“ศุภมาส” สั่งการ ผอ.NSM ศึกษาวิจัย “ปลาออร์(Oarfish)” หรือ “ปลาพญานาค” ตัวที่ 2 ของไทยหลังพบที่ทะเลภูเก็ตทั้งด้านอนุกรมวิธานและพันธุกรรมเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ ก่อนนำไปจัดแสดงให้ประชาชนได้ชมเพราะเป็นสัตว์ทะเลหายาก

“ศุภมาส” สั่งการ ผอ.NSM ศึกษาวิจัย “ปลาออร์(Oarfish)” หรือ “ปลาพญานาค” ตัวที่ 2 ของไทยหลังพบที่ทะเลภูเก็ตทั้งด้านอนุกรมวิธานและพันธุกรรมเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ ก่อนนำไปจัดแสดงให้ประชาชนได้ชมเพราะเป็นสัตว์ทะเลหายาก

19-02-2024
Or01
ND01

 

Pe21

เมื่อวันที่ 19 ก.พ. น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า ตนได้รับรายงานจาก ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผอ.องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM ว่า NSM ได้รับซาก “ปลาออร์” (Oarfish) หรือ “ปลาพญานาค” ตัวที่ 2 หลังจากพบซากติดอวนเรือประมง จ.ภูเก็ต เมื่อช่วงวันที่ 15 ก.พ.ที่ผ่านมาและ NSM ได้เดินทางไปรับซากปลาพญานาคเมื่อวันที่ 18 ก.พ. โดยตนได้กำชับให้ ผศ.ดร.รวิน ศึกษาวิจัยทั้งด้านอนุกรมวิธานและพันธุกรรม ซึ่งถือว่ามีความสำคัญทางวิชาการอย่างยิ่ง เพราะปลาพญานาค ถือเป็นตัวอย่างสัตว์ทะเลหายาก ดังนั้น เป็นโอกาสที่ดีที่นักวิชาการด้านธรรมชาติวิทยาที่มีความเชี่ยวชาญของ NSM จะได้ทำการศึกษาปลาชนิดนี้ เนื่องจากในประเทศไทยยังไม่มีข้อมูล จะได้เป็นองค์ความรู้ใหม่ที่เราจะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดและใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต และที่สำคัญจะได้มีโอกาสนำไปจัดแสดงให้กับประชาชนและเยาวชนได้ดูสัตว์ทะเลหายากที่พบในทะเลไทยด้วย

Ooi31

ขณะที่ ดร.วีระ วิลาศรี ผอ.กองวิชาการสัตววิทยา สำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา NSM เปิดเผยว่า นับเป็นครั้งที่ 2 ในการพบ “ปลาออร์” (Oarfish) ในประเทศไทย จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า ซากปลาดังกล่าวเนื้อหนังอยู่ในสภาพดี แต่ส่วนหัวมีความเสียหายเล็กน้อยอาจจะเกิดจากตอนเก็บซากขึ้นมา แต่โดยรวมซากมีความสมบูรณ์ประมาณ 70 % ซึ่งวัดขนาดความยาวได้ 2.85 เมตร น้ำหนัก 8.6 กิโลกรัม นับว่าเป็นการพบปลาชนิดนี้ตัวแรกที่ จ.ภูเก็ต โดยไต๋เล็ก เรือ ป.มัสยานำโชค 4 หน่วยงานประมงจังหวัดภูเก็ต ร่วมกับ เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยเเละพัฒนาประมงทะเลจังหวัดภูเก็ต และศูนย์ PIPO ได้ทำการตรวจสอบและนำมาส่งมอบให้กับ NSM เพื่อให้ทำการศึกษา โดยก่อนหน้านี้เมื่อเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา NSM ก็เพิ่งได้รับซากตัวแรกมาจาก จ.สตูล แต่ในสภาพที่ไม่สมบูรณ์มากนักและถูกนำมาเก็บรักษาด้วยเทคนิคการดองเพื่อการศึกษาด้านอนุกรมวิธาน ซึ่งครั้งนี้เราได้รับมาอีก 1 ตัว ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีที่นักวิชาการด้านธรรมชาติวิทยาจะได้ทำการศึกษาปลาชนิดนี้ โดยเราจะศึกษาในแง่ลักษณะกายภาพของปลา สัญฐานวิทยา ลักษณะการกินอาหารของปลาชนิดนี้  

Ttfd1

ด้าน ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผอ.NSM กล่าวว่า หลังจากทำการศึกษาซาก “ปลาออร์” เสร็จ ทั้ง 2 ตัว NSM จะนำไปเก็บรักษาด้วยวิธีการที่เหมาะสมที่สุด เพราะถือเป็นสมบัติของชาติ และเตรียมนำไปจัดแสดงผ่านนิทรรศการเพื่อให้คนไทยได้เห็นตัวจริงกันต่อไป

ZW17