ประกาศผลรางวัล “โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 4”

ประกาศผลรางวัล “โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 4”

09-12-2021
ประกาศผลรางวัล “โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 4”

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และบริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด ประกาศผลรางวัล “โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 4” เพื่อเป็นเวทีเปิดโอกาสให้ผู้ที่รักการเขียน และรักในวิทยาศาสตร์ใช้จินตนาการถ่ายทอดงานเขียนแนววิทยาศาสตร์ในรูปแบบเรื่องสั้น โดยผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศทั้ง 2 ประเภท ได้แก่  นายกฤตชนิศ  เชื้อแก้ว มหาวิทยาลัยบูรพาจากผลงานเรื่อง “ศักราชหมีที่หนึ่ง” ประเภทเยาวชน และนายกล้า  สมุทวณิช จากผลงานเรื่อง “ยุติธรรมประดิษฐ์” พร้อมเปิดตัวหนังสือรวมเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ที่มีทั้งจินตนาการและความรู้ควบคู่กันเรื่อง “ศักราชประดิษฐ์” เพื่อสื่อสารความคิดและความรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้เป็นเรื่องราวที่เข้าใจได้

NST01092 400x600

          นางกรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)  กล่าวว่าโครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 4 เป็นความสำเร็จจากการร่วมมือของ 5 องค์กรพันธมิตร ได้แก่ อพวช. มหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และบริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด ซึ่ง 5 องค์กรต่างตระหนักและให้ความสำคัญของวรรณกรรมเชิงวิทยาศาสตร์ เนื่องจากวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัว การจะนำข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มานำเสนอด้วยทฤษฎี หลักการและสมการต่างๆ โดยปราศจากอรรถรสและความสนุกสนานนั้นอาจไม่น่าสนใจพอ ดังนั้น การร้อยเรียงเรื่องราวผ่านการเขียนในรูปแบบวรรณกรรมวิทยาศาสตร์จึงเป็นส่วนหลักในการทำหน้าที่เชื่อมโยงสาระ เข้ากับความสนุกสนาน ตื่นเต้นเร้าใจ ชวนสงสัยหรือแม้แต่ขบขัน ซึ่งเป็นการเปิดโลกทัศน์ให้กับผู้อ่านและนำวิทยาศาสตร์มาอยู่ใกล้ตัวเรามากยิ่งขึ้น

NST01207 800x534

          โครงการประกวดเรื่องสั้นในปีนี้ ได้รับความสนใจจากกลุ่มเยาวชนและประชาชนทั่วไปค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่ง และเป็นกำลังใจให้กับผู้จัดและพันธมิตรของเราในการขับเคลื่อนสังคมวิทยาศาสตร์ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย ปีนี้มีผู้สมัครและส่งผลงานเข้าร่วมโครงการประกวด ทั้งหมด 192 ผลงาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือประเภทเยาวชนและประชาชนทั่วไป มีกรรมการจาก อพวช. มหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย และผู้กำกับภาพยนตร์จาก GDH 559  ได้ร่วมกันคัดเลือกผลงานจากทั้งหมด ให้เหลือเพียง 15 เรื่อง เพื่อรวมเล่มตีพิมพ์เป็นหนังสือ “ศักราชประดิษฐ์” โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ และหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะสร้างความสนุกและให้สาระความรู้ให้ผู้อ่าน ตลอดจนสามารถนำมาเป็นประโยชน์และเติมแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตประจำวันได้ต่อไป

NST01032 400x600

          คุณกนกวลี  พจนปกรณ์ กันไทยราษฎร์ นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย กล่าวว่าสำหรับปีนี้เป็นงานเขียนแนววิทยาศาสตร์ มีทั้งแบบที่หนักแน่นจริงจังด้วยหลักเกณฑ์ กฎ ทฤษฎีและงานเขียนที่เป็นแนววิทยาศาสตร์แบบไม่เน้นทฤษฎีกฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์มากนัก (Soft Sci-Fi) แต่ทั้งหมดก็คืองานวรรณกรรมที่ผู้เขียนถ่ายทอด สะท้อนเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นต่อสังคมต่อสิ่งแวดล้อม ทางสมาคมนักเขียนมีความยินดีที่เยาวชนไทยให้ความสำคัญในเรื่องของการอ่านและสนใจในการเขียนเรื่องสั้นวิทยาศาสตร์กันมากขึ้นทุกๆ ปี ทำให้เราเห็นว่าเรื่องสั้นหรือนวนิยายก็จะมีความพัฒนาขึ้นไปทุกๆ ปี

NST01051 400x600

          รศ.นพ.ธันย์ สุภัทรพันธุ์ รองอธิการบดี รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่ารางวัลด้านเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์เป็นเรื่องเป็นเรื่องของศาสตร์และศิลป์มาผสมผสานกัน เป็นเรื่องของจินตนาการที่มีรูปธรรมมากขึ้น เพราะปัจจุบันวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าเร็วมาก เรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ที่ทุกท่านส่งเข้าประกวดจะช่วยจุดประกายความคิดที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านว่าขณะนี้เรากำลังทำอะไรอยู่ แล้วมันจะเป็นอย่างไรในอนาคต ถือว่าเป็นการกระตุกความคิดของพวกเราให้เกิดความตระหนักรู้ถึงสิ่งต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น ตลอดจนเพิ่มความรอบคอบในการก้าวเดินล้ำไปในอนาคตได้อย่างเหมาะสม  ซึ่งทางมหาวิทยาลัยจะขอสนับสนุนไปเรื่อยๆ เพื่อให้มีนักเขียนและนักอ่านเพิ่มมากขึ้น

 NST01028 400x600

          คุณวิชชพัชร์ โกจิ๋ว กรรมการที่ปรึกษาและผู้กำกับภาพยนตร์ บริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด กล่าวถึงการต่อยอดของเรื่องสั้นทางวิทยาศาสตร์ว่า เทรนด์ของโลกปัจจุบันนี้จะเห็นว่าหนังภาพยนตร์ที่เป็นหนังทำเงินส่วนใหญ่เป็นหนังที่มีพื้นฐานเรื่องราวด้านวิทยาศาสตร์  โครงการนี้เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของวงการหนังไทยอย่างมาก นักเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์จะเขียนบทที่มีบริบทเป็นไทยมากขึ้น ทำให้มองเห็นอนาคตที่เป็น Sci fi แบบไทยๆ ที่ประสบความสำเร็จได้  ผมอยากขอบคุณ อพวช. ที่เอาจริงเอาจังกับการรดน้ำพรวนดินให้ต้นไม้วรรณกรรมแนววิทยาศาสตร์ต้นนี้ วันนี้ ผมรู้สึกว่ามันเริ่มเติบโตแล้วและเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าจะหยั่งรากลึกในวงการวรรณกรรมไทยอย่างมั่นคงต่อไป

NST01046 400x600

          ส่วน ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ม.ร.ว. ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ ประธานโครงการ ในนามของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวถึงความสำเร็จของโครงการฯ ในการส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในสังคมไทยว่า การแข่งขันเรื่องสั้นวิทยาศาสตร์ครั้งที่ 4 คือการสร้างให้คนมีความตระหนักรู้ถึงวิทยาศาสตร์ผ่านเรื่องสั้น โดยจินตนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการเขียนเรื่องสั้น สามารถใช้ได้ทั้งวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์มาผสมผสานกัน พร้อมกล่าวชื่นชม 5 องค์กรหลักและอยากให้มีการจัดโครงการนี้ในปีต่อๆ ไป

          นางกรรณิการ์ฯ กล่าวทิ้งท้ายว่าสำหรับนักเขียน รางวัลที่ดีที่สุดคือการที่นำงานเขียนเผยแพร่ออกไปสู่สาธารณะเพื่อให้ผู้คนได้ชื่นชมผลงาน ทาง อพวช. จึงขอเป็นผู้ร่วมสนับสนุนสำคัญให้เกิดนักเขียนหน้าใหม่ให้เกิดขึ้นทุกปี เพื่อให้เป็นแรงบันดาลในความสนใจด้านวิทยาศาสตร์ของอนาคตของชาติต่อไป

สำหรับผลรางวัลในการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 4

  1. รางวัลประเภทเยาวชน
  • รางวัลชนะเลิศ ผลงานเรื่อง ศักราชหมีที่หนึ่ง โดย กฤตชนิศ เชื้อแก้ว
  • รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ผลงานเรื่อง Identity โดย สุภาณี เลิศธนาภรณ์
  • รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ผลงานเรื่อง EVE#123 โดย เนตรชนก ปลูกปานย้อย
  • รางวัลชมเชย ผลงานเรื่อง เนิ่นนานกว่าการเวลา โดย ชลัช จินตนะ, ผลงานเรื่อง Rest in Peace โดย พัชรพร ศุภผล, ผลงานเรื่อง บริษัทดีไซน์มนุษย์ โดย บุรัสกร ถาวรวัฒน์ และผลงานเรื่อง วิวรรธน์ โดย วริศรา จิ้วกาย  
  1. รางวัลประเภทประชาชนทั่วไป
  • รางวัลชนะเลิศ ผลงานเรื่อง ยุติธรรมประดิษฐ์โดย กล้า สมุทวณิช
  • รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ผลงานเรื่อง ความรักของเจน True love of Jane โดย รมณ กมลนาวิน
  • รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ผลงานเรื่อง กฎทรงมวล โดย ไพรัตน์ ยิ้มวิลัย
  • รางวัลชมเชย ผลงานเรื่อง ทั้งหมดเพื่อความก้าวหน้าของมนุษยชาติ โดย นัทธ์ รัตนชูเอก, ผลงานเรื่อง คืนสมองไหล โดย กมลพร อ่าวสกุล, ผลงานเรื่อง เปลี่ยนหัว...เปลี่ยนชีวิต โดย ชุลีพร เตชทิพากร, ผลงานเรื่อง สลักนักฝัน โดย กิตติศักดิ์ กิตติวิรยานนท์ และผลงานเรื่อง เมล็ดพันธุ์แห่งความหวัง โดย จาตุรันต์ เสียงดี
  1. รางวัลพิเศษสำหรับผลงานที่เข้ารอบสุดท้าย ทั้งหมด 26 รางวัล

NST01207800x534

NST01202800x533

NST01197800x533

NST01195800x533

NST01191800x533

NST01188800x533

NST01184800x533

NST01175800x534

NST01171800x533

NST01167800x533

NST01166800x533

NST01160800x533

NST01156800x533

NST01148800x533

NST01147800x533

NST01144800x533

NST01143800x533

NST01138800x533

NST01135800x533

NST01132800x533

NST01127800x533

NST01120800x533