 8 ชนิด ซึ่งเป็นชนิดพันธุ์ใหม่ 3 ชนิด และเป็นการรายงานใหม่ 1 ชนิด

ZOONJUY015

-สาขา Museum Education and Public Programs ได้แก่ เรื่อง The Results of Implementing the “Plant Rangers” Educational Resource Set in Schools across Thailand โดย  คุณนภัทร มาลาธรรม จากองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ นำเสนอผลงานเกี่ยวกับการพัฒนาชุดสื่อการเรียนรู้ "Plant Rangers : ขบวนการพิทักษ์พืช" และได้ขยายผลให้กับโรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศ 34 โรงเรียน จากกลุ่มครูแกนนำที่ได้รับการอบรม 62 คน ขยายผลกับเครือข่ายครูได้เพิ่มเป็นจำนวน 186 คน และขยายผลสู่นักเรียน 3,678 คน ในหลากหลายรูปแบบ ผลพบว่า รูปแบบสื่อที่หลากหลาย น่าดึงดูด และครอบคลุมหลายด้านของนิเวศวิทยาพืช ทำให้นักเรียนได้พัฒนาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และทักษะต่าง ๆ และครูได้มีโอกาสพัฒนาการจัดการการเรียนรู้ให้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งเกิดเครือข่ายด้านวิชาชีพ

-สาขา Taxonomy and Biodiversity (Vertebrate Zoology III) ได้แก่ เรื่อง Distribution Modeling of Spotted Forest Skinks (Sphenomorphus maculatus complex) Inferred from Morphological and Genetic Data โดย  คุณ ธนกฤต สัมพันธ์แพ จาก คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอผลงานเกี่ยวกับการศึกษาพันธุศาสตร์และการกระจายของจิ้งเหลน Sphenomorphus maculatus  2 ชนิดย่อย พบว่ามีพันธุกรรมและการกระจายที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน

ZOONJUY017845

-สาขา Young Scientists ได้แก่ เรื่อง Diversity of the Mayfly Nymphs in Ton Ya Plong Waterfall, Songkhla Province โดย คุณเนตรดาว อนุสาร โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย นำเสนอผลงานเกี่ยวกับการศึกษาความหลากชนิดของตัวอ่อนชีปะขาวบริเวณน้ำตกต้นหญ้าปล้อง พบตัวอ่อนชีปะขาวจำนวน 26 ชนิดจาก 5 วงศ์ โดยพบบริเวณต้นน้ำ 19 ชนิด พบบริเวณแหล่งน้ำตอนล่าง 9 ชนิด และพบทั้งสองบริเวณ 2 ชนิด

ZOONJUY017

-สาขา Utilization of Natural Resources ได้แก่ เรื่อง Evaluation of Launaea sarmentosa (Willd.) Sch. Bip. ex Kuntze Crude Extracts for Wound Healing Patch Development โดย คุณวันวิศา ละมั่งทอง จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำเสนอผลงานเกี่ยวกับการศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจากผักลิ้นห่าน (Launaea sarmentosa) ต่อการต้านอนุมูลอิสระ แบคทีเรีย และการอักเสบ เพื่อพัฒนาแผ่นปิดแผล

ZOONJUY019

ประเภท Best Poster Presentation ได้แก่ เรื่อง Antibacterial and Anti–inflammatory Properties of Crude Extracts from White and Yellow Chrysanthemums โดย คุณยาโยอิ ชินโดะ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำเสนอผลงานเกี่ยวกับการศึกษาเปรียบเทียบฤทธิ์ของสารสกัดจากใบ ดอก และก้านเบญจมาศเหลืองและเบญจมาศขาว ต่อการต้านการอักเสบและต้านแบคทีเรีย

ZOONJUY0187

ประเภท Popular Vote Poster Presentation เรื่อง Color Enhancement of Gemstones with Nuclear Radiation Technology for the Addition of Value in the Gems and Jewelry Industry  โดย คุณวรัตน์ชนก สุวรรณมณี จากสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ นำเสนอผลงานเกี่ยวกับการศึกษาการเปลี่ยนแปลงสีของแร่ Topaz และ Tourmarine ให้เข้มขึ้นเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจโดยการยิงรังสีนิวเคลียร์
 

ข่าวสารที่่คล้ายกัน