“เราเรียกคนที่ชอบจินตนาการ มีความคิดสร้างสรรค์ และชอบลงมือสร้างผลงาน ประดิษฐ์สิ่งต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาออกมาว่า เมกเกอร์ (Maker)”

“เราเรียกคนที่ชอบจินตนาการ มีความคิดสร้างสรรค์ และชอบลงมือสร้างผลงาน ประดิษฐ์สิ่งต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาออกมาว่า เมกเกอร์ (Maker)”

09-12-2021
“เราเรียกคนที่ชอบจินตนาการ มีความคิดสร้างสรรค์ และชอบลงมือสร้างผลงาน ประดิษฐ์สิ่งต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาออกมาว่า เมกเกอร์ (Maker)”

            แต่แน่นอนว่า การจะเป็นนักสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ได้ ต้องมี Makerspace หรือ พื้นที่สำหรับการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่มีความพร้อมทั้งวัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือต่างๆ เพื่อสร้างประสบการณ์ทำให้สิ่งที่จินตนาการเกิดขึ้นจริงได้ งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ปีนี้ เราจะได้พบกับนิทรรศการที่น่าสนใจมากมาย และหนึ่งในนิทรรศการที่ไม่ควรพลาด เห็นจะเป็นนิทรรศการที่ฝึกฝนให้เด็กเป็นนักสร้าง อย่าง นิทรรศการ Maker : Make your future

            ภายในบูธ ได้จัดสรรพื้นที่ตามหมวดหมู่ไว้อย่างชัดเจน อาทิ พื้นที่ทดลองแยกชิ้นส่วน พื้นที่ตั้งคำถามกับสิ่งที่เห็น เรียนรู้วัสดุแต่ละชิ้น พื้นที่คิด-ออกแบบ-ทำ และพื้นที่จัดแสดงผลงานแลกเปลี่ยนความรู้ ฯลฯ ในพื้นที่แต่ละส่วนนั้น ล้วนเป็นพื้นที่ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง ได้รู้จักการเป็นนัก (...) อะไรหลากหลายประเภท ทั้งนักสร้าง นักเรียนรู้ นักทดลอง นักตั้งคำถาม ตลอดจนนักแก้ไขปัญหา แต่จุดที่เด็กๆ ให้ความสนใจ นั่นคือ การประดิษฐ์ Face Shield ทำได้ง่าย ใช้อุปกรณ์ไม่เยอะ ซึ่งจากที่ได้เห็น พบว่า เด็กๆ ทุกคนมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการทำผลงานของตนเองเป็นอย่างมาก นับว่าเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้รู้จักเรียนรู้ข้อผิดพลาดจากการทดลองทำ ซึ่งหลังจากนี้ เด็กๆ จะได้รู้ด้วยว่า เราควรแก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างไร

ข่าวสาร

          จากภาพบรรยากาศที่มีผู้ปกครองคอยเฝ้าดูอยู่ห่างๆ ต่างเปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างเต็มที่ เนื่องจากเด็กแต่ละคน มีไอเดียแตกต่างกัน เด็กๆ จึงรู้สึกสนุกและภาคภูมิใจกับผลงานตนเองที่เปรียบเสมือนว่ามีชิ้นเดียวในโลก

ข่าวสาร

            เมื่อเห็นความรู้สึกเด็กๆ ที่ได้ลงมือสร้างผลงานด้วยตนเองอย่างภาคภูมิใจ จึงอดสงสัยไม่ได้ว่า แล้วเด็กคนอื่นๆ ที่มางานจะชอบเป็นนักทดลอง ลงมือทำเหมือนกันหรือไม่ ทางองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) จึงได้ไปสัมภาษณ์ความรู้สึกของน้อง 3 คนที่มากันเป็นกลุ่ม น้องๆ ดูร่าเริง ตื่นตากับโลกใบใหม่ น้องวรัญชลี ภูสีไม้ และ น้องกัญญาภัชร เจียวก้องสกุล นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และคนสุดท้าย น้องณัฐชาวีร์ หลวงนิลอ่อน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากโรงเรียนวัดผาสุกมณีจักร ทั้งสามคนให้คำตอบเหมือนกันว่า ตอนที่โรงเรียนพามางานได้จำกัดเวลาการเข้าชมงาน ทำให้พวกน้องๆ ยังเดินงานไม่ทั่วถึง จึงตัดสินใจมาชมงานเองอีกครั้ง เพราะแต่ละคนชอบเรื่องวิทยาศาสตร์ ชอบทดลอง ชอบได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆ และอยากมาสำรวจบูธอื่นๆ อีก เพราะยังมีกิจกรรมอีกมากมายที่ยังไม่ได้เล่น อีกทั้ง บ้านอยู่ไม่ไกลจากสถานที่จัดงาน และน้องทั้ง 3 คนได้ขออนุญาตผู้ปกครองเพื่อเดินทางมางานนี้เรียบร้อยแล้ว

ข่าวสาร

            หลังจากที่ยิงคำถามต่อว่า ชอบอะไรในงานนี้ น้องวรัญชลี รีบตอบว่า “หนูชอบบูธที่ให้ทำเฟสชิลด์ สนุกที่ได้ลองลงมือทำด้วยตัวเองค่ะ” ส่วนน้องน้องณัฐชาวีร์ เสริมว่า “หนูชอบเรื่องราวของสิ่งมีชีวิตและการปรับตัวของสัตว์ อย่างกิ้งก่าเปลี่ยนสีได้ยังไง ทำไมมันเปลี่ยนสีไปตามต้นไม้ได้” ส่วนคนสุดท้าย น้องกัญญาภัชร บอกว่า “หนูชอบการเรียนรู้เรื่องราวของแสงจากธรรมชาติ และแสงจากที่มนุษย์สร้างขึ้นค่ะ” 

ข่าวสาร

           น้องๆ เล่าความรู้สึกตนเอง หลังจากได้มาเดินดูงานมหกรรมวิทย์ฯ ว่า การมางานนี้ทำให้แต่ละคนได้ความรู้ในสิ่งที่ยังไม่รู้มาก่อน เหมือนได้เปิดโลก ตลอดจนรู้สึกใส่ใจและรักธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น นี่คือบางส่วนของมุมมองจากเด็กน้อยวัยประถม

            สำหรับเด็กที่โตขึ้นมาอีกหน่อยอย่างน้องธัญยพร ฤกษ์ดี นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบรรหารแจ่มใส 3 จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นตัวแทนของเพื่อนๆ มาเล่าความรู้สึกของตนเองที่ได้มาเดินดูงานมหกรรมวิทย์ฯ ว่า “กลุ่มตนเองเพิ่งเดินทางมาดูงานมหกรรมวิทย์ฯ เป็นปีแรก ส่วนตัวชอบบูธที่เกี่ยวกับการให้ความรู้เรื่องอวัยวะร่างกายของคน และการตอบคำถามทางวิทยาศาสตร์ เพราะปกติชื่นชอบเรื่องวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ และร่างกายของคนและสัตว์อยู่แล้ว จึงรู้สึกสนุกและตื่นเต้นที่ได้มางานนี้ อีกเหตุผลที่ชอบวิทยาศาสตร์เพราะมีความฝันว่า โตขึ้นอยากเป็นสัตวแพทย์ ซึ่งทางคุณพ่อและคุณแม่ได้ให้การสนับสนุนเต็มที่” อย่างไรก็ตาม น้องธัญยพรยังบอกทิ้งท้ายว่า หากปีหน้าจัดงานมหกรรมวิทย์ฯ อีกครั้ง แต่ทางโรงเรียนไม่พามาทัศนศึกษา ก็คิดว่าจะมากันเอง เพราะชอบงานที่ให้ความรู้นอกห้องเรียน และชอบที่ได้มีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องวิทยาศาสตร์

            จะเห็นได้ว่าเด็กๆ ทุกคน มีความชอบ มีความคิดสร้างสรรค์เป็นของตนเอง หากเราเปิดโอกาสให้เด็กๆ ทุกคน มีอิสระทางความคิด เปิดพื้นที่ทดลองให้เด็กได้เป็นนักสร้างผลงานด้วยสองมือของตนเอง มั่นใจได้ว่าอนาคตข้างหน้าเราอาจได้พบนักประดิษฐ์หน้าใหม่ที่สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยดังไกลไปต่างประเทศก็เป็นได้

 

Booth-Maker4

Booth-Maker0

CP5T09401024x683

299A21861024x683

299A19701024x683

NST05817

NST05807

Booth-Maker3

Booth-Maker2

Booth-Maker1

299A19661024x683

IMG28731024x683

IMG28711024x683

IMG28691024x683

CP5T09821024x683

CP5T09591024x683

CP5T09531024x683

299A19761024x683

299A19711024x683


สื่อมวลชนสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
ติดต่อ กองสื่อสารองค์กร สำนักผู้อำนวยการ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
คุณพัชร์ชิสา (ปัญญ์) 095-624-6659 / คุณสุรัตนา (เมย์) 086-409-1602
ประชาสัมพันธ์งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2563
คุณสุวรรณา (นา) 081-565-5540 / คุณพัสรา (ต่าย) 087-497-8183

Related